ช่วงระยะหลังๆ นี้ ประเทศที่มีข้อพิพาทกับจีนในทะเลจีนใต้พยายามก่อเรื่องขึ้นอย่างไม่ขาดสาย อาทิ ฟิลิปปินส์จับชาวประมงจีนในหมู่เกาะหนานซาโดยไม่มีเหตุผล เวียดนามส่งเรือจำนวนมาก รวมถึงเรือติดกำลังอาวุธก่อกวนวิสาหกิจจีนดำเนินการสำรวจขุดเจาะน้ำมันและแก๊สธรรมชาติบริเวณน่านน้ำหมู่เกาะซีซา และปล่อยให้ชาวเวียดนามก่อเหตุจลาจลต่อวิสาหกิจทุนต่างชาติ สองประเทศนี้พยายามผลักดันให้อาเซียนผ่านมติเกี่ยวกับปัญหาทะเลจีนใต้ โดยแสดงตนเป็นปฏิปักษ์กับจีนอย่างต่อเนื่อง หมายจะให้อาเซียนร่วมการขัดแย้งเกี่ยวกับทะเลจีนใต้
อาเซียนก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 1967 ตั้งแต่นั้นมา ก็พยายามรักษาสันติภาพและเสถียรภาพส่วนภูมิภาค และแสวงหาการพัฒนาเศรษฐกิจ หลังจากเขตการค้าเสรีอาเซียนจัดตั้งขึ้นเมื่อปี 1992 การพัฒนาทางเศรษฐกิจของอาเซียนก็ได้รับความสนใจมากขึ้นจากประชาคมโลก เมื่อปี 2009 เขตการค้าเสรีระหว่างอาเซียนกับจีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อินเดียตลอดจนออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ 5 แห่งเปิดขึ้นพร้อมกัน ทำให้อาเซียนกลายเป็นศูนย์กลางความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียตะวันออก ทว่า ฟิลิปปินส์และเวียดนามกลับไม่คำนึงถึงผลประโยชน์การพัฒนาส่วนภูมิภาค ก่อเรื่องขึ้นที่ทะเลจีนใต้โดยถือ "ผลประโยชน์แห่งชาติ" เป็นข้ออ้าง และหมายจะดึงอาเซียนให้มาเป็นพวกร่วมกันต่อต้านจีน เพื่อให้สถานการณ์ทะเลจีนใต้ตึงเครียดยิ่งขึ้น และเพิ่มความเสี่ยงต่อความไม่มั่นคงส่วนภูมิภาค
การกระทำของฟิลิปปินส์และเวียดนามไม่เพียงแต่สวนทางกับกระบวนการพัฒนาของอาเซียน และยังทำลายหลักการพื้นฐานของอาเซียนด้วย อาเซียนเป็นองค์การส่วนภูมิภาคที่ค่อนข้างผ่อนคลาย หลักการ "ปรึกษาหารือเพื่อความเป็นเอกฉันท์" โดยไม่ใช้แรงกดดัน เป็นรูปลักษณ์ตามแบบฉบับของอาเซียน ซึ่งหมายถึงผู้นำอาเซียนจะต้องรับฟังข้อคิดเห็นของผู้เข้าร่วมการตัดสินในระหว่างการปรึกษาหารือ บนพื้นฐานนี้ พิจารณาและผ่านข้อเสนอ และให้ข้อสรุปรวม ถ้าการปรึกษาหารือเต็มคณะไม่สามารถดำเนินไปได้ จะใช้หลักการ "Y-X" หมายถึงประเทศสมาชิกส่วนใหญ่เห็นชอบญัตติที่เกี่ยวข้อง และยอมเข้าร่วมกิจกรรมร่วม ประเทศสมาชิกส่วนน้อยเห็นชอบญัตติแต่ไม่เข้าร่วมกิจกรรมร่วม อาเซียนก็ผ่านมติที่เกี่ยวข้องได้ด้วย เมื่อปี 2012 ฟิลิปปินส์บีบให้อาเซียนออกแถลงการณ์ที่ใช้ถ้อยคำรุนแรงเกี่ยวกับปัญหาทะเลจีนใต้ ทำให้ประเทศอาเซียนบางประเทศไม่พอใจ และการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศของอาเซียนต้องประกาศแถลงการณ์ร่วมครั้งแรกในช่วง 45 ปีที่ผ่านมา สื่อมวลชนสากลจึงมีรายงานว่า "อาเซียนแตกแยก" ทำให้ภาพพจน์ของอาเซียนตกต่ำลงอย่างมาก
ฟิลิปปินส์และเวียดนามมักเน้นว่า การขัดแย้งเกี่ยวกับทะเลจีนใต้ส่งผลกระทบต่อผลประโยชน์ของอาเซียน แต่จีนไม่เคยและเป็นไปไม่ได้ที่จะมีข้อขัดแย้งทางอธิปไตยกับอาเซียน การที่สองประเทศนี้ลากเมียนมาร์ ไทย กัมพูชา ลาว สิงคโปร์และอินโดนีเซียเข้าร่วมความขัดแย้งในทะเลจีนใต้นั้น เป็นเรื่องที่ไร้สาระ ทำให้ประเทศดังกล่าวยากที่จะให้คำตอบโดยตรงต่อข้อเรียกร้องของฟิลิปปินส์และเวียดนาม นอกจากแสดงความสนใจต่อสถานการณ์ความมั่นคงส่วนภูมิภาค
จีนเคารพอธิปไตยของประเทศอาเซียน และเคารพประเทศอาเซียนแก้ไข้ข้อขัดแย้งโดยสันติวิธี แต่ไม่อยากให้บางประเทศดึงตัวอาเซียนมาเป็นพวกด้วยแนวคิดที่ไม่มีเหตุผล และการให้ข้อขัดแย้งระหว่างจีนกับบางประเทศกลายเป็นการขัดแย้งระหว่างจีนกับอาเซียน ก็คงไม่สอดคล้องกับระเบียบสากลด้วย
จีนกับอาเซียนเป็นหุ้นส่วนความร่วมมือทางยุทธศาสตร์ที่สำคัญ การรักษาความมั่นคงส่วนภูมิภาค ส่งเสริมการพัฒนาร่วมกันเป็นความเห็นพ้องต้องกันของจีนกับอาเซียน และก็เป็นทิศทางการพัฒนาของสองฝ่าย ภายใต้ภูมิหลังเช่นนี้ แผนการทำลายความร่วมมือจีน-อาเซียนของฟิลิปปินส์และเวียดนาม จะไม่ได้รับความเห็นชอบจากประเทศอาเซียนอื่น