สถานีวิทยุซีอาร์ไอรายงานว่า วันที่ 6 ตุลาคมนี้ สหรัฐฯลงนามข้อตกลงความตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจภาคพื้นเอเชีย-แปซิฟิก หรือ ทีพีพีกับ 11 ประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ได้แก่ญี่ปุ่น, ออสเตรเลีย, บรูไน, แคนาดา, ชิลี, มาเลเซีย, เม็กซิโก, นิวซีแลนด์, เปรู, สิงคโปร์ และเวียดนามที่นครแอตแลนตา ในรัฐจอร์เจีย ของสหรัฐฯ ข้อตกลงนี้ได้กำหนดกฎระเบียบใหม่ทางเศรษฐกิจและการค้า โดยมีการสร้างมาตรฐานด้านการค้าสินค้า บริการ และการลงทุน ข้อตกลงดังกล่าวยังต้องให้แต่ละประเทศที่ลงนามแล้วให้สัตยาบัน เพื่อให้ข้อตกลงนี้มีความสมบูรณ์ จากนั้น เขตเศรษฐกิจที่มีปริมาณเศรษฐกิจ 40% ของโลกก็จะจัดตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการ
ขณะนี้ จีนไม่ได้ขอเข้าร่วมความตกลงดังกล่าว แต่ก็ไม่ขจัดความเป็นไปได้ที่จะขอเข้าร่วมในอนาคต ผู้เชี่ยวชาญจีนส่วนใหญ่เห็นว่า หากมองในระยะสั้น ความตกลงนี้อาจส่งผลกระทบต่อการค้าต่างประเทศของจีนในระดับ หนึ่ง แต่หากมองในระยะยาว ภายใต้สถานการณ์กระแสโลกาภิวัตน์ ไม่ว่าความตกลงทางการค้าพหุภาคีฉบับใดก็ตาม ล้วนไม่สามารถทำให้ประเทศหนึ่งประเทศใดต้องอยู่นอกระบบการค้า ระหว่างประเทศได้ นอกจากนี้ จีนขณะนี้กำลังเร่งขับเคลื่อนกระบวนการเจรจาเพื่อจัดตั้งเขตการค้าเสรี ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก
สื่อบางส่วนเห็นว่า การที่สหรัฐฯเร่งให้ลงนามในข้อตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจภาคพื้นเอเชีย-แปซิฟิกนั้น มีวัตถุประสงค์ที่จะสร้างความสมดุลใหม่ทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิก รวมทั้งจะสร้างกลุ่มพันธมิตรทางเศรษฐกิจในเอเชีย ต่อการนี้ โฆษกกระทรวงพาณิชย์จีนกล่าวว่า จีนมีท่าทีที่เปิดกว้างต่อความตกลงทางเศรษฐกิจและการค้าใดๆ ที่สอดคล้องกับกฎระเบียบขององค์การการค้าโลก และเป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริมความเป็นหนึ่งเดียวทางเศรษฐกิจใน ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก
นายจ่วน จงเจ๋อ รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยระหว่างประเทศแห่งชาติจีนกล่าวว่า สหรัฐฯอยากทำตัวเป็นผู้เขียนกฎระเบียบการค้าระหว่างประเทศโดย ผ่านการทำข้อตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจภาคพื้นเอเชีย-แปซิฟิก โฆษกกระทรวงพาณิชย์จีนได้แสดงท่าทีอย่างชัดเจนแล้ว คือ จีนมีท่าทีเปิดกว้างต่อเรื่องนี้ จะไม่คัดค้านการดำเนินความตกลงดังกล่าว ส่วนความตกลงนี้จะส่งผลกระทบต่อจีนและการค้าพหุภาคีของโลกเป็นอย่างไรนั้น ยังต้องดูกันต่อไป จีนหวังว่าการดำเนินความตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจภาคพื้นเอเชีย-แปซิฟิกจะเป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริมความเป็นหนึ่งเดียวทางเศรษฐกิจใน ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก
(YIM/cai)