จีนปริทรรศน์: ชะตากรรมเดียวกันของวงการหนังสือประเทศโลกที่ 2 ในการก้าวสู่สากล
  2012-09-19 16:43:55  cri

อุปสรรคต่อมาคือ "การเลือกเรื่อง" สำนักพิมพ์ต่างประเทศเองก็มีความรู้ไม่เพียงพอว่าจะเลือกหนังสือเล่มไหนไปแปลเป็นภาษาอังกฤษหรืออื่นๆ

จากสถิติรายงานประจำปีของวงการวรรณกรรมจีนระบุว่า เมื่อ 2011 ที่ผ่านมามีการจัดพิมพ์นวนิยายออกมาทั้งหมด 4,000 เล่มจากทุกสำนักพิมพ์ทั้งของรัฐบาลและเอกชน

ด้วยจำนวนที่มากเช่นนี้ จึงเป็นเรื่องยากของสำนักพิมพ์ที่จะลุยอ่านให้ครบทั้งหมด ดังนั้นชื่อเสียงของคนเขียน จำนวนรางวัลที่ได้รับ หรือความโด่งดังของหนังสือ เช่น ได้รับการถ่ายทอดเป็นภาพยนตร์ ยิ่งถ้าเป็นฝีมือกำกับจากผู้กำกับที่มีชื่อเสียงระดับโลกอยู่แล้วอย่าง "จาง อี้โหมว" ผลงานหนังสือเล่มนั้นก็จะถูกหยอบเลือกไปแปลเป็นอันดับต้น

อย่างหนังสือเรื่อง "รักใต้ต้นซานจา(The Love of the Hawthorn Tree)" หลังจากถูกนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์เมื่อปี 2010 ที่ผ่านมา ก็ถูกซื้อลิขสิทธิ์จากกว่า 17 ประเทศนำไปแปลเป็นภาษาของตน

สำนักพิมพ์วรรณกรรมประชาชน ซึ่งก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 1951 ซึ่งเป็นผู้ขายลิขสิทธิ์งานนวนิยายภาษาจีนให้ต่างประเทศได้มากที่สุก โดยเฉลี่ยประมาณ 20 เล่มต่อปีเผยว่า "ส่วนใหญ่งานที่ขายได้ก็ยังวนๆ อยู่กับเพียงแต่นักเขียนที่มีชื่อเสียงในต่างประเทศอยู่แล้ว อาทิ หยู หวา, โม่ เหยียน, หวัง อันยี่ และ อา ไหล เป็นต้น

ส่วนนักเขียนใหม่ๆ นั้น ยังต้องรอคอยโอกาสและเกียรติภูมิเสริมแต่งจากรางวัลวรรณกรรมต่างๆ เสียก่อน

อุปสรรคอีกเรื่อง จะว่าเป็นสิ่งกีดขวางซะทีเดียวก็ไม่เชิงนัก เพราะเป็นเรื่องของทัศคติที่ออกจะดูคับแคบไปสักหน่อย

นั่นก็คือ ยังมีคนจากโลกตะวันตกบางส่วนยังคิดว่า "จีนไม่สามารถสร้างวรรณกรรมที่ทรงคุณค่าและเป็นอมตะได้ เพราะขาดซึ่งอิสรเสรีภาพทางความคิด" ด้วยถูกกดขี่อยู่ในระบอบคอมมิวนิสต์

การคิดเช่นนี้ ถือได้ว่า "ล้าหลัง" ยิ่งกว่า และมีหัวใจที่คับแคบ เป็นแนวคิดเก่าที่ตกค้างมาจากยุคสงครามเย็น คลั่งความเป็นตัวตนของตนเอง และเหยียดหยามผู้อื่นอย่างปิดหูปิดตาว่าโลกนี้ภิวัติปรับเปลี่ยนไปแล้ว

คนเหล่านี้กล่าวว่ายอมรับเพียงวรรณกรรม 4 คลาสสิกของจีนเท่านั้น นอกจาก "ความฝันในหอแดง" "ไซอิ๋ว" "สามก๊ก" และ "ซ้องกั๋ง" แล้ว ไม่มีวรรณกรรมอื่นใดก้าวขึ้นมาเทียบชั้นได้

และตัวแปรสุดท้ายที่ดูเหมือนไม่เกี่ยวข้องกันนัก แต่ก็มีความสำคัญอย่างยิ่ง ทั้งยังโยงไปถึงการยับในเวทีโลกด้วย นั่นก็คือ ในปีหนึ่งวรรณกรรมที่พิมพ์เป็นภาษาอังกฤษ สเปน ฝรั่งเศส เยอรมันจากทั่วโลกมีจำนวนมหาศาล การที่วรรณกรรมจากประเทศโลกที่ 2 จะไปเบียดแทรกย่อมต้องการความโดดเด่นอย่างเอกอุเท่านั้น

ในสหรัฐอเมริกานั้น มีวรรณกรรมต่างประเทศถูกแปลและจัดจำหน่ายเพียงร้อยละ 3 เท่านั้น ดังนั้นวรรณกรรมร่วมสมัยของจีนจึงมีที่ยืนอยู่ในสนามนี้เพียงเศษเสี้ยว แม้กระทั่งในประเทศเยอรมนี ซึ่งถือได้ว่าให้การสนับสนุนการแปลหนังสือต่างระเทศจำนวนมาก ก็มีสัดส่วนจากประเทศจีนไม่มาก

ดังนั้นสิ่งที่จีนทำได้มากที่สุดคือ การขยายอิทธิพลทางวัฒนธรรมของตนในโลกให้มากขึ้น เพื่อให้เกิดความสนใจใคร่รู้ รวมถึงการจัดตั้งรางวัลวรรณกรรมระสากลขึ้นเอง เพื่อสร้างชื่อเสียงให้เป็นที่รับรู้ และการร่วมมือกับประเทศต่างๆ โดยการจัดโครงการแลกเปลี่ยนการจัดพิมพ์วรรณกรรม เช่นที่ริเริ่มจัดพิมพ์วรรณกรรมเยาวชนร่วมกับประเทสวีเดน

หนทางพิสูจน์ม้าฉันใด วรรณกรรมร่วมสมัยของจีนเองก็เช่นกัน ย่อมต้องอาศัยความอดทนและระยะเวลาในการเข้าไปมีส่วนแบ่งบนเวทีโลกที่มากขึ้น

พัลลภ สามสี


1 2
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
ตอบคำถามออนไลน์
ทบทวนรายการน่าสนใจ
ภาพยอดฮิต
เว็บไซต์ึเพื่อนซีอาร์ไอ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Play Stop
© China Radio International.CRI. All Rights Reserved.
16A Shijingshan Road, Beijing, China. 100040