สำนักข่าวซินหวารายงานว่า เมื่อเร็วๆ นี้ ผู้เชี่ยวชาญและนักวิชาการที่เข้าร่วมการสัมมนาว่าด้วยการแก้ไขข้อพิพาททางทะเลด้วยกฎหมายระหว่างประเทศที่เขตฮ่องกงของจีนระบุว่า คำตัดสินคดีข้อพิพาททะเลหนานไห่จากศาลอนุญาโตตุลาการเป็นคำตัดสินที่เป็นโมฆะมีเจตนาร้ายและไม่สอดคล้องกับจิตวิญาณของกฎหมายระหว่างประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้มาตราการบางข้อของอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทางทะเลบรรลุเป้าหมายทางการเมือง
ศาสตราจารย์จอห์น คาร์ตี จากมหาวิทยาลัยชิงหวาเห็นว่า คำตัดสินคดีข้อพิพาททะเลหนานไห่จากศาลอนุญาโตตุลาการต่างใช้เจตนาร้ายในการอ้างอิงและตีความอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทางทะเล หากพิจารณาจากเนื้ความในการตัดสินแล้วจะเห็นได้ว่า ได้ใช้มาตรา"ที่เป็นผลดีต่อฟิลิปปินส์ ในขณะที่มองข้ามมาตราที่เป็นผลเสียต่อฟิลิปปินส์ หรือไม่ก็หลีกเลี่ยงมาตราที่เป็นอุปสรรคต่อการฟ้องร้องของฟิลิปปินส์ ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ไม่มีความจริงจังในการใช้อนุสัญญาฯ
ส่วนศาสตราจารย์เกา เซิ่งที่ จากมหาวิทยาลัยทะเลไต้หวันระบุว่า คำตัดสินคดีข้อพิพาททะเลหนานไห่จากศาลอนุญาโตตุลาการ กล่าวตามเนื้อแท้แล้วเห็นได้ว่า เป็นการตัดสินการแบ่งเส้นพรมแดน ซึ่งศาลดังกล่าวไม่มีอำนาจตัดสิน จีนจึงมีเหตุผลไม่เข้าร่วมการพิพากษาตั้งแต่แรก เขาเห็นว่า ขณะนี้ มีแต่การเจรจาแบบทวิภาคีจึงจะเป็นรูปแบบในการแก้ไขข้อพิพาทที่สองฝ่ายต่างยอมรับได้ ตามข้อระบุในหลักปฏิบัติของฝ่ายต่างๆ ในทะเลจีนใต้ (DOC) ที่จีนกับอาเซียนได้ลงนามกันเมื่อปี 2002 ข้อพิพาททางอธิปไตยและสิทธิการปกครองในทะเลหนานไห่ต้องได้รับการแก้ไขด้วยการเจรจาแบบทวิภาคีระหว่างประเทศอธิปไตยที่เกี่ยวข้อง
การสัมมนาว่าด้วยการแก้ไขข้อพิพาททางทะเลด้วยกฎหมายระหว่างประเทศที่ร่วมกันจัดขึ้นโดยศูนย์พิพากษาระหว่างประเทศฮ่องกงและสถาบันวิจัยกฎหมายระหว่างประเทศจีนได้จัดขึ้นที่ฮ่องกงระหว่างวันที่ 15-16 กรกฎาคมที่ผ่านมา มีผู้เชี่ยวชาญนักวิชาการด้านกฎหมายระหว่างประเทศและกฎหมายทางทะเลจำนวนกว่า 210 คนจากจีน สหรัฐฯ ออสเตรเลียและฝรั่งเศสได้เข้าร่วมการสัมมนาครั้งนี้