เหรียญทองการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก 2012 ลอนดอนเกมส์นับได้ว่าเป็นเหรียญทองที่ใหญ่ที่สุดและมีน้ำหนักมากที่สุดในประวัติศาสตร์ของกีฬาโอลิมปิก โดยมีน้ำหนัก 410 กรัม มากกว่าน้ำหนักของเหรียญทองโอลิมปิกเกมส์กรุงปักกิ่งปี 2008 ถึง 250 กรัม และเป็น 17 เท่าของเหรียญทองการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกเกมส์กรุงสตอกโฮล์มปี 1912
นอกจากน้ำหนักที่แท้จริง การตั้งรางวัลสำหรับผู้คว้าเหรียญทองเหรียญรางวัลแล้ว น้ำหนักของเหรียญทองโอลิมปิกเกมส์ยังมีความหมายอีกด้านหนึ่ง คือความสำคัญของเหรียญทอง อย่างเช่นทััพกีฬาจีน เมื่อปี 1984 นายสวี ไห่เฟิง นักกีฬาชายจีนครองแชมป์การแข่งขันยิงปืน คว้าเหรียญทองโอลิมปิกเกส์เหรียญแรกมาให้กับจีน ซึ่งน้ำหนักของเหรียญทองนี้มีความหมายพิเศาและหนักมากทีเดียว
ในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกเกมส์กรุงปักกิ่งปี 2008 ทัพกีฬาจีนคว้า 51 เหรียญทอง มากกว่าสหรัฐฯ และจัดอยู่อันดับที่ 1 ของตารางเหรียญทอง เหรียญทองที่ 51 นับเป็นเหรียญทองที่มีความหมายในประวัติศาสตร์ จึงมีน้ำหนักมากเช่นกัน
และในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกเกมส์กรุงลอนดอนที่กำลังจัดขึ้นที่อังกฤนั้น ทัพนักกีฬาจีนยังคงคว้าเหรียญทองมาครองอย่างไม่ขาดสาย แต่เหรียญทองบางเหรียญดูจะมีนัยมากกว่า
อย่างเช่นเมื่อวันที่ 28 กรกฏาคมที่ผ่านมา ซุนหยาง นักกีฬาว่ายน้ำดาวรุ่งดวงใหม่ คว้าเหรียญทองการแข่งขันว่ายน้ำประเภทฟรีสไตล์ 400 เมตรชายมาครอง ซึ่งนับเป็นเหรียญทองกีฬาโอลิมปิกประเภทว่ายน้ำชายเหรียญแรกของจีน จึงมีความหมายสำคัญอย่า่งยิ่ง
ซุนหยางเป็นนักกีฬาว่ายน้ำจีนที่มีพรสวรรค์จริงๆ เพราะว่าตลอดเวลาที่ผ่านมา กีฬาว่ายน้ำชายจีนไม่สามารถคว้าเหรียญทองจากการแข่งขันรายการใหญ่ ๆ ระดับโลกเป็นเวลานานแล้ว จนถึงเมื่อปี 2008 จางหลิน นักกีฬาชายจีนคว้าเหรียญเงินการแข่งขันว่ายน้ำฟรีสไตล์ 400 ในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกเกมส์กรุงปักกิ่ง 2008 ซึ่งนับเป็นเหรียญรางวัลเหรียญแรกที่จีนได้รับในโอลิมปิกเกมส์
ให้หลัง 4 ปี ก็มีนักกีฬาว่ายน้ำชายดาวรุ่งดวงใหม่ที่มีพรสวรรค์เจิดจ้า นั่นก็คือซุนหยาง เขาเกิดที่เมืองหางโจวมณฑลเจ้อเจียง เป็นนักศึกษาคณะการกีฬามหาวิทยาลัยเจ้อเจียง เมื่อวันที่ 31 กรกฏาคมปี 2011 ในการแข่งขันว่ายน้ำชิงชะเลิศโลกซึ่งจัดขึ้นที่นครเซี่ยงไฮ้ ซุนหยางคว้าเหรียญทองประเภทฟสรีสไตล์ 1,500 เมตรมาครอง และทำลายสถิติโลกด้วยเวลา 14.3414 นาที ซึ่งทำขึ้นโดยนายฮาก์เกตต์ (Hackett) นักกีฬาว่ายน้ำออสเตรเลียในการแข่งขันชิงชนะเลิศโลกฟุกุโอกะญี่ปุ่นเมื่อปี 2001 ซึ่งเป็นสถิติที่คงไว้นานถึง 10 ปีไม่มีใครทำลายได้
เวลาผ่านไปเกือบ 1 ปี เทคนิคและความสามารถของซุนหยางความก้าวหน้าขึ้นตลอด วันที่ 28 กรกฏาคมที่ผ่านมาที่กรุงลอนดอน เขาคว้าเหรียญทองกีฬาโอลิมปิกเกมส์ประเภทว่ายน้ำฟรีสไตล์ 400 เมตรชายมาครอง ซึ่งเป็นเหรียญทองการแข่งขันว่ายน้ำกีฬาโอลิมปิกเหรียญแรกของจีน ต่อมา วันที่ 30 กรกฏาคมที่ผ่านมา ซุนหยางได้คว้าเหรียญเงินการแข่งขันว่ายน้ำประเภทฟรีสไตล์ 200 เมตรชายมาครอง
เหรียญทองนี้ทำให้แฟนกีฬาและชาวจีนทั่วประเทศทุ่มความสนใจต่อเหรียญทองโอลิมปิกเกมส์ แฟนเน็ตจีนพากันชื่นชมว่า ซุนหยางเป็น "หลิวเสียงบนผิวน้ำ" แต่บางคนก็บอกว่า วันหลังต้องให้ฉายาใหม่ว่าเป็น "คนบินบนผิวน้ำของเอเชีย"
ส่วนนักกีฬาหญิงจีนชื่อ เยี่ยซือเหวิน เป็นนักกีฬาว่ายน้ำที่มีพรสวรรค์สุงอีกคนหนึ่ง เธอโชว์ฟอร์มยอดเยี่ยมอย่างน่าตื่นเต้นเช่นกัน เมื่อวันที่ 28 กรกฏาคมที่ผ่านมาตามเวลาท้องถิ่น เยี่ยซือเหวินคว้าเหรียญทองการแข่งขันว่ายน้ำ 4 คุณ 100 ผสมหญิงมาครอง และทำลายสถิติโลกด้วย ทำให้สื่อมวลชนทั่วโลกพากันโฟกัสมาที่ราชินีแห่งกีฬาว่ายน้ำจีนคนใหม่นี้
เยี่ยซื้อเหวินอายุ 16 ปีเท่านั้น แม่ของเธอได้ตามไปลอนดอนเพื่อคอยดูแลและให้กำลังใจลูกสาว เมื่อให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวหลังการแข่งขัน คุณแม่บอกว่า ฉันเคยรับปากกับลูกว่า หลังโอลิมปิกเกมส์สิ้นสุดลงแล้ว จะพาเธอไปเที่ยวสวนสนุกสักครั้ง เพราะยังไม่เคยไปเลย
ต่อจากนั้น ในการแข่งขันของวันที่ 1 สิงหาคมที่ผ่านมา เยี่ยซือเหวินทำให้ชาวจีนตลอดจนชาวเอเชียรู้สึกภาคภูิใจอีกครั้ง โดยคว้าเหรียญทองการแข่งขันว่ายน้ำประเภท 200 เมตรผสมหญิงมาครอง ซึ่งเป็นนักกีฬาหญิงจีนคนแรกที่คว้า 2 เหรียญทองมาครองจากการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกในครั้งเดียว และยังคงช่วงชิงเหรียญรางวัลในการแข่งขันต่อไป
แต่ในใจของแม่เียี่ยซือเหวิน การพาลูกสาวไปเที่ยวสวนสนุกคงสำคัญกว่าเหรียญทองโอลิมปิกนะ
(Yin/Lin)