กรอบความร่วมมือแม่น้ำโขง – ล้านช้าง อีกแรงขับเคลื่อนสำคัญต่อการพัฒนาความสัมพันธ์จีน-ไทย (2)
  2018-01-10 11:36:22  cri

กรอบความร่วมมือแม่น้ำโขง-ล้านช้างเป็นประโยชน์มากกับการกระชับความร่วมมือด้านต่างๆ ระหว่างจีน-ไทย และเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญต่อการพัฒนาความสัมพันธ์จีน-ไทย

 

ก่อนอื่น กลไกความร่วมมือดังกล่าวมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนการเชื่อมโยงการดำเนินโครงการระเบียงเขตเศรษฐกิจภาคตะวันออกหรืออีอีซีของไทยและการดำเนินโครงการ "หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง"ที่จีนเสนอ เมื่อ 4 ปีที่แล้ว ผู้นำจีนได้เสนอแนวคิด "หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง" ถึงขณะนี้ การค้าการลงทุนในแถบเส้นทางสายไหมคึกคักและพัฒนายิ่งขึ้น นักลงทุนจีนได้เข้าไปลงทุนในหลายประเทศในแถบเส้นทางสายไหม บริษัทชั้นนำจากจีนขยายการลงทุนในต่างประเทศมากขึ้น สิ่งที่เกิดขึ้นเหล่านี้ล้วนช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจในภูมิภาค ถึงแม้ไทยจะไม่ได้อยู่บนเส้นทางสายไหมแห่งใหม่โดยตรง แต่โครงการดังกล่าวได้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ระยะยาวของไทย โดยรัฐบาลไทยได้ให้ความสนใจ และเห็นว่าโครงการ "หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง" จะเป็นประโยชน์ต่อการเชื่อมโยงความร่วมมือด้านต่างๆ ภายในภูมิภาค ทั้งทางบก ทางอากาศ และทางทะเล เพื่อให้ไทยเป็นจุดศูนย์กลางของภูมิภาคอาเซียน อีกทั้งมีนโยบาย ไทยแลนด์ 4.0 ในการร่วมทุนพัฒนาเขตระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก ทั้งด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ อาทิ อุตสาหกรรมปิโตรเคมี อุตสาหกรรมยานยนต์และรถยนต์ไฟฟ้า อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมเพื่อการก่อสร้าง ธุรกิจโทรคมนาคม ซึ่งในอนาคตพื้นที่ดังกล่าวจะเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษที่พร้อมไปด้วยสาธารณูปโภค ระบบคมนาคมขนส่งและโลจิสติกส์ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การอำนวยความสะดวกในรูปแบบต่างๆ เพื่อสนับสนุนการประกอบธุรกิจให้มีความรวดเร็วและทันสมัยที่สุดในอาเซียน โดยพื้นที่อีอีซี ยังจะถูกพัฒนาให้เป็นมหานครแห่งอนาคต ที่จะเป็นทั้งศูนย์กลางแห่งการจัดตั้งวิสาหกิจ การค้าการลงทุน การขนส่งของภูมิภาค และแหล่งท่องเที่ยว ตลอดจนยังเป็นประตูสู่เอเซียกลางในการเชื่อมโยงกับโครงการ "หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง" ได้เป็นอย่างดี จึงเชื่อมั่นได้ว่า จะทำให้ผู้ประกอบการของไทยและจีนมีการเชื่อมโยงระหว่างกัน และก้าวไปสู่เวทีการค้าระดับสากลได้มากขึ้น ที่ผ่านมา การร่วมมือกับจีนอาจเป็นแค่แต่ละโครงการเท่านั้น แต่หลังกรอบความร่วมมือแม่น้ำโขง-ล้านช้างเกิดขึ้น นักธุรกิจจีนจะสามารถแสดงบทบาทเป็นตัวช่วยสำคัญในการเชื่อมโยงเศรษฐกิจ และยุทธศาสตร์ในระยะยาวระหว่างจีน-ไทย โดยเริ่มตั้งแต่การสร้างความเชื่อมโยงทางคมนาคมขนส่ง ด้านรถไฟ อินเทอร์เน็ตความเร็วสูง เพื่อไปสู่ไทยแลนด์ 4.0 ตามเป้าหมายให้ได้

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
ตอบคำถามออนไลน์
ทบทวนรายการน่าสนใจ
ภาพยอดฮิต
เว็บไซต์ึเพื่อนซีอาร์ไอ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Play Stop
© China Radio International.CRI. All Rights Reserved.
16A Shijingshan Road, Beijing, China. 100040