หากมีโอกาสหนึ่งในชีวิต เป็นใครในโลกย่อมอยากมีโอกาสได้สัมผัสกับ "กีฬาแห่งมวลมนุษยชาติ" หรือ "โอลิมปิก" สักครั้งหนึ่งให้ได้
และจะดีกว่าแค่ไหน หากได้มีโอกาสเข้าร่วมงานกีฬาที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลกนี้ติดกันถึงสองครั้งสองครา
และที่สำคัญเป็นการนำเอาความฝันอันยิ่งใหญ่จากเมืองที่จัดในครั้งที่แล้ว ส่งต่อไปยังอีกเมืองหนึ่งที่ป็นเจ้าภาพครั้งล่าสุด
4 ปีที่แล้ว 3 หนุ่มจากบราซิลมาพบและเป็นเพื่อนกันที่ปักกิ่งโดยบังเอิญ คนหนึ่งเป็น "สื่อมวลชน" สังกัดภาคภาษาโปรตุเกส สถานนีวิทยุซีอาร์ไอ คนหนึ่งเป็นวิศวกรประจำที่โรงงานแห่งหนึ่งที่เทียนจิน และอีกหนึ่งเป็นนักศึกษาปริญญาโท การบริหารธุรกิจ ภาคภาษาอังกฤษ ที่มหาวิทยาลัยปักกิ่ง 3 หนุ่มนี้ได้มีโอกาสเข้าชมรายการแข่งขันกีฬาต่างๆ มากมายในช่วงโอลิมปิก ปักกิ่ง 2008 ได้สัมผัสจิตวิญญาณของงานกีใาที่มีคนทั่วโลกเฝ้าติดตามชมมากที่สุด และที่สำคัญได้เห็นความเปลี่ยนแปลงอย่างมหาศาลของประเทศเจ้าภาพ
สามหนุ่มบราซิลเลี่ยนผู้กล้าท้าฝัน ถ่ายภาพที่เทศกาลบอลลูนตุรกี
(จากซ้าย) ริชาร์ด อามานเต้, เอ็ดการ์ เชียเรอร์ และเปาโล เชียเรอร์
4 ปีต่อมา พวกเขาทั้งสามตัดสินใจกันว่าจะร่วมสานฝันของตัวเองในการขับรถย้อนเส้นทางสายไหมในยุคโบราณ นำความฝันแห่งโอลิมปิกจากรุงปักกิ่งมุ่งหน้าไปสู่กรุงลอนดอน เจ้าภาพโอลิมปิก 2012 ในครั้งนี้ ซึ่งตามแผนแล้วจะผ่านทั้งหมด 25 ประเทศ ภายในระยะเวลา 57 วัน บนเส้นทางกว่า 20,000 กิโลเมตร
และนี่คือที่มาของการเดินทางของความฝันของคนเพียงสามคนที่ต้องการจะเชื่อมต่อความฝันของคนทั้งโลก
พวกเขาบ้าบิ่น พวกเขาบุกตะลุย พวกเขาจะมีชะตากรรมอย่างไรบนเส้นทางที่ไม่อาจคาดเดา เป็นเรื่องที่น่าติดตามยิ่ง
"ริชาร์ด อามานเต้" วัย 34 ปี อาศัยอยู่ในกรุงปักกิ่งมาตั้งแต่ปี 2007 เป็นผู้รับผิดชอบในการเขียนรายงานการเดินทางในครั้งนี้ ทั้งในเว็บไซต์ทางการ เว็บเพจในเฟซบุ๊ก และวิดีโอในยูทูป เพราะเขาเคยทำงานในสถานนีโทรทัศน์ของบราซิลที่ชื่อว่า " ทีวี กราโบ" เคยเป็นผู้เชี่ยวชาญที่ทำข่าวทั้งวิทยุและวิดีโอในอินเตอร์เน็ตให้กับซีอาร์ไอ นอกจากนี้ยังเคยพิมพ์หนังสือชื่อ "Amante in China" เป็นภาษาโปรตุเกสขายทั้งในจีนและบราซิลมาแล้ว
"เอ็ดการ์ เชียเรอร์" วิศวกรหนุ่มวัย 30 ปี ซึ่งอยู่ปักกิ่งมาตั้งแต่ปี 2005 หลังจากเรียนจบก็ได้งานสายตรงกับที่ร่ำเรียนมาที่นครเทียนจิน เขาผู้นี้แหละที่เป็นเจ้าของรถและเจ้าของไอเดียการเดินทางสุดพิลึกพิลั่นในครั้งนี้ นอกจากงานประจำแล้ว เชียเรอร์ยังโด่งดังเป็นที่รู้จักของคนจีนพอสมควร เพราะเคยเข้าร่วมรายการโทรทัศน์ที่มีชื่อเสียงเมื่อเดือนมีนาคม ปี 2012 นี่เอง
"เปาโล เชียเรอร์" ฟังนามสกุลก็คงพอจะเดากันได้แล้วว่า หนุ่มหล่อวัย 29 ปีคนนี้เป็นน้องชายของ "เอ็ดการ์" เขาเรียนจบด้านการบริหารธุรกิจจากเยอรมนี และทำงานด้านบริหารการเงิน ก่อนตัดสอนใจมาเรียนต่อปักกิ่งกับพี่ชาย ซึ่งในทริป 57 วันนี้ "เปาโล" จะทำหน้าที่เป็นเหรัญญิกของกลุ่ม ซึ่งเหมาะกับเขาอย่างยิ่ง
ผ่านไปได้แต่ตัวและข้าวของ ส่วนรถทางการจีนไม่อนุญาตให้เอานอกประเทศ
สามหนุ่มเลยต้องนั่งลาเทียมเกวียนจากชายแดนอุซเบกิซสถาน
นี่คือส่วนผสมของนักเดินทางบ้าบิ่นแห่งปี 2012 ที่จะบุกตะลุยไปบนเส้นทางที่ไม่อาจคาดเดา
พวกเขาวางแผนกันว่า ตลอดการเดินทางจะต้องเช่าโรงแรมให้น้อยที่สุด การพักอาศัยทั้งหมดล้วนต้องเป็นการได้มาจากความอารีของเจ้าของประเทศที่พวกเขาผ่านทางเท่านั้น
สำหรับรถที่ใช้ในการเดินทางครั้งนี้ แรกเห็นกับตาถึงกับตกตะลึง ไม่ใช่เพราะมันพรักพร้อมยิ่งใหญ่และมีสมรรถนะสูงส่งแต่อย่างใด หากแต่ทุกอย่างเป็นตรงกันข้ามกันหมด
ไม่ใช่ว่ารถเก๋งสีขาวยี่ห้อโฟล์คสวาเก้น รุ่นซานทานา ปี 2005 จะไร้ประสิทธิภาพนำพาคนทั้งสามท่องไปบนท้องถนน แต่เพราะรถยนต์รุ่นนี้ตามจุดประสงค์แล้ว คงเป็นการสร้างขึ้นมาเพื่อขับในเมืองหรือระหว่างเมือง แต่ไม่ใช่บนถนนระหว่างประเทศที่คาดเดาพื้นผิวไม่ได้บนเส้นทาง 25,000 กิโลเมตร
แต่พวกเขาไม่ทางเลือก เพราะงานนี้ไม่มีสปอนเซอร์ หรือผู้สนับสนุนรายใดยื่นมือเข้ามาเกี่ยวข้อง สิ่งที่อยู่เบื้องหลังความตั้งใจของพวกเขาคือ "ความฝัน" ล้วนๆ ดังนั้นเจ้า "ธันเดอร์ เลิฟ" สี่ประตู ซึ่งปกติ "เอ็ดการ์" ใช้มันขับไปทำงานและซิ่งมาปักกิ่งบางครั้งบางคราที่มาพบปะเพื่อน จึงถวายตัวเพื่องานหนักหนาสาหัสที่สุดในความเป็นรถบ้านของมัน โดยถูกส่งเข้าไปผ่าตัดปรับเปลี่ยนเครื่องยนต์ให้สมบูรณ์ที่สุด รวมถึงขัดสีฉวีวรรณอย่างเอี่ยมอ่อง และติดสติกเกอร์ประจำของคณะเดินทางที่ออกแบบกันเองอย่างสวยงาม
นอกจากรถแล้ว ในส่วนของนักเดินทางก็ต้องมีการตระเตรียมทุกอย่างไว้ล่วงหน้า ซึ่งใช้เวลาราวครึ่งปี ทั้งการเปิดเว็บไซต์ทางการ http://www.olympicexpedition.com/ และจัดทำเว็บเพจของเฟซบุ๊ก http://www.facebook.com/OlympicExpedition ทั้งยังสามารถตามติดทางทวิตเตอร์ได้อีกที่ http://www.twitter.com/OExpedition และยังมีเวยโป๋สำหรับแฟนชาวจีนที่เอาใจช่วยด้วยที่ http://weibo.com/u/2787353954 เพื่อใช้ประชาสัมพันธ์และรายงานการเดินทางตลอดทั้ง 57 วัน แบบวันต่อวัน
และเพื่อให้ดูเป็นมืออาชีพ พวกเขายังไปสั่งตัดเสื้อกันลมที่มีการปักชื่อการเดินทางของพวกที่ว่า "Olympic expedition" ไว้ที่หน้าอก พร้อมโลโก้ที่เป็นรูปธงชาติบราซิลด้วย
หลังทุกอย่างพร้อมสรรพ ก่อนออกเดินทางไม่กี่วันก็ทำการจัดปาร์ตี้เพื่อประชาสัมพันธ์การเดินทางครั้งนี้ให้กับเพื่อนสื่อมวลชนต่างๆ ให้ได้ทราบ รวมถึงปาร์ตี้ส่งท้ายก่อนล้อหมุนอีก
ริชาร์ด อามานเต้ วิ่งชูคบเพลิงขิงโอลิมปิก ปักกิ่ง ในเมืองที่พวกเขาเดินทางผ่าน
เมื่อส่งมอบจิตวิญญาณแห่งการแข่งขันกีฬาที่ยิ่งใหญ๋ของมวลมนุษยชาติ