ปัญญาประดิษฐ์กับผู้เชี่ยวชาญ (2)
  2016-05-19 14:41:00  cri

บริษัทยักษ์ใหญ่ เช่นกูเกล เฟสบุค ไมโครชอฟท์ ไอบีเอม เป็นต้น ได้ให้ความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยต่างๆทั่วโลก โดยลงทุนมหาศาลและวางแผนพัฒนาระบบการควบคุมด้วยเสียงพูด บ้านอัจริยะ รถยนต์ไร้คนขับ และการแพทย์วิทยาศาสตร์ธุรกิจเพื่อช่วยในการจำแนกต้นแบบต่างๆเป็นต้น เมื่อปี 2013 บริษัทเฟสบุค ได้ตั้งห้องทดลองปัญญาประดิษฐ์ เพื่อศึกษาวิจัยและผลิตระบบการรับรู้จากภาพเพื่อช่วยคนพิการตาบอด บริษัทไมโครชอฟท์ ยังผลิตระบบหนึ่ง ซึ่งสามารถแปลภาษาเป็นอีกภาษาหนึ่ง วัตสันของ IBM เป็นปัญญาประดิษฐ์ ซึ่งใช้ได้โดยทั่วไป ระบบนี้สามารถเรียนรู้บทความการแพทย์ล่าสุดด้วยตนเอง แล้วบันทึกและวิจัยข้อมูลที่เกี่ยวข้องของผู้ป่วยและให้ข้อเสนอแนะในการักษาโรคขั้นต้น ช่วยการตัดสินใจของแพทย์

สื่อมวลชนญี่ปุ่นยังรายงานว่า นักวิทยาศาสตร์ญี่ปุ่นได้วิจัยและผลิตระบบหนึ่ง ซึ่งสามารถจะเขียนนวนิยายได้ แต่ว่า ต้องให้มนุษย์กำหนดบุคคลและเรื่องย่อของนวนิยาย แล้วระบบจะเขียนนวนิยายที่เนื้อหามีสีสันตามข้อมูลที่บันทึกไว้ในระบบ นักวิจัยยังส่งบทความที่เขียนด้วยระบบไปเข้าร่วมการประกวดบทความชิงรางวัลในญี่ปุ่น แม้ที่สุดจะไม่ได้รับรางวัลก็ตาม แต่ผลงานก็ได้ผ่านการคัดเลือกในขั้นต้น ด้วยเหตุนี้ นักวิจัยเห็นว่า ในอนาคต ระบบนี้จะช่วยนุษย์ในการเขียนบทความเป็นอย่างมาก

ปีที่แล้ว สถาบันสนเทศศาสตร์ของญี่ปุ่นได้ออกมาประกาศว่า ปัญหาประดิษฐ์ที่ได้พัฒนาขึ้นมานั้นสามารถทำข้อสอบเข้ามหาวิทยาลัยของญี่ปุ่น 5 วิชา ซึ่งรวมถึง คณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ และภาษาอังกฤษ ได้ 511 คะแนน จาก 950 คะแนน สูงกว่าคะแนนเฉลี่ยที่ 416 คะแนน โดยทำคะแนนได้ดีเยี่ยมในส่วนที่เกี่ยวกับคณิตศาสตร์และประวัติศาสตร์ นักเรียนที่ทำคะแนนได้เท่า AI นี้มีโอกาสสูงถึง 80% ที่จะได้รับการคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัยเอกชนถึง 441 แห่ง และมหาวิทยาลัยของรัฐ 33 แห่ง

จีนก็มีแนวความคิดที่คล้ายกัน เดือนมีนาคมปีนี้ บริษัทพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ในมณฑลเฉิงตูของจีน เตรียมนำ ปัญหาประดิษฐ์ร่วมทำข้อสอบเอ็นทรานซ์เข้ามหาวิทยาลัยของจีน (高考) ในช่วงเดือนมิถุนายนปี 2017

โรบอตปัญหาประดิษฐ์จะต้องทำข้อสอบเช่นเดียวกับมนุษย์ อาทิ วิชาคณิตศาสตร์ ภาษาและวรรณกรรม วัฒนธรรม ยกเว้นเพียงบางวิชาอาทิ ภาษาต่างประเทศ รวมถึงต้องตอบคำถามที่ต้องใช้สามัญสำนึกในการตอบ คำถามปลายเปิดและการเขียนบทความด้วย ซึ่งทีมพัฒนา ปัญณาประดิษฐ์ระบุว่าความท้าทายในการสอบครั้งนี้ คือการให้ปัญญาประดิษฐ์เรียนรู้การตีความจากภาษาและการอนุมาน

เป้าหมายของการทดสอบในครั้งนี้ คือต้องการให้ปัญหาประดิษฐ์สามารถทำคะแนนถึงระดับที่สามารถเข้าเรียนมหาวิทยาลัยระดับท็อปของประเทศได้ แต่ถึงกระนั้นก็จะไม่มีการบันทึกคะแนนอย่างเป็นทางการแต่อย่างใด

ทั้งนี้การสอบเอ็นทรานซ์หรือเกาเข่าของจีน นับเป็นหนึ่งในการสอบที่หินที่สุดสำหรับนักเรียนที่จบชั้นมัธยมปลาย ไม่เฉพาะความยากของข้อสอบ แต่รวมถึงจำนวนผู้เข้าแข่งขันหลายล้านคนทั่วประเทศ และหากพลาดก็ต้องรอสอบใหม่ในปีถัดไป

In/LJ

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
ตอบคำถามออนไลน์
ทบทวนรายการน่าสนใจ
ภาพยอดฮิต
เว็บไซต์ึเพื่อนซีอาร์ไอ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Play Stop
© China Radio International.CRI. All Rights Reserved.
16A Shijingshan Road, Beijing, China. 100040