เทศกาล "ตงจื้อ" หรือแปลตรงๆ ว่า "ฤดูหนาวมาถึงแล้ว" เป็นเทศกาลสำคัญของจีนตามปฏิทินจันทรคติ และนับเป็นเทศกาลสำคัญของชนชาติจีนด้วย วัน "ตงจื้อ"บางทีก็เรียกว่า "วันนับเก้า" "เทศกาลฤดูหนาว" หรือ "ปีใหม่ล่วงหน้า" เป็นเทศกาลที่กำหนดขึ้นมาอันดับแรกของจีนเมื่อ 2,500 ปีที่แล้ว ตรงกับวันที่ 21-23 ธันวาคมตามคริสต์ศักราช
สิ่งที่น่าสนใจคือ ในเวลาก่อนหรือหลังวัน "ตงจื้อ" โลกจะอยู่ใกล้กับดวงอาทิตย์ และจะหมุนเร็วกว่าปกติ จนทำให้แต่ละปี พระอาทิตย์จะอยู่ในซีกโลกเหนือมากกว่าซีกโลกใต้ 8 วัน จึงเกิดความรู้สึกว่า ฤดูหนาวในซีกโลกเหนือจะสั้นกว่าซีกโลกใต้
ในวัน "ตงจื้อ" นี้ พระอาทิตย์จะหมุนไปถึงเส้นละติจูดของเส้นละติจูดใต้หรือเส้นเขตใต้ของโซนร้อนจัด นับเป็นทิศใต้สุดของลูกโลก ฉะนั้น ซีกโลกเหนือจะเป็นวันที่มีกลางวันสั้นที่สุด ส่วนในวงขั้วโลกเหนือ วัน "ตงจื้อ"นี้เป็นวันที่พระอาทิตย์เข้าใกล้กับโลกมากที่สุดในทั้งปี สำหรับกรุงปักกิ่ง วัน "ตงจื้อ"นี้ กลางวันจะมีเพียง 9 ชั่วโมง 20 นาทีเท่านั้น ฉะนั้น บางทีก็เรียกวัน "ตงจื้อ" ว่าเป็นวัน "อี้หยางเซิง" แปลว่าเริ่มเจริญงอกงามใหม่และจะเริ่มต้นปีใหม่
วัน "ตงจื้อ" เป็นเทศกาลที่ได้กำหนดขึ้นมาเป็นเทศกาลแรก ซึ่งเกิดขึ้นจากการวางแผนสร้างเมืองของสมัยก่อน เมื่อสมัยราชวงศ์ซาง มีคนที่ชื่อโจวกง เป็นคนเก่งและเป็นผู้ที่ร่วมต่อต้านราชวงศ์ซาง เขาได้ตรวจวัดพื้นที่ของจีนและได้ออกความคิดเห็นว่า เมืองลั่วหยางเป็นใจกลางของโลก และกำหนดเป็นเมืองหลวงของราชวงศ์โจวหลังจากโค่นล้มราชวงศ์ซางไปแล้ว และกำหนดวัน"ตงจื้อ"เป็นวันปีใหม่ของทุกปี ซึ่งแสดงว่าในสมัยโบราณ ปีใหม่เริ่มต้นจากเดือนที่ 11 ของทุกปีหากมิใช่เดือนที่ 1 หรือเดือนที่ 2 ในปัจจุบัน ประเพณีดังกล่าวได้สืบทอดจนถึงราชวงศ์ฉินด้วย ฉะนั้น วัน"ตงจื้อ"จึงเป็นสัญลักษณ์แสดงว่าสิ่งมีชีวิตของโลกจะเริ่มฟื้นตัวและเข้าสู่วงโคจรหมุนเวียนรอบใหม่ เป็นวันมงคลด้วย จนถึงทีหลัง แม้ว่าวัน "ตงจื้อ"ไม่ได้เป็นวันปีใหม่แล้ว แต่ชาวจีนจะเรียกว่า "ปีใหม่เล็ก" หรือ "ปีใหม่น้อย" แสดงว่าวันเทศกาลนี้มีความสำคัญและแสดงให้เห็นว่าปีเก่าเหลืออยู่ไม่กี่วันแล้ว
Yim/Ping