จีนปริทรรศน์: ชะตากรรมเดียวกันของวงการหนังสือประเทศโลกที่ 2 ในการก้าวสู่สากล
  2012-09-19 16:43:55  cri

มีประเด็นสำคัญหนึ่งเกิดขึ้นในช่วงงานปักกิ่งบุ๊กแฟร์ หรือ Beijing International Book Fair ครั้งที่ 19 ซึ่งเพิ่งสิ้นสุดลงไปหมาดๆ ระหว่างวันที่ 29 สิงหาคม – วันที่ 2 กันยายน นั่นก็คือประเด็นเรื่องความสำเร็จของการซื้อขายลิขสิทธิ์หนังสือจีน โดยเฉพาะการผลักดันให้หนังสือจีนมีโอกาสถูกแปลไปสู่ภาษาต่างประเทศให้มากขึ้นทุกๆ ปี

ตั้งแต่จัดงานมหกรรมหนังสือนานาชาติขึ้นมาครั้งแรกเมื่อ 20 กว่าปีก่อนเป็นต้นมา ก็มีการใช้คำขวัญประจำงานเดิมมาโดยตลอดว่า "นำเข้าหนังสือดีจากทั่วโลก และแนะนำหนังสือจีนสู่สากล" แต่ละปีมีรายงานตัวเลขยอดซื้อขายลิทสิทธิ์และการทำสัญญาต่างๆ ระหว่างงาน ซึ่งแม้จะขยับขึ้นไม่เคยลด แต่โดยรวมแล้วก็ยังไม่ค่อยเป็นที่น่าพอใจนักของสำนักพิมพ์ต่างๆ รวมทั้งผู้จัดงานเองด้วย ซึ่งทั้งนี้ก็เกิดสาเหตุหลายประการด้วยกัน

แรกสุดก็คือ "กำแพงภาษา" ซึ่งมีหลายด่านด้วยกัน ตั้งแต่เจ้าหน้าที่พนักงานของแต่ละสำนักพิมพ์ ซึ่งไม่สามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้ และถึงได้ก็ไม่ดีพอที่จะคุยลึกในภาษาแบบธุรกิจ ซึ่งจะหวังรอพึ่งแต่เอเจนซีหรือสำนักงานดูแลช่วยจัดซื้อลิขสิทธิ์ก็จะเป็นการเสียเวลาและพลาดโอกาสแห่งความสำเร็จที่มีเพียง 5 วันสั้นๆ นี้เท่านั้น เพราะไม่ต้องเสียค่าเหนื่อยหรือค่าน้ำให้กับบริษัทที่เข้ามาช่วยติดต่อประสานงาน

แต่เรื่องนี้ก็มีการแก้ไขมาเป็นลำดับ ซึ่งเมื่อ 3 ปีก่อน ทางหน่วยงานควบคุมเรื่องลิขสิทธิ์ของประเทศจีนถูกเชิญให้เข้ามาร่วมงาน และจัดส่งเจ้าหน้าที่มาประจำบูธจำนวนมาก เพื่อช่วยประสานการซื้อขายลิขสิทธิ์ โดยไม่ได้เรียกร้องคต่าตอบแทนใดๆ อีกทั้งยังช่วยแนะนำสำนักพิมพ์จากต่างประเทศให้ติดต่อไปยังสำนักพิมพ์ที่ถูกต้อง เช่น หากสำนักพิมพ์จากประเทศไทยต้องการที่จัดนำเสนอหนังสือของตัวเองให้สำนักพิมพ์ของจีน จะต้องไปยังสำนักพิมพ์มณฑลหยุนหนาน เพราะสำนักพิมพ์แห่งนี้ได้รับมอบหมายจากรัฐบาลจีนในการจัดพิมพ์ต้นฉบับหนังสือของประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นอกจากนี้ยังให้คำแนะนำเกี่ยวกับการซื้อลิขสิทธิ์หนังสือจีน รวมถึงขอรับทุนสนับสนุนจากรัฐบาลจีนในการจัดพิมพ์อีกด้วย

หลังมีบริการนี้เกิดขึ้น ตัวเลขการซื้อขายลิขสิทธิ์ก็เพิ่มขึ้นอย่างสูง เพราะมีคนที่รู้เรื่องลิขสิทธิ์จริง และสื่อสารภาษาอังกฤษได้อย่างคล่องแคล่วมาคอยช่วยเหลือ

แต่นี่ก็ยังเป็นเพียงการเดินเลี่ยงออกมาข้างกำแพงเท่านั้น เพราะเอาเข้าจริง เมื่อสำนักพิมพ์ต่างประเทศ ต้องการติดต่อโดยตรงกับสำนักพิมพ์ ก็มาสะดุดกับอุปสรรคเดิมๆ อีก เพราะพนักงานสำนักพิมพ์บางแห่งของจีนสื่อสารไม่ได้

ดังนั้นในปีนี้ สำนักพิม์หลายแห่งจึงมีการเตรียมตัวเพิ่มมากขึ้น แม้จะไม่ได้เปลี่ยนตัวพนักงาน แต่ได้เปลี่ยนรูปแบบการตั้งรับ โดยมีการจ้างบริษัทหรืออะไรก็ตามแต่ในการจัดทำรายละเอียดและเรื่องย่อของหนังสือแต่ละเล่มเป็นภาษาอังกฤษไว้รอท่า และบางแห่งถึงกับลงทุนจ้างล่ามที่มีความชำนาญการมาช่วยงานเฉพาะในช่วงนี้ด้วย จึงนับเป็นก้าวสำคัญที่ทำให้งานหนังสือระดับนานาชาติที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในเอเชียมีความอินเตอร์และประสบความสำเร็จมากยิ่งขึ้น

อุปสรรคในการ "แนะนำหนังสือจีนสู่สากล" เรื่องภาษายังมีอีกเรื่องซึ่งนับว่าเป็นปัญหาใหญ่ที่สุด นั่นก็คือ "การแปล"

ผู้ที่คร่ำหวอดอยู่ในวงการหนังสือของจีนระบุว่า "การแปล" เป็นเรื่องสำคัญยิ่ง เพราะผู้แปลบางคนขาดความรู้ในด้านวัฒนธรรมของจีนอย่างลึกซึ้ง ทำให้ไม่สามารถสื่อสารความหมายที่ซ่อนอยู่ในภาษาทั้งหมดออกมาได้ คือสื่อความได้ แต่ขาดอรรถรสแบบภาษาต้นฉบับ และผู้แปลบางคน โดยเฉพาะคนจีน เมื่อแปลเป็นภาษาต่างประเทศแล้ว ขาดความรุ่มรวยทางภาษา เพราะไม่ใช่เจ้าของภาษาจริงๆ ดังนั้นทางที่ดีที่สุดคือต้องส่งเสริมการใช้ภาษาจีนของชาวต่างชาติให้มากขึ้น เพราะผู้ที่เป็นเจ้าของภาษาเองย่อมสามารถเลือกสรรถ้อยคำมาใช้ให้ตรงความหมายมากกกว่า และผู้ที่มีความเชี่ยญชาญทั้งสองภาษาก็ย่อมสามารถถ่ายถอดอรรถรสทางวรรณศิลป์ออกมาได้อย่างลึกซึ้งมากกว่า จึงมีการตั้งรางวัลพิเศษด้านการแปลหนังสือจีนขึ้นมา เพื่อส่งเสริม สนับ สนุน และยกย่องผู้แปลขึ้นเมื่อปี 2005 ถึงปัจจุบันได้มอบรางวัลไปแล้ว 27 ครั้ง โดยล่าสุดตกเป็นของนายโฮวาร์ด โกล์ดแบลตต์ ชาวอเมริกันผู้แปลเรื่อง "หลัง ถู่ เถิง(หมาป่า)" เป็นภาษาอังกฤษในชื่อ Wolf Totem

1 2
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
ตอบคำถามออนไลน์
ทบทวนรายการน่าสนใจ
ภาพยอดฮิต
เว็บไซต์ึเพื่อนซีอาร์ไอ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Play Stop
© China Radio International.CRI. All Rights Reserved.
16A Shijingshan Road, Beijing, China. 100040