การแสดงรำไทย เป็นศิลปะการแสดงที่สืบทอดกันมาอย่างช้านานเช่นกัน ถือเป็นนามบัตรสำคัญในการเผยแพร่วัฒนธรรมและการท่องเที่ยวของประเทศไทย รำไทยได้รับสมญานามว่า "ศิลปะบนปลายนิ้ว" นักแสดงในชุดการแสดงที่มีเอกลักษณ์ของไทย มักจะแสดงความอ่อนช้อยผ่านมือ เท้า และเรือนร่างของผู้แสดง ประกอบกับสีหน้าและท่วงท่าที่อ่อนโยน ถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกของผู้แสดงหรือตัวละครในเรื่อง ลีลาท่าทางและจังหวะดนตรีประกอบที่ค่อนข้างช้า ทำให้ผู้ชมได้ใช้จินตนาการอย่างเต็มที่ ได้รับอรรถรสอย่างเต็มอิ่มระหว่างการชม และค่อยๆ เข้าใจเนื้อหาและธีมของการแสดงแต่ละตอน
ขณะที่นักแสดงนาฏศิลป์ไทยก้าวออกมาหน้าเวทีท่ามกลางเพลงรำวง ผู้ชมจีนพากันปรบมือต้อนรับดังกึกก้อง ท่ารำที่จัดทำขึ้นสำหรับการแสดงของคาราวานฯ ปีนี้ รวมลีลาท่าทางการรำทั้ง 4 ภาคของไทยไว้ครบ ตั้งแต่ภาคตะวันออก ภาคเหนือ ภาคใต้และภาคกลาง ทำให้ผู้ชมเต็มอัฒจรรย์อิ่มเอิบกับศิลปะการแสดงพื้นเมืองไทยที่นุ่มนวลอ่อนโยนพร้อมกันในคราวเดียว
นายหนิง หย่วน ผู้ชมชาวเมืองโฝซานบอกว่า "แม้มีนักแสดงเพียง 6 คน แต่พวกเขาสามารถนำเสนอการแสดงที่ตื่นเต้นน่าดูไม่แพ้คณะนาฏศิลป์ร้อยคน การแสดงรำไทยคล้ายกับการแสดงงิ้วท้องถิ่นของจีน ไม่จำเป็นต้องใช้คนแสดงและอุปกรณ์การแสดงเยอะ แต่การออกแบบฉากและลีลาท่าทางที่สวยงามชาญฉลาดนี้ ก็พอที่จะนำผู้ชมเข้าไปในเนื้อเรืองการแสดงอันหลากหลายสีสัน นี่เป็นมนต์เสน่ห์ของศิลปะชั้นสูง"
นักแสดงไทย 6 คนที่ร่วมเดินทาง มีอายุเฉลี่ยไม่ถึง 20 ปี แต่หนุ่มหล่อสาวสวยกลุ่มนี้ ปฏิบัติทำหน้าที่ "ทูตแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม" ของคาราวานรถสานสัมพันธ์ฯ ครั้งนี้ได้อย่างดี ผลงานยอดเยี่ยมของพวกเขา ทำให้ชาวเมืองต่างๆ ของจีน ตามเส้นทางเดินรถได้สัมผัสมนต์เสน่ห์แห่งศิลปวัฒนธรรมที่มีเอกลักษณ์ของไทยอย่างใกล้ชิด บรรดานักแสดงไทยมีความหวังร่วมกันว่า ในอนาคตจะมีชาวจีนจำนวนมากยิ่งขึ้น ได้มีโอกาสสัมผัสความงามของศิลปวัฒนธรรมไทย