ช่วงหลายปีนี้ เนื่องจากปัญหาสภาพแวดล้อมรุนแรงยิ่งขึ้นทุกวัน ประเทศต่างๆ ใช้มาตรการควบคุมรถยนต์ที่ใช้น้ำมัน อย่างเช่น กรุงปักกิ่งของจีนดำเนินนโยบายจับฉลากป้ายทะเบียนรถยนต์ นอกจากนี้ มาตรการสำคัญอีกประการหนึ่งคือ เรียกร้องให้ประชาชนใช้รถยนต์พลังงานใหม่ คือ รถยนต์ไฟฟ้าและรถยนต์ไฮบริด
เมื่อวันที่ 4 ตุลาคมนี้ องค์การพลังงานระหว่างประเทศ(ไออีเอ) ประกาศรายงานเกี่ยวกับพลังงานหมุนเวียน โดยคาดว่า ในปี 2022 จำนวนผู้ใช้รถยนต์ไฟฟ้าจะเพิ่มขึ้น 7 เท่าเมื่อเทียบกับปี 2016 โดยรถยนต์ไฟฟ้าจะมีจำนวน 16 ล้านคัน
ประเทศต่างๆ ก็ได้กำหนดมาตรการควบคุมจำนวนรถยนต์ที่ใช้น้ำมัน เมื่อเดือนธันวาคมปี 2015 ข้อตกลงปารีสว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศกำหนดว่า หนึ่งในเป้าหมายสำคัญที่สุดคือการควบคุมอุณหภูมิเฉลี่ยของโลก ซึ่งเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพื่อบรรลุเป้าหมายนี้ ต้องให้ปลอดแก๊สเรือนกระจกในปลายศตวรรษที่ 21 ซึ่งเป็นที่รู้กันว่า รถยนต์ที่ใช้น้ำมันจะปล่อยมลพิษทางอากาศปริมาณมาก รัฐบาลประเทศต่างๆ วางแผนและกำหนดยุทธศาสตร์หลายอย่าง ศึกษาทางเทคโนโลยี กำกับดูแลตลาด เพื่อผลักดันลดการปล่อยคาร์บอนของรถยนต์ สนับสนุนการพัฒนารถยนต์พลังงานใหม่ บังคับให้รถยนต์ที่ใช้น้ำมันค่อยๆ ถอนออกจากตลาด
นอร์เวย์เป็นประเทศที่มีผู้ใช้รถยนต์พลังงานไฟฟ้ามากที่สุด โดยสื่อนอร์เวย์รายงานว่า รัฐบาลวางแผนจะห้ามใช้รถยนต์ที่ไม่ใช้พลังงานไฟฟ้าอย่างรอบด้านในปี 2025
ญี่ปุ่นกำหนดสัดส่วนซื้อรถยนต์พลังงานไฟฟ้าของรัฐบาลในกฎหมาย พร้อมกำหนดมาตรการเสนอความสะดวก เพื่อกระตุ้นรถยนต์พลังงานใหม่แทนรถใช้น้ำมัน
ส่วนรัฐบาลอังกฤษประกาศเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคมนี้ว่า จะห้ามขายรถน้ำมันในปี 2040 รวมถึงรถไฮบริด
เมื่อเดือนเมษายนปีนี้ กระทรวงอุตสาหกรรมอินเดียประกาศว่า รัฐบาลกำลังกำหนดนโยบายส่งเสริมการพัฒนาของรถยนต์พลังงานไฟฟ้า และวางแผนจะห้ามขายรถยนต์น้ำมันในปี 2030
ฝรั่งเศสก็ประกาศว่าจะเลิกขายรถใช้น้ำมันก่อนปี 2040 แต่ปัจจุบัน รถยนต์พลังงานใหม่ครองสัดส่วนเพียง 1.1% ในตลาดฝรั่งเศส