งานวิจัยเกี่ยวกับเซลล์ที่ชื่อว่า "Kiss of death"
ระหว่างปฏิบัติงานด้านการวิจัยโรคมะเร็ง ดร.เฉิน เจาเฟยไม่ได้พบหลักฐานที่ยืนยันว่า ยาเคมีใดๆ เคมีบำบัดหรือไฟฟ้าบำบัดสามารถรักษาโรคมะเร็งให้หายอย่างแท้จริง เธอเชื่อว่า การใช้เคมีบำบัดกับผู้ป่วยมะเร็ง ไม่ต่างกับการเล่นการพนัน อัตราที่จะสำเร็จมีเพียงแค่ 1% เท่านั้น เพราะยาที่ใช้ในเคมีบำบัดนั้น ไม่สามารถแยกตัวเซลล์มะเร็งออกจากเซลล์ที่ดี จึงจะกำจัดเซลล์ที่ดีด้วย ดังนั้น ดร.เฉิน เจาเฟยยกเลิกการวิจัยยาเคมี หันไปวิจัยเซลล์อิมมูนชนิดหนึ่งที่มีชื่อว่า "Kiss of death" เมื่อเซลล์ชนิดนี้เจอหน้ากับเซลล์มะเร็ง เซลล์มะเร็งก็รีบแตกสลายและตายสิ้นเชิง
ผลวิจัยสำคัญๆ จากภูมิคุ้มกันวิทยายืนยันแล้วว่า ปัจจุบัน ยังไม่มียาเคมีชนิดใดสามารถเข้าแทนระบบคุ้มกันในร่างกาย และไม่ควรใช้ยาเคมีกระตุ้นระบบคุ้มกัน มิฉะนั้นก็จะเกิดผลข้างเคียงต่างๆ นานา มนุษยชาติจึงต้องอาศัยสารโภชนาการจากอาหารเพื่อกระตุ้นสมรรถภาพของระบบคุ้มกัน
ระบบภูมิคุ้มกันสำคัญอย่างยิ่งต่อร่างกายมนุษย์
ภูมิคุ้มกันวิทยาเป็นสาขาวิทยาศาสตร์ใหม่สาขาหนึ่ง ที่สหรัฐอเมริกา ดร.เฉิน เจาเฟยเป็นหนึ่งในนักวิทยาศาสตร์กลุ่มแรกที่ศึกษาวิจัยภูมิคุ้มกันวิทยา ในอดีต ความเข้าใจต่อการคุ้มกันโรคของมนุษยชาติ จำกัดเพียงระดับที่ว่ายาวัคซีนที่ผลิตขึ้นป้องกันโรคบางชนิดได้ แต่ทุกวันนี้ ภูมิคุ้มกันวิทยากลายเป็นสาขาวิทยาศาสตร์ที่ได้รับความสำคัญระดับสูง
ตัวอย่างเช่น ก่อนทศวรรษ 1960 มนุษยชาติยังไม่รู้จักสมรรถนะของต่อมไทมัส เห็นว่ามันเป็นอวัยวะไร้ประโยชน์ แต่การวิจัยที่ติดตามผู้ร่วมสำรวจจำนวนมากแสดงว่า ผู้คนที่ต่อมไทมัสเสียนั้นป่วยเป็นมะเร็งหมด เพราะอวัยวะคุ้มกันโรคที่สำคัญที่สุดในร่างกายของคนเหล่านี้สูญเสียสมรรถนะการทำงาน
เมื่อก่อน คนส่วนใหญ่เห็นว่าไส้ติ่งไม่มีประโยชน์ ก็ผ่าตัดไส้ติ่งออกเพื่อป้องกันไส้ติ่งอักเสบ แต่คุณคงไม่ทราบว่า ในไส้ติ่งเต็มไปด้วยเซลล์อิมมูน ซึ่งสามารถต้านทานเชื้อไวรัสชนิดต่างๆ ที่เข้าทำร้ายช่องท้องส่วนล่าง หากยังมีบางคนเห็นว่า สามารถใช้วิธีการผ่าตัดอวัยวะบางตัวออกเพื่อป้องกันโรค ขอถามว่า สามารถผ่าตัดหัวใจออกเพื่อป้องกันโรคหัวใจหรือเปล่า จริงๆ แล้ว ถ้าระบบคุ้มกันในร่างกายไม่ทำงาน มนุษย์อยู่รอดได้ไม่เกิน 24 ชั่วโมง
ความเข้าใจผิดต่ออาหารที่มีสารโภชนาการสูง
เมื่อพูดถึงสารโภชนาการ ต่างคนต่างอาจจะมีความเข้าใจต่อสารโภชนาการที่แตกต่างกัน ดร.เฉิน เจาเฟยมีเพื่อนผู้หญิงคนหนึ่ง เพื่อนคนนี้ให้ลูกชายต้องทานไข่ไก่ 2 ฟอง ขาไก่ 2 น่อง และนม 2 แก้วทุกวัน ถ้าวันไหนลูกชายกินไม่ครบ เธอก็กังวลมาก ดร.เฉิน เจาเฟยถามเธอว่าทำไมต้องให้ลูกทานอาหารคาวมากเช่นนี้ เธอตอบว่า สุขภาพลูกชายค่อนข้างอ่อนแอ เพราะเมื่อคนรอบข้างเป็นหวัดสักคน ลูกชายเธอก็คงไม่พ้นต้องเป็นหวัดตาม ดร.เฉิน เจาเฟยอธิบายให้เข้าใจว่า อาหารคาวโดยเฉพาะเนื้อสัตว์เป็นตัวแทนของอาหารที่มีสารโภชนาการสูงไม่ได้ เมื่อมนุษย์รับประทานเนื้อสัตว์เข้าไปมาก ร่างกายก็จะสร้างฮอร์โมนมากขึ้น ส่งผลให้สมรรถนะระบบคุ้มกันลดต่ำลง
เมื่อก่อน บรรดาโรงเรียนประถมของสหรัฐฯ เคยเสนอตารางปีระมิดอาหารให้ผู้ปกครอง ตารางนี้ระบุว่าเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์นมวัวเป็นอาหารสำคัญที่มีสารโภชนาการสูง แต่ปัจจุบัน รัฐบาลสหรัฐฯ สั่งห้ามใช้ตารางปีระมิดอาหารฉบับนี้แล้ว เพราะความผิดพลาดนี้เป็นสาเหตุที่ทำให้จำนวนผู้ป่วยโรคมะเร็งและผู้ป่วยโรคหัวใจเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในสหรัฐฯ ในทุกวันนี้
เกี่ยวกับนมวัวที่คนส่วนใหญ่เชื่อว่าเป็นอาหารที่ดีสำหรับเด็กๆ ดร.เฉิน เจาเฟยชี้แจงว่า สารโปรตีนในนมวัวกับนมคน ไม่เหมือนกันอย่างสิ้นเชิง มนุษย์ย่อยและดูดซึมโปรตีนในนมวัวได้เพียงแค่ 50% เท่านั้น แต่สามารถย่อยซึมโปรตีนในนมคนได้มากถึง 90% ดังนั้น คนเรากลุ่มหนึ่งดื่มนมวัวแล้วจะปวดท้องและท้องเสีย ก็เพราะสารโปรตีนในนม 2 ประเภทแตกต่างกัน เป็นที่ทราบกันทั่วไปแล้วว่า ลูกวัวแรกเกิดมีน้ำหนักราว 90 ปอนด์ แต่สามารถโตขึ้นจนมีน้ำหนัก 1,000 ปอนด์ภายใน 2 ปี ส่วนทารกแรกเกิดหนักประมาณ 8 ปอนด์ ต้องใช้เวลากว่า 10 ปีจึงจะมีน้ำหนักเกิน 100 ปอนด์ได้
นี่แสดงให้เห็นว่า วัวกับมนุษย์เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมที่แตกต่างกัน ดังนั้น สารโภชนาการที่วัวและมนุษย์ต้องการก็ไม่เหมือนกัน ในน้ำนมวัวมีสารฮอร์โมนมากมายหลายชนิด ซึ่งสามารถกระตุ้นลูกวัวให้เติบโตอย่างรวดเร็ว แต่ถ้าสารฮอร์โมนเหล่านี้เข้าไปในร่างกายเด็ก จะแสดงผลที่ไม่เหมือนกัน ขณะนี้มีผลวิจัยยืนยันแล้วว่า นมวัวมีผลที่ขัดขวางการเติบโตของสมองของเด็ก