ปักกิ่งเพลินเพลิน: บทสัมภาษณ์รายการพิเศษส่องสองสภาจีน "ส่องนโยบายการต่างประเทศจีน ผ่านมุมมองคนรุ่นใหม่ไทย (ตอนจบ)
  2012-03-15 16:24:36  cri

สำหรับรายการส่องสองสภาจีนประจำวันที่ 12 มีนาคมนี้ ยังอยู่กับแขกรับเชิญพิเศษคนรุ่นใหม่ไทยคือ นายพงศ์พิสุทธิ์ วงศ์วีรสิน อายุ 25 ปี นักศึกษาทุนรัฐบาลจีน ระดับปริญญาโท สาขาการต่างประเทศจีน คณะความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยปักกิ่ง โดยแสดงความคิดเห็นในการประชุมสองสภา เน้นประเด็นที่นโยบายต่างประเทศของจีน บุคคลนี้ยังเป็นคนรุ่นใหม่ไทยที่สนใจเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและการต่างประเทศจีนมาตั้งแต่สมัยเรียนระดับปริญญาตรีที่เมืองไทย เรามารู้จักและฟังความคิดเห็นของคนรุ่นใหม่ไทยเกี่ยวกับการประชุมสองสภาจีนกันต่อเลยค่ะ

หลังจากที่คุณได้ฟังผลการดำเนินงานของรัฐบาลด้านนโยบายทางการทูต ที่จีนมุ่งเน้นด้านการทูตสาธารณะหรือ Public Diplomacy อยากฟังมุมมองของคุณว่า ในปีที่ผ่านมาจีนประสบความสำเร็จมากน้อยแค่ไหนกับนโนบายนี้

- จริงๆ แล้ว ถ้าเราพูดถึงการทูตในยุคปัจจุบันเริ่มจากหลังยุคสงครามเย็น แล้วก้าวเข้าสหัศวรรษใหม่ เราจะ

เห็นว่าการทูตนั้นมีการเปลี่ยนแปลง เราได้ก้าวมาสู่ยุคของไอที ยุคของเทคโนโลยี ยุคของนิว มีเดีย(New Media) และเป็นยุคของโลกาภิวัฒน์ ซึ่งข้อมูลข่าวสารส่งข้ามระหว่างประเทศได้อย่างรวดเร็ว เราไม่จำเป็นต้องใช้โทรเลขแล้ว เรามีอินเตอร์เน็ต เรามีโซเชียล เน็ตเวิร์ค(Social Network) เพราะฉะนั้น การทูตไม่ได้จำกัดแค่ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลกับรัฐบาลเท่านั้น แต่รัฐบาล เช่น รัฐบาลจีนสามารถส่งสารไปยังประชาชนของประเทศเป้าหมายได้โดยตรง ในขณะเดียวกันประชาชนของประเทศเป้าหมายเองก็สามารถมีปฏิสัมพันธ์กับรัฐบาลจีนโดยตรงได้เช่นเดียวกัน

มันจะมีผลมากๆ เลยเพราะถือว่าเป็นการทูตแบบครบมิติมากขึ้น ไม่ได้เป็นแค่การสื่อสารแบบบนลงล่างอย่างเดียว หรือว่าต้องผ่านรัฐบาลเอไปรัฐบาลบี แล้วรัฐบาลบีจึงส่งสารไปยังประชาชนของตัวเอง แต่มันเป็นการสื่อสารให้กับประชาชนของประเทศเป้าหมายให้เข้าใจหรือเป็นการสร้างภาพลักษณ์ การมีปฏิสัมพันธ์กับไทย เช่น การมีสถาบันขงจื่อ มีการใช้การทูตหมีแพนด้า การให้ทุนการศึกษาของรัฐบาลจีนหรือแม้แต่ตัวซีอาร์ไอเอง ก็ถือเป็นสื่อที่สำคัญมากๆ แล้วแสดงบทบาทเด่นในการสร้างภาพลักษณ์จีนผ่านสื่อเช่นเดียวกัน

นโยบายการทูตสาธารณะของจีนในปีที่ผ่านมาที่สื่อสารไปยังระดับประชาคมโลก สะท้อนภาพอะไรได้บ้าง

- ประการแรกเลย จีนมีข้อจำกัดเล็กน้อยเนื่องจากเปิดประเทศมาได้ไม่นาน และความคิดหลักของโลกที่มอง

จีน ส่วนใหญ่มองผ่านจากสายตาชาวตะวันตกซึ่งบางทีอาจมีอคติกับจีนเป็นทุนเดิม เพราะฉะนั้นถือเป็นงานหนักของรัฐบาลจีน ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาเป็นช่วงเร่งสร้างภาพลักษณ์ซึ่งเป้าหมายหลักของจีนคือการสร้างภาพลักษณ์และความเข้าใจให้ประชาคมโลกเข้าใจในสิ่งที่จีนเป็นจริงๆ ซึ่งตรงจุดนี้เองเลยจำเป็นต้องใช้หลายๆ เครื่องมือช่วยในการสื่อสาร เพราะฉะนั้นในช่วงปีสองปีที่ผ่านมา เราจะเห็นการเยือนของประธานาธิบดีหู จิ่นเทาไปเยือนสหรัฐอเมริกาก็จะไปเช่าพื้นที่ในการสื่อสารประชาสัมพันธ์ เช่น การเช่าจอแอลซีดีในย่านไทมส์ สแควร์ของนิวยอร์ค เพื่อที่จะสื่อสารถึงประชาชนชาวสหรัฐฯได้เห็นด้วย ไม่ใช่แค่การไปเยือนและพบปะกันในระดับผู้นำเท่านั้น แต่มีการส่งสารไปยังประชาชนด้วย สร้างความใกล้ชิดของจีนสู่ประชาชนสหรัฐฯมากขึ้น หรือสำหรับของไทยเอง ก็มีหลายๆ ระดับตั้งแต่ระดับราชวงศ์ เช่น สมเด็จพระเทพรัตน์ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ ก็ทรงมีสายสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นกับจีน หรือว่าในระดับรัฐบาลไปจนถึงระดับประชาชนก็มีทุกๆ ระดับ แต่ละประเทศก็จะมีการใช้เครื่องมือใในด้านการทูตสาธารณะก็จะแตกต่างกัน จุดเด่นของจีนคือ จีนมีประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมอันยาวนาน

อีกสิ่งหนึ่งจะเห็นได้จากการที่ประเทศจีนพยายามสร้างความเป็นหนึ่งเดียวกันของชาวจีนไม่ว่าจะอยู่ที่ใดในโลกด้วย นี่ก็ถือเป็นเครื่องมือสื่อสารหนึ่งใช่ไหม

- ใช่ครับ ซึ่งสองสภาในปีนี้ก็มีการเน้นบทบาทของชาวจีนโพ้นทะเลมากขึ้นในการกระชับความสัมพันธ์

ลักษณะ People to People Diplomacy หรือการทูตระหว่างประชาชนด้วยกันเอง ซึ่งก็มีหลายๆประเทศที่มีการทำในลักษณะเดียวกัน เช่น การใช้บรรษัทข้ามชาติ และพอมีนโยบาลว่า จีนไม่ได้เน้นการส่งออกแต่จะเน้นการลงทุนระหว่างประเทศ เพราะฉะนั้นจีนสามารถใช้บรรษัทข้ามชาติของจีนเองเป็นทูตในการสื่อสารเชิงธุรกิจ ส่วนในทางสถาบันการศึกษาหรือภาคประชาชน จีนเองก็ยังมีสถาบันขงจื่อที่เน้นในการสอนภาษาจีนหรือว่าการทูตที่มีลักษณะพิเศษของจีนคือการใช้หมีแพนด้าเป็นสัญลักษณ์ทางการทูต หรือการให้ทุนการศึกษาต่างๆ ซึ่งค่อนข้างจะเอื้อเฝื้อเผื่อแผ่และมีหลายทุนมาก

1 2
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
ตอบคำถามออนไลน์
ทบทวนรายการน่าสนใจ
ภาพยอดฮิต
เว็บไซต์ึเพื่อนซีอาร์ไอ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Play Stop
© China Radio International.CRI. All Rights Reserved.
16A Shijingshan Road, Beijing, China. 100040