ความเป็นมาของข้อพิพาททะเลจีนใต้ (2a)
  2016-07-13 09:31:32  cri

กลางทศวรรษที่ 1950 ฟิลิปปินส์และเวียดนามมีการเคลื่อนไหวบางอย่างในหมู่เกาะหนานซา เมื่อปี 1956 โทมาส โคลมา (Tomás Cloma) นักผจญภัยชาวฟิลิปปินส์ประกาศสำรวจพบเกาะแก่งจำนวนมากในบริเวณน่านน้ำหมู่เกาะหนานซา ทั้งยังอ้างว่า เกาะแก่งเหล่านี้ไม่มีเจ้าของ จากนั้น รัฐบาลฟิลิปปินส์อ้างกรรมสิทธิ์ในเกาะเหล่านี้ อันที่จริง รัฐบาลฟิลิปปินส์รับรู้รับทราบจุดยืนของทางการไต้หวันในประเด็นหมู่เกาะหนานซา คือ จีนมีอำนาจอธิปไตยเหนือหมู่เกาะหนานซา จึงมีการส่งเจ้าหน้าที่เดินทางไปไต้หวันหลายครั้ง เพื่อเจรจาเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ของเกาะแก่งบางส่วนในหมู่เกาะหนานซา

สำหรับเวียดนาม นับตั้งแต่ปี 1962 ได้ยึดครองเกาะแก่งในทะเลจีนใต้รวม 6 แห่ง การกระทำดังกล่าวของเวียดนามถูกประชาชนสองฝั่งช่องแคบไต้หวันคัดค้านและประท้วงอย่างหนัก

กระแสบุกรุกเกาะแก่งในหมู่เกาะหนานซาที่มีความรุนแรงมากขึ้นเกิดขึ้นในช่วงทศวรรษที่ 1970 และ 1980 การเกิดกระแสดังกล่าวมีส่วนเกี่ยวข้องมากกับสองเหตุการณ์ เหตุการณ์แรกคือ ปลายทศวรรษที่ 1960 สหรัฐฯ สหประชาชาติ และองค์การระหว่างประเทศหลายองค์การประกาศว่า จากการสำรวจ พบทรัพยากรน้ำมันปิโตรเลียมที่อุดมสมบูรณ์บริเวณไหล่ทวีปทะเลจีนใต้ อีกเหตุการณ์หนึ่งคือ นานาประเทศเจรจา ลงนามอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล อนุสัญญาสหประชาชาติฉบับนี้กำหนดกติกาเขตเศรษฐกิจจําเพาะ(EEZ) 200 ไมล์ทะเลเป็นครั้งแรก

เนื่องจากมีทรัพยากรธรรมชาติอยู่ใต้ท้องทะเล เวีดนาม ฟิลิปปินส์ และมาเลเซียต่างพยายามหาโอกาสยึดครองเกาะแก่งบริวารของหมู่เกาะหนานซา

ช่วงเวลานั้น เวียดนามแบ่งแยกเป็นเวียดนามเหนือ และเวียดนามใต้ รัฐบาลเวียดนามเหนือรับรองจีนมีอำนาจอธิปไตยเหนือหมู่เกาะหนานซา แต่หลังจากเวียดนามเหนือ-ใต้รวมเป็นเอกภาพแล้ว รัฐบาลเวียดนามเปลี่ยนจุดยืนและนโยบายในปัญหาทะเลจีนใต้ทันที เมื่อปี1975 ได้ยึดครองเกาะแก่งในหมู่เกาะหนานซา 6 แห่ง ต่อมาได้ยึดครองอีก 18 แห่งตามลำดับ อีกทั้งยังปะทะกับจีนบริเวณแนวปะการังฉื้อกวา เมื่อวันที่ 14 เดือนมีนาคม ปี 1988

สำหรับฟิลิปปินส์บุกรุกเกาะแก่งในหมู่เกาะหนานซารวม 8 แห่ง เช่นเกาะเฟ่ยซิ่น และเกาะจงเย่ ขณะที่ประเทศมาเลเซียบุกรุกแนวปะการังตั้นหวาน แนวปะการังหนานไห่ และแนวปะการังซิงไจ่

ประเทศดังกล่าวพากันปรับเปลี่ยนจุดยืนและนโยบายเกี่ยวกับปัญหาในหมู่เกาะหนานซาอย่างมาก โดยเริ่มประกาศอ้างกรรมสิทธิ์ในเกาะแก่งบางส่วนของหมู่เกาะหนานซา และเรียกร้องสิทธิประโยชน์ในบริเวณน่านน้ำโดยรอบเกาะแก่งเหล่านี้ ด้วยรูปแบบการบัญญัติกฎหมายภายในประเทศ และออกแถลงการณ์ทางการเมือง

อย่างไรก็ตาม ช่วงเวลาดังกล่าว สหรัฐฯรับรองจีนมีอธิปไตยเหนือหมู่เกาะหนานซา โดยทุกครั้งที่สหรัฐฯจะทำการสำรวจบริเวณน่านน้ำหมู่เกาะหนานซา จะขออนุมัติจากจีนก่อน และแจ้งแผนการเดินเรือ และการบินในบริเวณน่านน้ำและน่านฟ้าของหมู่เกาะหนานซาให้ทางการจีนรับทราบ ทางการไต้หวันยังเคยต้อนรับเจ้าหน้าที่ทหารของสหรัฐฯบนเกาะแก่งบริวารของหมู่เกาะหนานซา ระยะเวลายาวนานที่ผ่านมา สหรัฐฯไม่มีท่าทีที่ชัดเจนต่อการบุกรุกเกาะแก่งในหมู่เกาะหนานซาอย่างบ้าคลั่งของเวียดนามและฟิลิปปินส์ แต่เคยสอบถามหลายครั้งถึงความเห็นของทางการไต้หวันเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ของเกาะแก่งในหมู่เกาะหนานซา ระหว่างปี 1957 –ปี 1961 เจ้าหน้าที่กองกำลังทางอากาศของสหรัฐฯที่ประจำฟิลิปปินส์เคยยื่นขออนุมัติจากทางการไต้หวันหลายครั้ง เพื่อสำรวจพื้นที่เกาะหวงเหยียน พื้นที่บริเวณน่านน้ำหมู่เกาะหนานซา รวมทั้งข้อมูลทางอุตุนิยมวิทยาในบริเวณดังกล่าว นี่ก็แสดงให้เห็นว่า แท้จริงแล้ว สหรัฐฯเห็นว่า จีนมีอธิปไตยเหนือหมู่เกาะหนานซา ช่วงเวลาเดียวกัน แผนที่ และหนังสือที่สหรัฐฯพิมพ์ออกจำหน่าย เช่น พจนานุกรมรายชื่อสถานที่ทั่วโลกโคลัมเบีย ลิปินคอทท์ (The Columbia Lippincott gazetteer of the world)ฉบับปี 1961 และสารานุกรมแผนที่นานาชาติฉบับปี 1971 ล้วนระบุชัดเจนว่า จีนเป็นเจ้าของหมู่เกาะหนานซา ช่วงเวลาดังกล่าว สิ่งที่ทำให้สหรัฐฯรู้สึกลำบากใจยิ่งในการกำหนดนโยบายคือ หากพิจารณาในแง่ความเป็นธรรม และกฎหมายระหว่างประเทศ ก็ต้องยอมรับจีนมีอธิปไตยเหนือหมู่เกาะหนานซา แต่หากพิจารณาในแง่การต่อต้านพรรคคอมมิวนิสต์ และยุทธศาสตร์ในเอเชีย-แปซิฟิกของสหรัฐฯ สหรัฐฯจะไม่ยอมให้แผ่นดินใหญ่จีนครองเกาะแก่งในหมู่เกาะหนานซา ไม่อยากให้กระทบความสัมพันธ์ที่เป็นพันธมิตรกับฟิลิปินส์

สำหรับจีน ในช่วงระยะเวลาอันยาวนาน ทางการไต้หวันครองเกาะไท่ผิงในหมู่เกาะหนานซา ขณะที่แผ่นดินใหญ่จีนเริ่มควบคุมและส่งเจ้าหน้าที่ประจำการบนเกาะแก่ง 6 เกาะซึ่งเป็นเกาะบริวารของหมู่เกาะหนานซาตั้งแต่ทศวรรษที่ 1980 ต่อมาเมื่อปี 1994 จีนสร้างอุปกรณ์หลบลมสำหรับเรือประมงบนโขดปะการัง เหม่ยจี้เจียว

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
ตอบคำถามออนไลน์
ทบทวนรายการน่าสนใจ
ภาพยอดฮิต
เว็บไซต์ึเพื่อนซีอาร์ไอ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Play Stop
© China Radio International.CRI. All Rights Reserved.
16A Shijingshan Road, Beijing, China. 100040