นายสวี เจ้าสื่อกล่าวว่า เอกลักษณ์จุดเด่นของรายงานวิจัยชิงนี้คือ หนึ่ง เส้นทางรถไฟดังกล่าวมีระยะทางค่อนข้างยาว มีสถานีค่อนข้างมาก คือมีความยาว 150 กิโลเมตร ความเร็วต่อชั่วโมงคือ 350 กิโลเมตร มีสถานี 8 สถานี สอง ราคาเสนอและการรวบรวมเงินทุนของจีนมีกำลังแข่งขันมากกว่า สาม หลังจากเริ่มก่อสร้างแล้วใช้เวลา 3 ปีจึงจะแล้วเสร็จ ดังนั้นหากเริ่มการก่อสร้างภายในเดือนกันยายนปีนี้ ก็จะสร้างเสร็จปลายปี 2018 และเริ่มใช้งานได้ในปี 2019 สี่ ใช้วิธีการร่วมทุนประกอบกิจการ วิสาหกิจจีนกับวิสาหกิจอินโดนีเซียร่วมกันจัดตั้งบริษัทร่วมทุน ดำเนินความร่วมมือร่วมกันใช้ผลประโยชน์ ร่วมกันแบ่งรับความเสี่ยง ตั้งแต่การก่อสร้างและประกอบกิจการ การเคลื่อนย้ายเทคโนโลยี ตลอดจนการฝึกอบรมบุคลากร เป็นต้น
ก่อนหน้านี้ รัฐบาลอินโดนีเซียระบุว่า อินโดนีเซียจะเชิญฝ่ายที่ 3 เข้าร่วมตัดสินแผนการเกี่ยวกับทางรถไฟความเร็วสูงของจีนกับญี่ปุ่น ด้านสื่อมวลชนอินโดนีเซียเปรียบการแข่งขันชิงเป็นผู้ดำเนินโครงการครั้งนี้ว่าเป็นการประกวดนางงาม
ทั้งสองฝ่ายต่างมีความได้เปรียบต่างกันไป อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ของญี่ปุ่นค่อนข้างต่ำ ส่วนจีนใช้เวลาก่อสร้างค่อนข้างสั้น ก่อนหน้านี้เคยมีรายงานระบุว่า อินโดนีเซียประกาศโครงการก่อสร้างทางรถไฟความเร็วสูงครั้งนี้ ไม่ได้ตั้งใจจะใช้เงินของรัฐบาล ซึ่งก็หมายความว่า โครงการดังกล่าว ต้องการรวบรวมเงินทุนจากฝ่ายอื่นๆ ด้วย และเหตุนี้ โค้งสุดท้ายระหว่างจีนกับญี่ปุ่นจึงไม่เพียงต้องแข่งเทคโนโลยี คุณภาพและเวลาการก่อสร้างเท่านั้น ยิ่งเมื่อพิจารณาจากรายงานที่ญี่ปุ่นได้เสนอเงื่อนไขเงินกู้พิเศษก็ทำให้เข้าใจชัดเจนว่า ด้านเทคโนโลยีและคุณภาพของโครงการ ญี่ปุ่นไม่มีความเหนือกว่า จึงยอมเสนออัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่ต่ำกว่าให้พิจารณา
(Toon/zheng)