ตามสถิติระบุว่า ปัจจุบัน ประเทศจีนมีจำนวนผู้สูงอายุที่มีอายุมากกว่า 60 ปีคิดเป็น 13.3% ของจำนวนประชากรจีนทั้งประเทศแสดงให้เห็นว่า จีนกำลังก้าวไปสู่สังคมผู้สูงอายุ ซึ่งตามเมืองใหญ่และขนาดกลางมีครอบครัวที่มีแต่คนชราอาศัยแต่ไม่มีลูกหลานอยู่ด้วยสูงถึง 70% การสงเคราะห์ช่วยเหลือคนชรานับวันกลายเป็นอีกหนึ่งปัญหาสังคมที่ต้องแก้ไข
ตามปกติ รูปแบบการสงเคราะห์ดูแลคนชราจะมีด้วยกันสามอย่าง หนึ่ง ลูกหลานเลี้ยงดู สอง การใช้เงินบำเหน็จบำนาญ สาม การใช้เงินประกันสังคม แต่ในปีหลังๆ มานี้ รูปแบบสงเคราะห์คนชราแบบใหม่ที่กำเนิดจากประเทศตะวันตก อย่างการใช้บ้านสงเคราะห์คนชราก็เริ่มเป็นกระแสใหม่ที่ได้รับความสนใจ
การใช้ "บ้าน"สงเคราะห์คนชราก็คือนำบ้านที่ซื้อตอนยังหนุ่มสาว เมื่ออายุมากแล้ว ก็เลือกที่จะนำบ้านนั้นไปจำนองไว้กับธนาคารหรือบริษัทประกันภัย ให้ธนาคารหรือบริษัทประกันภัยจ่ายค่าสงเคราะห์ให้กับตน ซึ่งผู้สูงอายุก็จะได้รับเงินสงเคราะห์เป็นงวดหรือได้อยู่อาศัยในอพาร์ทเมนท์สำหรับคนชราโดยมีธนาคารหรือบริษัทประกันภัยเป็นผู้จ่ายค่าเข้ารับบริการ
รูปแบบดังกล่าวนี้ได้ใช้กันในหลายประเทศ อย่างเช่น แคนาดา คนชราที่มีอายุมากกว่า 62 ปีจำนองบ้านที่ตนอาศัยอยู่ไว้กับธนาคาร และได้รับเงินกู้จำนวน 15,000-300,000 เหรียญแคนาดา มีแต่ไม่ย้ายบ้าน ไม่ขายบ้าน ไม่เปลี่ยนชื่อเจ้าของบ้าน คนชราจะอาศัยต่อจนกระทั่งถึงแก่กรรม ลูกหลานคืนเงินกู้ขณะจัดการเรื่องราวเกี่ยวกับบ้านพัก
ที่ประเทศอังกฤษ มีคนชราจำนวนไม่น้อยเลือกสเปน แอฟริกาใต้เป็นสถานที่อาศัยในช่วงบั้นปลายชีวิตของตน เพราะว่าประเทศเหล่านี้มีอัตราค่าครองชีพค่อนข้างต่ำ คนชราในอังกฤษหลังจากขายบ้านของตนในอังกฤษแล้ว จะย้ายไปอาศัยที่ประเทศที่มีราคาสินค้าค่อนข้างถูก ซึ่งมีชีวิตที่มีคุณภาพดีกว่าในประเทศอังกฤษ
ในสิงคโปร์ คนชราที่มีอายุมากกว่า 60 ปีจำนองบ้านของตนไว้กับองค์กรที่มีอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของรัฐบาล องค์กรดังกล่าวนี้จะจ่ายเงินบำเหน็จเป็นงวดเดียวหรือแบ่งจ่ายเป็นระยะๆ แก่คนชรา และเมื่อคนชราถึงแก่กรรมแล้วองค์กรดังกล่าวจึงจะมีสิทธิ์จัดการบ้านของคนชรา ส่วนที่เหลือเกินจากราคาบ้านหลังหักเงินบำเหน็จแล้วจะมอบให้ผู้สืบทอด ซึ่งรูปแบบนี้ถือว่ามีความเสี่ยงค่อนข้างต่ำ
(Yim/zheng)