จีนไขรหัสที่ราบสูงชิงไห่ –ทิเบต (2)
  2018-10-24 09:59:00  cri

 

การประกาศผลการสำรวจที่ราบสูงชิงไห่ – ทิเบต(Qinghai-Tibet Plateau)เชิงวิทยาศาสตร์ครั้งที่ 2

โครงการสำรวจที่ราบสูงชิงไห่ – ทิเบตเชิงวิทยาศาสตร์ครั้งนี้จะดำเนินการเป็นเวลา 5 – 10 ปี นอกจากสำรวจที่ราบสูงชิงไห่ – ทิเบตแล้ว ทีมงานนักวิทยาศาสตร์ชุดนี้ยังมีส่วนหนึ่งยังจะเดินทางออกจากประเทศจีน ไปดำเนินงานสำรวจที่เขตต่างๆ ของเอเชียและยุโรป ก่อนหน้านี้ โครงการสำรวจตอนต้นได้ดำเนินการมาแล้ว 1 ปี ที่เขตน่าชวีของทิเบต เพื่อสำรวจสภาพการเปลี่ยนแปลงของต้นกำเนิดของแม่น้ำและทะเลสาบ

หัวข้อสำคัญในการสำรวจครั้งนี้ประกอบไปด้วย ที่ราบสูงชิงไห่ – ทิเบตกำลังเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น นี่เป็นสัญลักษณ์ของระบบนิเวศที่ดีขึ้นจริงหรือไม่ เหตุใดภัยพิบัติหิมะบนเขาพังถล่ม สามารถที่จะเตือนภัยล่วงหน้าหรือไม่ การละลายของธารน้ำแข็งทำให้ทรัพยากรน้ำเพิ่มมากเท่าไหร่ เป็นผลดีหรือผลเสียต่อแทงค์น้ำแห่งเอเชีย เทือกเขาหิมาลัยกับเทือกเขาไกรลาส Gangdese (KailasRange) อันไหนมีขึ้นก่อน

ต้นเดือนกันยายนที่ผ่านมาที่เมืองลาซาเมืองเอกของทิเบต ทีมงามวิทยาศาสตร์จีนที่ดำเนินการสำรวจที่ราบสูงชิงไห่ – ทิเขตได้ประกาศผลวิจัยตอนแรก เพื่อไข "รหัสที่ราบสูงชิงไห่ –ทิเบต" หลังจากได้ดำเนินการสำรวจต่อสภาพธารน้ำแข็ง ทะเลสาบ สภาพน้ำ อุตุนิยมวิทยา ระบบนิเวศบนที่ราบสูงน้ำแข็ง ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตและการเปลี่ยนแปลงของทรัพยากรที่ดิน เป็นต้น

"ถังเก็บน้ำหอสูงแห่งเอเชีย"กำลังเปลี่ยนแปลง

นายเฉิน อี้เฟิงสมาชิกทีมสำรวจฯ นักวิจัยจากสภาวิทยาศาสตร์จีนกล่าวว่า เมื่อ 20 ปีก่อน ผมเคยมาตั้งแคมป์ริมทะเลสาบเซ่อหลินชั่ว (ทะเลสาบใหญ่ที่สุดของทิเบต และทะเลสาบน้ำเค็มใหญ่อันดับ 2 ของจีน) แต่ปัจจุบัน เขตบริเวณนั้นถูกน้ำจากทะเลสาบท่วมไปหมดแล้ว เพราะปีหลังๆ นี้ ทะเลสาบเช่อหลินชั่วขยายวงกว้างขึ้นเรื่อยๆ ฟาร์มเลี้ยงสัตว์พื้นที่กว่า 220 ตารางกิโลเมตรจมอยู่ใต้น้ำ สภาพที่ทะเลสาบโตขึ้นไม่เพียงแต่ทะเลสาบเซ่อหลินชั่วแห่งเดียว ผลการสำรวจที่ราบสูงชิงไห่ –ทิเบตเชิงวิทยาศาสตร์ครั้งที่ 2 ปรากฏว่า ช่วง 50 ปีที่ผ่านมา จำนวนทะเลสาบที่มีเนื้อที่ใหญ่กว่า 1 ตารางกิโลเมตรเพิ่มมากขึ้นจาก 1,081 ของแต่ก่อนมาเป็น 1,236 แห่งในปัจจุบัน พื้นที่ทะเลสาบโดยรวมจาก 40,000 ตารางเมตรเพิ่มขึ้นเป็น 47,400 ตาราเมตร ส่วนธารน้ำแข็งลดน้อยลง 15% และดินที่ผสมน้ำแข็งมานานปีลดน้อยลง 16%

ปีหลังๆ นี้ ที่ราบสูงชิงไห่ –ทิเบตที่ขึ้นชื่อกับสภาพอากาศที่หนาวและแห้ง แต่ปัจจุบันกำลังอุ่นขึ้นและมีความชื้นมากขึ้น ความเร็วของอุณหภูมิที่สูงขึ้นเป็น 2 เท่าของอัตราทั่วโลก นายเหยา ถันตุ้ง หัวหน้าทีมงานนักวิทยาศาสตร์ที่ดำเนินโครงการสำรวจที่ราบสูงชิงไห่ –ทิเบตครั้งที่ 2 สมาชิกสภาวิทยาศาสตร์จีนเห็นว่า อุณหภูมิที่สูงขึ้น ทำให้ทรัพยากรน้ำเพิ่มมากขึ้น แต่ก็ทำลายความสมดุลแต่ก่อนของแทงค์น้ำแห่งเอเชีย และนำมาซึ่งภัยธรรมชาติบ้าง อย่างเช่นธารน้ำแข็งอาหรู่ ที่เขตอาหลี่ของทิเบตพังถล่ม 2 ครั้งในเดือนกรกฎาคมและกันยายนปี 2016

ที่ราบสูงชิงไห่ – ทิเบตมีสีเขียวเพิ่มมากขึ้น

ผลการสำรวจยังพบว่า ปัจจุบัน ที่ราบสูงชิงไห่ – ทิเบตมีสีเขียวเพิ่มขึ้น ต้นไม้โตสูงขึ้นกว่าเดิม พืชหญ้าบนผิวพื้นก็เพิ่มมากขึ้นเช่นกัน เรื่องนี้มีทั้งข้อดีและข้อเสีย นายเผี่ยว ซื่อหรง ผู้อำนวยการห้องแล็ประบบนิเวศสถาบันวิจัยที่ราบสูงชิงไห่ – ทิเบตสภาวิทยาศาสตร์จีนกล่าวว่า ช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา ระบบนิเวศของที่ราบสูงมีแนวโน้มดีขึ้น ตั้งแต่ทศวรรษปี 1980 อุณหภูมิสูงขึ้น ต้นไม้พืชหญ้าก็เพิ่มมากขึ้น

ป่าไม้มีบทบาทในการรับและเก็บคาร์บอนไดออกไซด์ ตั้งแต่ปี 2000 เป็นต้นมา ระบบนิเวศของที่ราบสูงชิงไห่ – ทิเบตได้รับและเก็บคาร์บอนไดออกไซด์ 51 ล้านตัน คิดเป็นประมาณ 20% ของคาร์บอนไดออกไซด์เก็บในระบบนิเวศทางบกทั่วประเทศจีน

แต่อุณหภูมิที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องนั้น ก็คงทำให้เขตพื้นที่บางส่วนที่เคยเป็นพื้นดินแช่แข็งบนที่ราบสูงฯละลาย และปล่อย "คาร์บอนไดออกไซด์ที่เก็บสะสมไว้ตั้งแต่ในอดีต" ในดินแช่แข็งเหล่านี้เป็นเวลานานปี ออกไปสู่ชั้นอวกาศ ทำให้สภาพเรือนกระจกร้ายแรงยิ่งขึ้น

(ที่ราบสูงชิงไห่ – ทิเบตมีพืชไม้หลากหลายชนิดสมบูรณ์แบบ ไม่ว่าจะเป็นป่าฝนเขตโซนร้อน จนกระทั่งทุ่งหญ้าภูเขาสูงที่มีอากาศหนาว ล้วนสามารถที่จะได้พบในเขตนี้ นอกจากนั้น ยังมีแนวต้นสนอัลไพน์ที่เหนือระดับน้ำทะเลที่สูงที่สุดของซีกโลกเหนือ ผลการสำรวจปรากฏว่า ช่วง 100 ปีที่ผ่านมา แนวต้นสนอัลไพน์มีความสูงเพิ่มขึ้น 29 เมตรโดยเฉลี่ย เขตที่เพิ่มสูงขึ้นมากสุดคือ 80 เมตร

การที่แนวต้นสนอัลไพน์เพิ่มสูงขึ้นนั้น หมายถึงจะมีแนวโน้มว่าต้นไม้เพิ่มมากขึ้น ซึ่งเป็นประโยชน์ในการรับและเก็บคาร์บอนไดออกไซด์ให้เพิ่มมากขึ้น แต่ขณะเดียวกัน ต้นไม้ที่เพิ่มขึ้นนั้น จะต้องขยายบริเวณพื้นที่ให้กว้างขึ้น และบีบให้พื้นที่ทุ่งหญ้าบนภูเขาสูงลดน้อยลง ทำให้สิ่งมีชีวิตหรือสัตว์ชนิดพิเศษที่อาศัยอยู่ในทุ่งหญ้าเผชิญกับความเสี่ยงที่จะสูญพันธุ์ก็ได้

นอกจากนั้น อุณหภูมิที่สูงขึ้นนั้น ยังจะส่งผลกระทบต่อข้าวสาลีชิงเคอ ซึ่งเป็นข้าวที่ชอบความเย็นที่เหมาะสมปลูกบนที่ราบสูงชิงไห่ – ทิเบต แต่อากาศที่เกิดขึ้นนั้นจะไม่เป็นประโยชน์ต่อการเติบโตของข้าวชิงเคอ ดังนั้น การรับมือกับการท้าทายที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศนั้น ก็เป็นงานเร่งด่วนและสำคัญสำหรับเกษตรกรรมบนที่ราบสูงชิงไห่ – ทิเบต

ประวัติศาสตร์ "การเติบโต" ของที่ราบสูงชิงไห่ – ทิเบต เป็นหนึ่งของสิ่งที่สำคัญในการทำความเข้าใจต่อที่ราบสูงแห่งนี้ เมื่อก่อน นักวิจัยที่เกี่ยวข้องของประเทศต่างๆ ยังคงไม่มีความเห็นหรือข้อสรุปที่ชัดเจนและแน่นอนเกี่ยวกับการเกิดและการเติบโตของที่ราบสูงแห่งนี้

การประกาศผลการสำรวจที่ราบสูงชิงไห่ – ทิเบตเชิงวิทยาศาสตร์ครั้งที่ 2 ได้ผลการสำรวจเกี่ยวกับประวัติศาสตร์การเติบโตของเทือกเขาหิมาลัยและเทือกเขาไกรลาส Gangdese (KailasRange)

นายติง หลิน สมาชิกสภาวิทยาศาสตร์จีนกล่าว่า เทือกเขา Gangdese ( KailasRange) เป็นเทือกเขาสำคัญแห่งแรกบนที่ราบสูงชิงไห่ – ทิเบต มีขึ้นประมาณ 55 ล้านปีก่อน ขวางอยู่ภาคใต้ จากทิศตะวันออกถึงทิศตะวันตก ส่วนในเวลาเดียวกันนั้น เทือกเขาหิมาลัยยังมีส่วนหนึ่งจมอยู่ใต้น้ำทะเล แต่ก็ค่อยๆ โผล่ขึ้น จนถึงประมาณ 24 – 15 ล้านปีก่อน จึงได้กลายเป็น "หลังคาโลก" ที่เราเห็นอยู่ในปัจจุบัน การพองตัวสูงขึ้นของเทือกเขาหมาลัย ขัดขวางการย้ายสู่ทางทิศเหนือของกลุ่มมรสุม ทำให้ข้างในของที่ราบสูงค่อยๆ แห้งแร้ง แต่กลุ่มมรสุมก็เปลี่ยนทิศไปสู่ภาคตะวันออกเฉียงใต้ของที่ราบสูง ทำให้เขตนั้นกลายเป็นพื้นที่อุดมสมบูรณ์

ความหลากหลายของพืช ที่รวมถึงป่าไม้เขตโซนร้อน จนถึงทุ่งหญ้าภูเขาสูงที่มีอากาศหนาวนั้น ทำให้ที่ราบสูงชิงไห่ – ทิเบตได้รับขนานนามว่า "ห้องแล็ปธรรมชาติ" ด้านการวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต มีหลักฐานจำนวนมากแสดงให้เห็นว่า ที่ราบสูงชิงไห่ – ทิเบตอาจจะเป็นแหล่งกำเนิดและวิวัฒนาการของสัตว์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ อาทิ บรรพบุรุษของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เช่น วูลลี่ ไรโนเซอรัสหรือแรดขน สุนัขจิ้งจอกอาร์กติก และเสือดาวหิมะ (snow leopard) ซึ่งเป็นบรรพบุรุษของสัตว์ประเภทแมวขนาดใหญ่ อาทิ เสือดำเสือดาว สิงโตแอฟริกา เป็นต้น

นอกจากนั้น ยังมีหลักฐานที่ยืนยันว่า ก่อนที่จะโป่งขึ้น ภาคเหนือของที่ราบชิงไห่ – ทิเบตเคยมีป่าฝนเขตโซนร้อนและป่าแถบใกล้เขตโซนร้อน พื้นที่บริเวณกว้างขวาง แล้วอาจจะมีนกบินผ่านเขตนี้ กินและนำเอาเมล็ดพันธุ์พืชไปทิ้งที่ยุโรปและอเมริกาเหนือ จนถึงทุกวันนี้ กลายเป็นชนิดพืชที่เห็นบ่อยในป่าเขตโซนรอนและป่าแถบใกล้เขตโซนร้อน

(Bo/Lin)

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
ตอบคำถามออนไลน์
ทบทวนรายการน่าสนใจ
ภาพยอดฮิต
เว็บไซต์ึเพื่อนซีอาร์ไอ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Play Stop
© China Radio International.CRI. All Rights Reserved.
16A Shijingshan Road, Beijing, China. 100040