สำนักข่าวซินหวารายงานว่า วันที่ 14 สิงหาคมที่ผ่านมา มีการสัมมนาระหว่างประเทศเพื่อปฏิบัติตามเจตนารมณ์ "ปฏิญญาว่าด้วยแนวปฏิบัติของภาคีในทะเลจีนใต้" ครั้งที่ 2 ที่เมืองไหโข่ว มณฑลไห่หนานของจีนโดยสถาบันวิจัยทะเลจีนใต้ของจีน มีนักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญและเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับทะเลจีนใต้กว่า 40 คนที่มาจากจีน อินโดนีเซีย เวียดนาม ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย สิงคโปร์ สหรัฐฯ อังกฤษ ออสเตรเลียตลอดจนไต้หวันเข้าร่วม ผู้เข้าร่วมได้อภิปรายประเด็นจะส่งเสริมความร่วมมือทะเลจีนใต้อย่างไรท่ามกลางปัญหาเกี่ยวกับทะเลจีนใต้ที่ร้อนขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ระหว่างการสัมมนาเป็นเวลา 2 วัน บรรดาผู้ร่วมการสัมมนาได้อภิปรายประเด็นต่างๆ เช่น ปัญหา ความท้าทายและการปฏิบัติที่เป็นจริงในการอนุรักษ์ทัพยากรสิ่งมีชีวิตในทะเลจีนใต้ ประสบการณ์และปฏิบัติการที่เป็นจริงในการอนุรักษ์ความหลากหลายของทรัพยากรสิ่งมีชีวิตในทะเล สร้างกลไกความร่วมมือและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมทางทะเล กลไกความร่วมมือเกี่ยวกับการปราบปรามอาชญากรรมทางทะเล สภาวะปัจจุบันกับความยากลำบากในการปฏิบัติตามปฏิญญาฯ ตลอดจนความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับอาเซียนที่เกี่ยวข้องกับปัญหาทะเลจีนใต้
นายอู๋ ซื่อฉุน ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยทะเลจีนใต้ของจีนกล่าวในการสัมมนาว่า ตั้งแต่ปี 2002 จีนกับ 10 ประเทศอาเซียนได้ลงนามใน "ปฏิญญาว่าด้วยแนวปฏิบัติของภาคีในทะเลจีนใต้" ได้แสดงบทบาทสำคัญในการส่งเสริมความร่วมมือทวิภาคี ได้รักษาสันติภาพและความมั่นคงของเขตทะเลจีนใต้ เนื่องจากหลายปีมานี้ปัญหาทะเลจีนใต้ปะทุขึ้นอย่างต่อเนื่องและสถานการณ์ส่วนภูมิภาคมีความสลับซับซ้อนมากยิ่งขึ้น ส่งผลกระทบต่อหลักการความร่วมมือและบรรยากาศความร่วมมือตามปฏิญญาฯ ความร่วมมือในทะเลจีนใต้เผชิญกับการท้าทายที่ไม่เคยมีมาก่อน จำเป็นต้องปฏิบัตตามเจตนารมณ์ในปฏิญญา ทำความเข้าใจร่วมกัน ค่อยๆ ก่อสร้างกลไกความร่วมมือส่วนภูมิภาค
(In/zheng)