อย่างที่เขียนไปเมื่อตอนที่แล้ว เป็นเรื่องราวของวัด ปี้หยุน วัดหนึ่งในเขาเซียงซาน ชานกรุงปักกิ่ง ว่าเป็นวัดที่สร้างโดย ฮ่องเต้ เฉียนหลง ของราชวงศ์ชิง หรือแมนจู เมื่อกว่า ๓๐๐ ปีที่ผ่านมา แต่พอเปลี่ยนระบอบการปกครองมาเป็นสาธารณรัฐ โดย ดร ซุน ยัด เซ็น ก็สามารถ เหตุผลสำคัญก็คือ ภริยาของท่าน ซุน ยัด เซ็ฯ มีความศรัทธาในวัดนี้มาก และเมื่อ ดร ซุน ยัด เซ็ฯ ถึงแก่อสัญญกรรม ที่กรุงปักกิ่ง ในปี ตศ ๑๙๒๕ ก็ได้มีการนำ เสื้อผ้าชุดสุดท้ายที่สวมใส่ในเวลาที่ถึงแก่อสัญกรรม มาบรรจุไว้ที่วัดแห่งนี้
และสถานที่ในการบรรจุก็ไม่ใช่ การสร้างขึ้นมาใหม่ แต่เป็นสถูปเจดีย์ที่เป็นของเก่าที่ ฮ่องเต้เฉียนหลง ทรงสร้างไว้ นี่เองจึงเป็นที่มาของหัวเรื่องในวันนี้ว่า สองระบอบในวัดเดียว ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์และระบอบสาธารณรัฐ เป็นอีกมุมหนึ่งที่น่าสนใจของวัดปี้หยุนแห่งนี้
ส่วนหลายนิกาย เป็นเรื่องของพระพุทธศาสนา ที่เคยกล่าวไปเมื่อตอนที่แล้วว่า ฮ่องเต้ เฉียนหลง แผ่อาณาจชิงไปไกลถึงธิเบต มองโกล กลับมาก็ได้นำเอารูปแบบของสถาปัตยกรรม สิ่งก่อสร้างที่เกี่ยวข้องกับ พระพุทธศาสนา ในดินแดนเหล่านั้น มาสร้างเป็น สถูป เจดีย์ อยู่บนเนินเขาได้อย่างลงตัว ซึ่งจะสังเกตได้จากทั้ง เจดีย์ต่างๆ และภาพจำหลักนูนต่ำ ที่เมื่อพิจารณาแล้ว เราจะรู้ได้ทันทีว่า ภาพจำหลัก พุทธ แบบไหน มีศิลปะของ มองโกล แบบไหนเป็นธิเบต
น่าเสียดายสำหรับ หอประดิษฐาน พระอรหันต์ ๕๐๐ องค์ ตามความเชื่อของ พุทธศาสนา นิกายมหายาน ที่สวยงามมาก แต่เจ้าหน้าที่ไม่อนุญาตให้ถ่ายรูปภายใน แต่เมื่อได้เข้าชม เห็นท่วงท่า และปางมือต่างๆแล้ว บอกได้คำเดียวเลยครับ พื้นฐานของการ ออกกำลังที่เราเรียกโดยทั่วไปว่า ไทเก๊ก ไม่ผิดครับ ถ้าอยากรู้ว่าเป็นอย่างไร ต้องมาดูกันเองนะครับ และในหอแห่งนี้ เหมาะมากครับสำหรับการมาเดินเพื่อฝึกสมาธิ ในการพิจารณารูปลักษณ์ และปางต่างๆ ของพระอรหันต์ทั้ง ๕๐๐ องค์ บอกไม่ถูกครับ แต่รู้ว่า เมื่อเข้าไปเดินรับรู้ทันที ถึงความสงบ สบาย
และปิดท้ายด้วยภาพต้นไม้ภายในวัด ปี้หยุน กันนิดนะครับ ต้นไม้อายุหลายร้อยปี ที่มีประวัติความเป็นมา พร้อมกับวัด จากสภาพ ร่วงโรยไปตามวัย แต่ที่นี่ ไม่มีการตัด ไม่มีการโค่นทิ้ง แต่ดูแล รักษา ทั้งการ ปกป้อง แก่นแกนกลางไว้ เพื่อให้ ต้นไม้เหล่านี้ ได้มีโอกาสที่จะฟื้นลมหายใจและเติบโตได้ต่อไป มีทั้งการใช้ เหล็ก เพื่อมิให้ต้อง ฉีกขาด หักโค่น เมื่อเวลาต้อง พายุ ลงแรง หรือ หิมะ ตกทับถม ดูแล้วก็ อือ คิดถึง ต้นไม้ใหญ่ ในโบราณสถานที่เมืองไทยนะครับ โดยเฉพาะในวัดวาอารามต่างๆ จะสร้างกุฏิ ศาลา หรือว่า โบสถ์ ต้นไม้ใหญ่ในวัดก็จะหายไป แต่มีสิ่งก่อสร้างใหม่ๆมาแทน สงสาร คุณปู้ ต้นไม้ กันไหมครับ
สมภพ จันทร์ฟัก