แนวคิดต่อ "สมบัติ" ของพระอาจารย์ซิงหยุน (2)
  2016-05-10 09:27:32  cri

 

พุทธศาสนาเห็นว่า สมบัติมีประเภทต่างๆ เช่น สมบัติในความหมายแคบ สมบัติในความหมายกว้าง สมบัติที่มีรูป สมบัติที่ไร้รูป สมบัติส่วนตัว สมบัติส่วนรวม สมบัติชอบธรรม สมบัติไม่ชอบธรรม สมบัติชั่วคราว และสมบัติชั่วนิรันดร เป็นต้น

สมบัติในความหมายแคบหมายถึง เงินทอง บ้านพัก ที่ดิน หลักทรัพย์ เป็นต้น สมบัติในความหมายกว้างหมายถึงสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์ สติปัญญา มนุษย์สัมพันธ์ที่ดี ความน่าเชื่อถือ ศิลปะในการพูด

สมบัติส่วนรวมหมายถึงทางหลวง สวนสาธารณะ แม่น้ำ ภูเขา ต้นไม้ใบหญ้า ดอกไม้ พระอาทิตย์ พระจันทร์ ดาว และสรรพสิ่งในโลก ซึ่งเป็นสมบัติร่วมของทุกคน ทุกคนควรร่วมรักษาและเข้าถึงถ้วนหน้า

สมบัติที่ควรแสวงหา เช่น ความรู้ที่ถูกต้อง ความขยันหมั่นเพียร ความกตัญญูกตเวที ความเมตตากรุณา การรู้จักพอ การทำทาน และศีลธรรม เป็นต้น เป็นสมบัติที่แท้จริง เพราะว่าไม่เพียงแต่ใช้ได้ในชาตินี้ หากยังใช้ได้ในชาติหน้า ไม่เพียงแต่ใช้ได้ในเฉพาะกาล หากยังใช้ได้ตลอดชีพ ไม่เพียงแต่ใช้ได้คนเดียว หากยังใช้ได้กับมวลชน

เล่ากันว่ามีชาวนาธรรมดาคนหนึ่ง มักจะบอกกับคนอื่นว่า เขาเป็นเศรษฐีที่มีเงินมากที่สุดของประเทศ กรมภาษีอากรทราบแล้วก็อยากเก็บภาษีกับเขา และถามว่า "คุณมีสมบัติอะไร" ชาวนาตอบว่า "ประการที่ 1 ผมร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ ประการที่ 2 ผมมีภรรยาที่เป็นแม่ศรีเรือน ผมยังมีบุตรและบุตรีที่เคารพรักผม ที่สำคัญกว่านั้นคือ ผมทำงานอย่างมีความสุขทุกวัน พอถึงฤดูกาลเก็บเกี่ยว ก็จะมีผลผลิตมากมายก่ายกอง คุณจะว่าผมไม่ใช่คนที่ร่ำรวยที่สุดในโลกได้อย่างไร" เห็นได้ว่า ถึงแม้เงินทองไม่มาก แต่ลูกหลานมีความเฉลียวฉลาด สามีภรรยามีความรักความผูกพัน ก็เป็นสมบัติของชีวิตเช่นกัน

พระอาจารย์ซิงหยุนระบุด้วยว่า คนทั้งหลายไม่ควรให้ความสำคัญกับเงินทองอย่างเดียว หากยังควรให้ความสำคัญกับสมบัติทางจิตใจ เช่น ความสุขสงบภายในจิต การมีคีลธรรม ร่วมกันสร้างสังคมที่มีความเที่ยงธรรมเพื่อคนรุ่นต่อไป ซึ่งเป็นสมบัติร่วมกันของมวลมนุษย์

 (IN/LING)

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
ตอบคำถามออนไลน์
ทบทวนรายการน่าสนใจ
ภาพยอดฮิต
เว็บไซต์ึเพื่อนซีอาร์ไอ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Play Stop
© China Radio International.CRI. All Rights Reserved.
16A Shijingshan Road, Beijing, China. 100040