สื่อใหม่ในจีนล้ำสมัย ไม่แพ้ที่ใดในโลก
  2016-12-19 14:49:09  cri

ได้มีโอกาสพบกับอาจารย์ 3 ท่านจากมหาวิทยาลัยกรุงเทพคืออาจารย์ ดร.จักรพงษ์ สุธาภุชกุล รองคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ อาจารย์สุรเชษฐ์ โทวราภา คณะวิศวกรรมศาสตร์และอาจารย์ทชภณ ประภานนท์ ภาควิชาวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ คณะนิเทศศาสตร์ที่ท่านมาประชุมเกี่ยวกับสื่อใหม่ที่ปักกิ่งและแวะมาเยี่ยมเยือนภาคภาษาไทย สถานีวิทยุซีอาร์ไอ ทั้งสามท่านได้สะท้อนมุมมองต่อสื่อใหม่และด้านทั่ว ๆ ไปของจีน

อาจารย์ ดร.จักรพงษ์ สุธาภุชกุล รองคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ เล่าว่า

ความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยกรุงเทพกับทางจีนในโครงการ CHINA – ASEAN หัวข้อที่เรามาเข้าร่วมเป็นหัวข้อเกี่ยวกับนิวมีเดียและเทคโนโลยีทางด้านนิวมีเดียในอนาคต ส่วนใหญ่จะเป็นการปูพื้นในส่วนของ trend (แนวโน้ม)ของmedia(สื่อ)ในอนาคต จำนวนข่าวสารที่จะเกิดขึ้นในอนาคต รูปแบบการพรีเซนท์(present)ข่าวสารในอนาคต ซึ่งจะ base on เทคโนโลยีมากขึ้น เทคโนโลยีในที่นี้ก็คือจะเกี่ยวข้องกับพวกbig data ข้อมูลที่มีขนาดใหญ่มากขึ้น การ process data ที่มีขนาดใหญ่เพื่อที่จะดึงเฉพาะ informationที่มีประโยชน์เอามาใช้งาน อาจจะใช้ในการadvertising หรืออาจใช้ในการ personalizeตามความต้องการของUserแต่ละคนที่จะใช้ในการอ่านmediaพวกนี้ ส่วนต่อไปก็จะเป็นทางด้านไอโอที(Internet Of Things-IOT) นั่นหมายความว่าทุกสิ่งทุกอย่างที่เป็นอุปกรณ์ทั้งหลายแหล่ต้องต่อเข้ากับอินเตอร์เน็ต ข้อมูลทั้งหลายจะถูกแชร์ผ่านช่องทางนี้ ข้อมูลที่ว่าก็จะมีขนาดใหญ่ขึ้น ก่อนหน้านี้จะเป็นอินเตอร์เน็ตสำหรับพีซี พอปี 2008 ก็เป็นอินเตอร์เน็ตสำหรับพีเพิล(people) นั่นหมายความว่าจำนวนคนกับจำนวนสิ่งของเท่า ๆ กัน ก็คือคนก็จะมีแอ็กเซส(access)เข้าไปที่อินเตอร์เน็ตได้ แต่ ณ ปัจจุบันหนึ่งคนมีของมากกว่าหนึ่งอย่าง จำนวนthings(สิ่งของ)ที่เราพูดถึงมันมากกว่าคนแล้ว เพราะฉะนั้น อินเตอร์เน็ต ณ ปัจจุบันจะกลายเป็นอินเตอร์เน็ต ออฟ ธิงส์(Internet Of Things-IOT) สิ่งของทุกอย่างที่เราหิ้วไม่ว่าจะเป็นไอแพด ไอโฟน โทรศัพท์ทุกอย่างจะเข้าสู่อินเตอร์เน็ตได้ คือเป็นอีกรูปแบบหนึ่งที่เราจะแชร์ในส่วนของมีเดีย(media)หรือข้อมูลข่าวสารให้กันได้

จุดเด่นของการมาครั้งนี้ทางจีนเน้นเรื่องอะไร

เขาจะมองว่าแนวโน้มหรือเทรนด์(trend)ในอนาคตเป็นอย่างไร ณ ปัจจุบันจีนพัฒนาไปถึงจุดไหน แล้วก็วางแผนในอนาคตว่าจะโปรโมทเทคโนโลยีทางด้านไหนต่อเหมือนกับเป็นโรลโมเดล(role model)ให้กับประเทศทางด้านอาเซียน

งานด้านสื่อใหม่ของจีนค่อนข้างล้ำสมัยถ้าเทียบกับประเทศไทย เราใช้โซเชียลมีเดีย(social media)เยอะมาก แต่ว่าการที่จะเอาข้อมูลจากโซเชียลมีเดียมาโพรเซส(process)แล้วใช้งานทางธุรกิจ เรายังน้อยเมื่อเทียบกับจีน ในขณะที่จีนเขาข้อมูลมหาศาลแต่เขาสามารถโพรเซสแล้วเอามาใช้ได้เพื่อที่จะส่งมีเดียให้ถูกกับกลุ่มเป้าหมาย เขาทำได้ดีมากในปัจจุบัน จากดาต้า (data)ที่เขาแชร์(share)ทั้งหมดสามารถเอาไปลิงค์(link)ในส่วนของความปลอดภัยในการใช้ชีวิตไม่ว่าจะเป็นการขับรถ การเทค(take)พวกซับเวย์ (subway) อะไรพวกนี้ใช้ได้หมด

อาจารย์สุรเชษฐ์ โทวราภา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ สะท้อนมุมมองการใช้สื่อของคนจีน

คนจีนนิยมใช้สื่อสังคมออนไลน์ค่อนข้างเยอะ ผมเข้าใจว่าลักษณะการเดินทางที่ผมเดินทางอยู่ทุกวันทั้งขณะเดิน ใช้ซับเวย์(รถไฟใต้ดิน) คนจีนค่อนข้างจะใช้มือถือตลอดเวลา เลยรู้สึกว่าประเทศจีนโตทางด้านโซเชียลมีเดียมาก ระบบการจ่ายเงินของประเทศจีนค่อนข้างไฮเทคล้ำสมัย เขามีระบบที่เหมือนกับว่าเป็นมือถือที่มีเงินอยู่ในตัวเขาสามารถจ่ายเงินได้เลย ซึ่งที่บ้านเรายังมีน้อยอยู่ เข้าใจว่าเทคโนโลยีของจีนเรื่องนี้ค่อนข้างจะปลอดภัยด้วย

อาจารย์ทชภณ ประภานนท์ ภาควิชาวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ คณะนิเทศศาสตร์

ขอต่อยอดจากอาจารย์ทั้งสองท่านนอกเหนือจากเรื่องความสะดวกสบายในการเข้าถึงสื่อต่าง ๆ โดยผ่านช่องทางจากอินเตอร์เน็ต รวมไปถึงความล้ำสมัย การที่สนับสนุนให้คนสนใจเรื่องนิวมีเดียมากขึ้น อีกเรื่องหนึ่งที่ผมว่าเขาทำตามความต้องการของประเทศจีนด้วยก็คือทำเหมือนกับเฟซบุ๊ก ยูทูป ทวิตเตอร์ ไอจีแต่เป็นเวอร์ชั่นของเขาเอง แต่เขามีอย่างหนึ่งซึ่งออาจจะเป็นเจตนาหรือจุดประสงค์ก็คือไม่เป็นภาษาอังกฤษเลย เพื่อที่จะ หนึ่งอาจเรื่องความมั่นคงการสร้างชาติด้วย นี่เป็นวัตถุประสงค์หนึ่งกับอีกวัตถุประสงค์หนึ่งก็คือ การคงไว้ซึ่งประวัติศาสตร์ ภาษาจีนก็มีความสำคัญในอนาคตภาษาจีนก็เท่ากับภาษาอังกฤษ ดังนั้นโซเชียลมีเดียของเขาหลาย ๆ อย่าง เสิร์ฟหรือให้บริการกับคนจีนเป็นหลัก สำหรับคนนอกประเทศอยากจะดูอาจจะต้องเรียนภาษาจีนด้วยหรือเปล่า นั่นหมายความว่าเป็นการเผยแพร่วัฒนธรรมไปในตัวด้วย

สิ่งที่ผมประทับใจคนจีนมาก ๆ คือเขาตามโลกจริง ๆ ในยุคดิจิตอล ยุคที่เขารู้สึกว่าเขาต้องรวมสื่อทุกอย่างเข้าเป็นออลอินวัน(all in one) ในอนาคตเขาจะใช้คำว่าฟิวชั่นมีเดีย(fusion media)แทนนิวมีเดีย(new media)ข่าวสาร หนังสือพิมพ์ แมกกาซีน ทุกอย่างเอาไว้ในมีเดียเดียว หรืออาจจะไม่ใช่มีเดียเดียวแต่สามารถลิงค์เชื่อมไปได้ทำให้คนสะดวกสบายที่จะเข้าถึงสื่อต่าง ๆ ที่เขาต้องการมากขึ้น แต่ขณะเดียวกันไม่ว่าจะเป็น CCTV หรือ หนังสือพิมพ์ที่เป็นเทรดดิชั่นนอล มีเดีย(Traditional Media) ก็ก็คงยังไม่ตายแน่นอน ข้อดีของประเทศจีนคือมีคนมาก มีกลุ่มเป้าหมายอยู่แล้ว อย่างมีสังคมผู้สูงอายุที่เพิ่มมากขึ้นอาจจะคุ้นชินกับเทรดดิชั่นนอล มีเดียอยู่ แต่สังคมวัยรุ่นที่มีสถิติเป็นอายุที่ใช้มีเดียหรือออนไลน์มาก ก็มีนิวมีเดียสำหรับรองรับพวกเขาด้วย เหมือนอย่างที่อาจารย์ทั้งสองท่านบอก "ประเทศจีนค่อนข้างล้ำ ก้าวนำไปค่อนข้างไกลพอสมควรในเรื่องมีเดีย"

มุมมองต่อรายการทางสถานีโทรทัศน์จีน

ซีซีทีวีหรือสถานีโทรทัศน์กลางของจีนมีหลายช่องมาก ผมเปิดทีวีของโรงแรมที่พัก ไล่ดูไปช่องแรก ๆ ก็จะเป็นข่าวกับละคะที่เน้นประวัติศาสตร์ มีช่องที่เป็นกีฬา ไม่เห็นช่องที่เป็นหนังฝรั่งที่อิมพอร์ตเข้ามาเท่าไหร่ เท่าที่สัมผัสรายการของเขาน่าสนใจ โดยเฉพาะรายการเกม รายการวาไรตี้ เขาจะให้คนทางบ้านมีส่วนร่วมเยอะ การทำฉากจะมีคนทางบ้านเข้ามาเพื่อให้เราเห็นรีแอ็กชั่นสด เห็นฟีดแบคสด คนจีนเยอะมากบางคนกว่าจะได้เป็นดาราอาจจะเริ่มมาจากการไม่ได้มีฐานะดีมาก่อน พอเข้าไปก็เลยเป็นเหมือนแรงบันดาลใจ รายการหนึ่งที่ผมประทับใจมากเป็นรายการที่เขาแข่งขันกันเรื่องภาษา คือมีชาวต่างชาติที่พูดภาษาจีนได้ ช่วงหนึ่งให้ออกมาเหมือนทอล์คโชว์มาโมโนลอล์ค(monologue)คนเดียว แล้วก็มีคอมเมนเตเตอร์(commentator)คอยให้คะแนน ช่วงที่สองเป็นมัลติเปิล ชอยซ์(multiple choices) ที่ให้เลือกข้อ 1 2 3 4 แต่คำถามเกี่ยวกับภาษาจีน เขาถามแบบมีสาระและรายการสนุกด้วย คือคอนเทนท์(content)ค่อนข้างดีขณะเดียวกันก็มีความบันเทิงไปในตัวด้วย เปิดไปเจอช่องที่คล้าย ๆ กับรายการเกาหลีเขาก็ตามเทรนด์ที่เน้นดาราวัยรุ่นมาสร้างสีสันเน้นความบันเทิงเท่านั้น จุดเด่น ๆ ที่เห็นในรายการโทรัศน์ของจีนคือไม่เฉพาะคนหนุ่มสาวเท่านั้นที่มีส่วนร่วมในรายการ แต่เขาให้คนทุกเพศทุกวัย

อาจารย์ ดร.จักรพงษ์ฯ

เคยมาคอนเฟอร์เรนซ์ทางด้านเอ็นจิเนียร์ที่นครเซี่ยงไฮ้ที่เป็นเมืองใหญ่และมีความเป็นสากล พอมาปักกิ่งก็จะเป็นอีกมุมหนึ่ง มีความเป็นเทรดดิชั่นนอลมากกว่า แต่ว่าความใหญ่โตก็เทียบเท่าเซี่ยงไฮ้ถ้าอยู่ในเมือง

ผมมองจีนในด้านของมีเดียก็คือเขาค่อนข้างจะมีแพลตฟอร์มที่ดี คือเขาวางโครงสร้างทุกอย่างไว้เพื่อรองรับอนาคต ตัวอย่างเช่นการที่เขาปิดไม่ให้ใช้เฟซบุ๊ก กูเกิ้ล ทวิตเตอร์ แล้วสร้างบริษัทของเขาเองที่ทำทางด้านchinese versionของเฟซบุ๊ก กูเกิ้ล ทวิตเตอร์ ผมมองว่าเป็นการสร้างธุรกิจในประเทศจีนเอง เป็นการโปรโมทธุรกิจให้โตขึ้นเพื่อที่จะแข่งขันในระดับโลกได้ พอมีความสามารถเทียบเท่ากับทั่วโลกได้เขาอาจจะเปิดให้คู่แข่งขันเข้ามาแข่งขันได้เหมือนเป็นการปกป้องธุรกิจของตัวเองให้เติบโตและก้าวกระโดดได้ เช่นเดียวกับรายการทีวีที่บอกว่าถ้าเป็นภาพยนตร์จากต่างประเทศให้ไปอยู่ตอนหลังสี่ทุ่ม ผมมองว่าเขาให้โอกาสสื่อจีนที่จะใช้ช่วงเวลาไพรม์ไทม์ในการนำเสนอมากขึ้น ในขณะที่ถ้าเป็นสื่อจากต่างประเทศที่มีชื่อเสียงอยู่แล้วเขาจะชิปไปอยู่ช่วงหลัง เพื่อให้โอกาสสื่อจีนมาก คือมองว่าเป็นโครงสร้างที่ดี เป็นโมเดลที่ดี ที่เมืองไทยอาจจะเอาไปทำไพรม์ไทม์ในอนาคต คือทำให้ธุรกิจตนเองเข้มแข็ง มีพลังก่อน เป็นที่ยอมรับก่อนแล้วจึงเปิดแข่งกับข้างนอก

อาจารย์สุรเชษฐ์ฯ ประทับใจการวางผังเมืองของจีน

บนเครื่องบินผมนั่งติดหน้าต่าง ก่อนที่จะแลนดิ้ง ผมเห็นสถาปัตยกรรมเขาดูดีมาก มีการวางผังเมือง มีการแบ่งบล็อก แบ่งโซนอย่างดี คือจังหวะที่เป็นตึกสูงก็จะมีเฉพาะตึกสูงเท่านั้น จังหวะที่เป็นเกษตรกรรมก็จะมีแต่เกษตรกรรม ผมว่าประเทศจีนวางผังเมืองอย่างดีมาก เขาพัฒนาได้อีกไกล ประทับใจผังเมืองเขามาก

อาจารย์ทชภณ ฯ ในจีนเห็นบาร์โค๊ตเต็มไปหมด

ในซับเวย์(รถไฟใต้ดิน)เขาก็จะมีเทคโนโลยีที่แบบว่าถ้าเรานั่งรถไฟใต้ดินวิ่งด้วยความเร็วเท่าไหร่แล้วข้างนอกที่เป็นอุโมงค์ ตามกำแพงอุโมงค์ก็จะมีสื่อโฆษณาสื่อประชาสัมพันธ์ติดอยู่ เขาใช้เทคโนโลยีที่ทำให้มันเหมือนภาพเซ็นเซอร์ พอวิ่งไปความเร็วเท่ากันมันก็จะเป็นป้ายโฆษณาเหมือนกัน จึงหมายความว่าไม่ว่าคุณจะอยู่ที่ไหน คุณจะได้เห็นเอง การโฆษณาประชาสัมพันธ์ผ่านป้ายที่ใช้เทคโนโลยีนี้ มันก็จะคล้ยกับบิลบอร์ดข้างนอก บิลบอร์ดข้างนอกเหมือนเรานั่งมองผ่านหน้าต่าง เราต้องมองออกไปเอง แต่อันนี้เรามองโดยไม่ได้ตั้งใจ เราจะเห็นเองโดยอัตโนมัติ โดยธรรมชาติคนเราอาจอยากส่องกระจก เราก็จะ เออะ!มีป้าย

สิ่งหนึ่งที่ผมรู้สึกคือในจีนผมเห็นบาร์โค๊ตเต็มไปหมด ไม่ว่าจะเป็นป้ายใหญ่ ป้ายเล็กป้ายน้อยจะมีบาร์โค๊ตเสมอ เพื่อที่ว่าถ้าเราไม่ทันเราสแกนปุ๊ปแล้วค่อยไปดูข้อมูลทีหลัง ตามที่สังเกตเวลาไปห้างไปตามสถานที่ต่าง ๆทุกโปสเตอร์มีคิวอาร์โค๊ตหมด (ซึ่งจะเป็นการอำนวยความสะดวกสำหรับคนที่ต้องการข้อมูลมากขึ้น แต่อยู่ในช่วงเร่งรีบ) เป็นการต่อยอดบอกคนว่าตอนนี้ระบบเทเลคอมมิวนิเคชั่นของเรามันก็โอเคนะ ถ้าข้อมูลสแกนปุ๊ปเข้าเน็ตปุ๊ปถึงเลยนะ ในอนาคต 3จี 4จี หรือ 5จี การสื่อสารของเขาจะเร็วมาก ๆ จนน่าอิจฉา

อาจารย์ ดร.จักรพงษ์ฯ คนจีนดูกระฉับกระเฉงเร่งรีบ

วิถีคนปักกิ่งกับคนกรุงเทพฯความเหมือนความต่าง เรื่องรถติดนี่เหมือนกัน ปักกิ่งที่มีวงแหวนที่ 1 2 3 4 5... ก็เป็นแนวคิดที่ดี แต่ว่ารถติดก็ยังพอ ๆ กับบ้านเรา คนกรุงเทพฯสบายใจได้(หัวเราะ) ส่วนการใช้ซับเวย์ค่อนข้างจะแน่นอาจจะแน่นกว่าบ้านเรา คนจีนดูกระฉับกระเฉงเร่งรีบดูไปไหนมาไหนไว

อาจารย์ทชภณ ฯ แต่ถ้ามาคนเดียวหรือว่ามากับเพื่อนเขาจะมีโลกส่วนตัวสูงมากขึ้น ด้วยความเร่งรีบพอประตูซับเวย์เปิดรีบพุ่งเข้าไปเลยเพื่อจะได้นั่งก่อน ไม่สนว่าฉันจะเป็นหนุ่มสาวแก่แค่ไหน ก็เข้าใจเหมือนที่ญี่ปุ่นเหมือนกันบางทีก็อาจเกิดปรากฏการณ์เช่นนี้ แต่ก็เข้าใจเขาอาจจะเหนื่อย แล้วอาจจะเดินทางไกลเพราะบางคนบอกว่าฝั่งตะวันออกไปฝั่งตะวันตกบางทีสองชั่วโมง ผมสังเกตว่าพวกเขาไม่สนใจสิ่งรอบข้างคนจะพูดเสียงดัง คนจะเม้าท์มอยกัน เขาจะอยู่กับตัวเอง เวลาเขาดูหนังบางคนก็เปิดspeaker เขาจะสนใจโลกส่วนตัวของตัวเอง ซึ่งสิ่งเหล่านี้ก็กำลังจะเกิดขึ้นกับประเทศไทยมากขึ้นเรื่อย ๆ เหมือนกัน สัญลักษณ์ของความเร่งรีบในจีนคือบีบแตร อันนี้พวกเราอยู่จนเริ่มชินแล้ว

อาจารย์สุรเชษฐ์ฯ ผมว่าการบีบแตรเป็นสิ่งที่ดี เป็นการส่งเสียงให้คนที่เดินอยู่ระวังตัว

มุมมองต่ออาหารการกินในจีน

อาจารย์ ดร.จักรพงษ์ฯ ตั้งแต่มานี่ชอบครับ แต่ว่ายังไม่ได้กินอาหารปักกิ่ง ร้านที่เราเลือกทานส่วนใหญ่จะเป็นร้านจากฮ่องกง มาเก๊า ร้านจากทางใต้ของจีน รสชาติค่อนข้างถูกปากเลยครับ

อาจารย์ทชภณ ฯแต่ว่าอย่างผมกับอาจารย์สุรเชษฐ์ จะเน้นกินข้าวในโรงอาหารมหาวิทยาลัย เพราะฝ่ายจัดงานเขามอบบัตรทานอาหารให้ เข้าใจว่านั่นน่าจะเป็นอาหารปักกิ่งคือเน้นเค็มกับมัน ก๋วยเตี๊ยวเขาเส้นหนักกว่าเนื้อ เนื้อแทบจะไม่เห็นเลย(หัวเราะ) เนื้อเหมือนละลายลงไปในซุป แต่ความที่เป็นคนชอบกินเค็มหลาย ๆ รสชาติก็พอกินได้ แต่มีบางเครื่องเทศที่ผมไม่รู้เรียกว่าอะไรคือเผ็ดซ่าลิ้นแล้วเหมือนกลิ่นมันจะพุ่งขึ้น วันแรก ๆ รู้สึกแปลกลิ้นอร่อยดี พอระยะหลังรู้สึกว่าไม่ค่อยถูกจริตแล้ว มาที่นี่ชอบกินผักมาก กินผักทุกมื้อ เมื่อวานพวกเราไปทัศนศึกษาที่ซีอาร์ไอ เขาพาแวะทานก๋วยเตี๋ยวเนื้อแพะ ตอนแรกเราได้เห็แค่เส้นกับน้ำยังไม่มีเนื้ออะไรสักอย่าง ตอนหลังเขาจึงเสิร์ฟเป็นเนื้อแพะย่างเสียบไม้มา ก็โอเคพอกินได้ แต่เครื่องเคียงเขาให้มา 4 จานเล็ก ๆ เป็นผักล้วน เราว่าก็ดีอย่างน้อยก็ยังมีผัก ที่ปักกิ่งชานมเยอะ โยเกิร์ตเยอะ โยเกิร์ตเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่อร่อยมาก ไอศกรีมด้วย ส่วนเป็ดปักกิ่งแน่นอนอยู่แล้วอร่อยมาก กินสามรอบ(ทุกคนหัวเราะ)

อาจารย์สุรเชษฐ์ฯ ผมไม่ชอบผักแต่ยังไงก็ต้องกิน ที่ชอบมากคือปลาท่องโก๋ตัวใหญ่มาก อร่อยมาก เสียดายอย่างเดียวคือไม่มีนมข้น ผมเป็นคนกินปลาท่องโก๋กับนมข้นหวาน ที่เหลือก็โอเค แต่ติดตรงที่อาหารเขาค่อนข้างมัน

--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
ตอบคำถามออนไลน์
ทบทวนรายการน่าสนใจ
ภาพยอดฮิต
เว็บไซต์ึเพื่อนซีอาร์ไอ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Play Stop
© China Radio International.CRI. All Rights Reserved.
16A Shijingshan Road, Beijing, China. 100040