ออมเงินก่อนแก่ แต่ต้องออมเงินเท่าไหร่จึงไม่ต้องห่วงปัญหาชราภาพ นอกจากการออมเงินแล้ว ยังมีวิธีอื่นที่แก้ปัญหาชราภาพไหมเป็นคำถามที่สังคมจีนกำลังเผชิญหน้า
ปัญหาความชราภาพกลายเป็นปัญหาที่นับวันรุนแรงขึ้นในสังคมจีน ตามการสำรวจ จนถึงวันที่ 1 พฤศจิกายน ปี 2010 ที่ผ่านมา จีนมีประชากร 1,371 ล้านคน ในจำนวนดังกล่าว ประชากรอายุ 0-14 ขวบเป็น 16.6% ประชากรอายุ 15-59 ปีเป็น 70.14% ประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปเป็น 13.26% ส่วนประชากรอายุ 65 ปีขึ้นไปเป็น 8.87% คาดว่าเมื่อถึงปี 2015 ประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปจะเพิ่มขึ้นจาก 178 ล้านคนเป็น 221 ล้านคน
ขณะเดียวกัน จีนยังต้องเผชิญกับสภาพที่อายุมากแล้วยังไม่รวย หากค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อเดือนคือ 2,000 หยวน เงินบำนาญหลังเกษียณต่อปีต้องการ 1 แสนกว่าหยวน เมื่อคิดอัตราเงินเฟ้อด้วย สำหรับคนที่เกิดหลังทศวรรษ 1980 แล้ว ช่วงเวลา 15 ปีหลังเกษียณต้องการเงินบำนาญ 2.23 ล้านหยวน
ตามนโยบายการเกษียณอายุของจีน อายุเกษียณของลูกจ้างชายคือ 60 ปี ส่วนอายุเกษียณของลูกจ้างหญิงคือ 50-55 ปี ตามการสำรวจสำมะโนประชากร ปี 2010 อายุขัยเฉลี่ยของคนจีนอยู่ที่ประมาณ 75 ปี ตามสถิตินี้ หลังเกษียณอายุแล้ว คนจีนต้องดำรงชีวิตอยู่โดยไม่มีเงินเดือนเป็นเวลาประมาณ 15 ปี แล้วก่อนเกษียณอายุ เราต้องออมเงินเท่าไหร่จึงดำรงชีวิตอย่างมีความสุขในช่วงเวลาหลังเกษียณอายุ
สถิติพบว่า ชาวจีนในเมือง และชนบทมีค่าใช้จ่ายจ่ายเงิน 13,471 หยวนต่อปีโดยเฉลี่ย สมมุติว่าแต่ละเดือนจ่ายเงิน 2,000 หยวน และคิดอัตราเงินเฟ้อเป็น 5% พอ30 ปีให้หลัง แต่ละเดือนต้องใช้จ่ายต่อเดือนประมาณ 8,644 หยวน เมื่อคิดตามมาตรฐานนี้แล้ว ชีวิตหลังเกษียณอายุต้องการเงินบำนาญ 1.037 แสนหยวนต่อปี คิดอัตราเงินเฟ้อด้วย ช่วง 15 ปีหลังเกษียณอายุต้องการเงินบำนาญ 2.23 ล้านหยวนโดยรวม ซึ่งหมายความว่า คนที่เกิดหลังทศวรรษ 1980 ซึ่งขณะนี้อายุ 30 ปีต้องออมเงิน 2.23 ล้านหยวนจึงจะสามารถดำรงชีวิตได้ในระดับพื้นฐาน
แล้วหากขณะนี้คุณมีค่าใช้จ่ายเงิน 3,000 หยวนต่อเดือน ต้องออมเงิน 3.36 ล้านหยวน จึงดำรงชีวิตหลังเกษียณอายุอย่างมีความสุขได้
เจ้าหน้าที่บริการผลิตภัณฑ์ทางการเงินเตือนว่า ควรวางแผนชีวิตหลังเกษียณอายุล่วงหน้า ลงทุนในระบบกองทุน หรือประกันภัยอย่างเหมาะสม รักษา และเพิ่มมูลค่าทรัพย์สินของตน เพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงของอัตราเงินเฟ้อ
ขณะนี้ กิจการประกันสังคมของจีนก้าวหน้าขึ้นเรื่อยๆ ระบบชราภาพของจีนก็ปรับปรุงสมบูรณ์ขึ้นด้วย แต่สิ่งที่มองข้ามไม่ได้คือ เงินบำนาญของจีนไม่มากพอ ฉะนั้น สำหรับคนที่เกิดหลังทศวรรษ 1980 ซึ่งกำลังเป็นแกนนำสำคัญในสังคมมีความกดดันสูงในการดำรงชีวิตหลังเกษียณอายุ