เมื่อเร็ว ๆ นี้ นายหวัง อี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจีนซึ่งอยู่ระหว่างการเยือนออสเตรเลีย ได้ย้ำปัญหาทะเลจีนใต้ต้องปฏิบัติตาม " สี่เคารพ "คือ เคารพต่อความจริงทางประวัติศาสตร์ เคารพต่อกฎหมายระหว่างประเทศ เคารพต่อการเจรจาหารือโดยตรงระหว่างประเทศคู่กรณี เคารพความพยายามของจีนและอาเซียนในการร่วมกันพิทักษ์รักษาสันติภาพและความมั่นคงของทะเลจีนใต้ ก่อนหน้านี้ นายหวัง อี้เคยเสนอหลักการแก้ไขปัญหาทะเลจีนใต้หลายครั้งในสถานที่ต่าง ๆ หลักการ " สี่เคารพ " หากมองผิวเผินแล้วจะเห็นว่าไม่ใช่แนวนโยบายใหม่ แต่เมื่อพิจารณาสถานการณ์ปัจจุบันแล้ว จะสามารถเข้าใจถึงจุดยืนและบรรทัดฐานของจีนต่อปัญหาทะเลจีนใต้
เบื้องหลังสำคัญที่ต้องมีการเสนอหลักการ " สี่เคารพ " คือ ความขัดแย้งหมู่เกาะทะเลจีนใต้และข้อพิพาทสิทธิทางทะเลมีแนวโน้มที่จะกลายเป็นปัญหาระหว่างประเทศและเข้าสู่กระบวนการกฎหมาย ฟิลิปปินส์เรียกร้องให้อนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศพิจารณาอธิปไตยเหนือดินแดนของจีน ขณะเดียวกัน ก็ได้ดึงอำนาจต่างประเทศเช่น สหรัฐ ฯ ญี่ปุ่น เป็นต้นมาถ่วงดุลจีน ซึ่งอำนาจดังกล่าวนี้เห็นว่าสามารถได้ประโยชน์จึงเข้ามายุ่งในปัญหาทะเลจีนใต้บ่อยครั้ง เดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ฟิลิปปินส์กับสหรัฐ ถือโอกาสการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ต่างได้ออกมาตรการ " สามขั้นตอน " และทฤษฎี " หยุดการยั่วยุโดยสมัครใจ " โดยหวังจะได้รับการสนับสนุนจากประเทศอาเซียน บังคับกำหนด " จรรยาบรรณทะเลจีนใต้บนพื้นฐานกฎหมายระหว่างประเทศ " เพื่อที่จะทำลายความสัมพันธ์ระหว่างจีนและอาเซียน เพิ่มความกดดันต่อจีน ทั้งนี้ แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า การทำให้ปัญหาทะเลจีนใต้กลายเป็นปัญหาสากลและเข้าสูกระบวนการกฎหมาย กำลังละเมิดอธิปไตยเหนือดินแดนของจีนอยู่
ภายใต้เงื่อนไขเคารพต่อความจริงทางประวัติศาสตร์ ประเทศคู่กรณีจึงจะสามารถดำเนินการเจรจาอย่างมีประสิทธิภาพ จีนและอาเซียนจึงจะสามารถร่วมมือพิทักษ์รักษาสันติภาพและความมั่นคงของทะเลจีนใต้ ดังนั้น ประเทศนอกทะเลจีนใต้ควรคำนึงถึงความสำคัญในการเข้าใจความจริงทางประวัติศาสตร์ เลิกจินตนาการที่ไม่เหมาะ มีการกระทำที่มีประโยชน์ต่อสันติภาพและความมั่นคงของทะเลจีนใต้
In/Zi