แนวคิดต่อ "สมบัติ" ของพระอาจารย์ซิงหยุน (1)
  2016-05-10 09:25:36  cri

 

พระอาจารย์ซิงหยุน ปีนี้อายุ 90 ปีแล้ว เป็นผู้นำสงฆ์ในพุทธศาสนาที่มีชื่อเสียงระดับโลก พระอาจารย์ได้ก่อตั้งสำนักโฝกวางซานที่เมืองเกาสง เขตไต้หวันเมื่อปี 1967 หลายสิบปีมานี้ พระอาจารย์ซิงหยุนมุ่งส่งเสริมพุทธศาสนาทั่วโลก ได้สร้างวัดวาอารามกว่า 200 วัด และสถาบันสงฆ์ 16 แห่งทั่วโลก ซึ่งถือเป็นศาสนสถานสมบัติที่ทรงคุณค่ามหาศษลแก่ชาวพุทธ วันนี้ เรามาดู แนวคิดต่อ "สมบัติ" ทางพุทธศาสนาของพระอาจารย์ซิงหยุน

พระอาจารย์ระบุว่า คนส่วนใหญ่จะเห็นว่า สำนักโฝกวางซานมีอาคารสว่างเป็นหลังๆ จากเงินทำบุญของลูกศิษย์ทั้งหลาย สิ่งที่ปลาบปลื้มที่สุดคือ นำเงินทำบุญมาฝึกอบรมบุคลากรด้านพุทธศาสนา ซึ่งจะนำพุทธศาสนาไปเผยแผ่ทั่วโลก เป็นการตอบแทนบุญคุณของชาวพุทธมากที่สุด

สมบัติเป็นเงื่อนไขพื้นฐานสำหรับการใช้ชีวิต คนส่วนใหญ่จะแสวงหาความมั่งมีศรีสุข ควรประกอบอาชีพสุจริต ไม่ควรประกอบอาชีพธุจริต "การมีเงินมีทองเป็นผลบุญ การรู้จักใช้เงินจึงเป็นความฉลาด" เงินๆ ทองๆ ที่หามาควรนำไปใช้ในทางที่ถูกต้อง จึงจะเป็นการสั่งสมบุญวาสนา ด้วยเหตุนี้ จึงควรหาเงินด้วยวิธีที่ถูกต้อง และใช้จ่ายอย่างถูกต้อง

พระอาจารย์ซิงหยุนระบุว่า ในพระคัมภีร์หลายเล่มมักจะพูดถึงการใช้จ่าย เช่น ผู้ฉลาดควร "ประหยัดมัธยัสถ์" ใช้จ่ายอย่างสมเหตุสมผล ส่วนหนึ่งเป็นค่าใช้จ่ายประจำวัน ส่วนหนึ่งเป็นเงินออมเผื่อยามฉุกเฉิน ส่วนหนึ่งเป็นเงินช่วยเหลือญาติมิตร และส่วนหนึ่งเป็นเงินทำบุญทำทาน หาก "ขี้เกียจหลังยาว ปล่อยปละละเลย เล่นการพนั่นเฮฮา ดื่มสุราเมายา อาหารการกินไม่ตามหลัก เข้าใกล้คนชั่ว มีพฤติกรรมชั่ว" ก็จะทำให้เงินทองสูญหายไปอย่างรวดเร็ว

เมื่อมีเงินๆ ทองๆ แล้ว ยังควรรู้จักนำไปใช้อย่างไร ในพระคัมภีร์อีกเล่มหนึ่งระบุว่า "1 ส่วนควรนำไปใช้จ่ายเอง 2 ส่วนควรนำไปประกอบอาชีพ และที่เหลืออีก 1 ส่วนควรนำไปเก็บออม เผื่อคนยากคนจน" หมายความว่า หากคุณดือนหนึ่งมีรายได้ 100,000 หยวน ควรแบ่งเป็น 5 ส่วน โดย 20,000 หยวนเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับครอบครัว 40,000 หยวนเป็นการประกอบอาชีพ หรือทำธุรกิจ 20,000 หยวนนำไปฝากธนาคารเผื่อยามต้องการ และที่เหลือ 20,000 หยวนควรนำไปทำทาน ตอบแทนสังคมและช่วยเหลือผู้ยากจน"

ค่าใช้จ่ายสำหรับครอบครัวนั้น จะมีส่วนของการเลี้ยงดูพ่อแม่และลูก ตลอดจนญาติมิตร พระอาจารย์ซิงหยุนเล่าว่า ท่านเกิดในครอบครัวยากจน แต่รู้จักใช้เงิน เงิน 1 บาทจะใช้อย่าง 10 บาท ใช้เงินในสิ่งที่จำเป็น เงินหมดแล้วก็จะใช้ความพยายามไปหามาใหม่ หากมีเงินไม่รู้จักใช้ ก็จะเหมือนคนยากคนจนไม่มีผิด

 (IN/LING)

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
ตอบคำถามออนไลน์
ทบทวนรายการน่าสนใจ
ภาพยอดฮิต
เว็บไซต์ึเพื่อนซีอาร์ไอ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Play Stop
© China Radio International.CRI. All Rights Reserved.
16A Shijingshan Road, Beijing, China. 100040