ผลสถิติของทางการกัมพูชาแสดงว่า ประชากรที่สามารถทำงานได้มีอายุระหว่าง 15-64 ปีคิดเป็น 63.8% ของประชากรทั้งหมดจำนวน 14 ล้านคน ผลสถิติของธนาคารแห่งอเมริกา เมอร์ริล ลินซ์ปรากฏว่า ระหว่างปี 2012-2020 จำนวนแรงงานฟิลิปปินส์จะเพิ่มขึ้น 31.3% ซึ่งจะมีจำนวนถึง 75 ล้านคน มาเลเซียจะเพิ่มขึ้น 18.7% เท่ากับ 22 ล้านคน อินโดนีเซียจะเพิ่มขึ้น 11.2% เท่ากับ 180 ล้านคน โดยจำนวนรวมของ 7 ประเทศอาเซียน ได้แก่ ฟิลิปปินส์ สังคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย เวียดนาม เมียนมาร์ และไทย จะเพิ่มขึ้นถึงจำนวนสูงสุดในปี 2042
ตามผลการสำรวจทั่วไปทางประชากรปี 2009 ของเวียดนาม ในประชากรเวียดนามจำนวน 85.84 ล้านคน มี 51.2% อยู่ในช่วงอายุที่สามารถทำงานได้ ส่วนประชากรเมียนมาร์ที่สามารถทำงานได้อายุระหว่าง 15-59 ปี คิดเป็น 69% ของประชากรทั้งหมด
การปันผลทางประชากรมีประโยชน์ต่อการยกระดับทางอุตสาหกรรมการผลิตของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานในสัดส่วนสูง พร้อมกับการเพิ่มขึ้นของปริมาณการผลิตและรายได้ของแรงงาน การปันผลทางประชากรก็จะช่วยให้เกิดตลาดการบริโภคอย่างกว้างขวางยิ่งขึ้น ดึงดูดเงินทุนต่างประเทศจากการปันผลทางประชากรในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คาดว่าจะเข้าสู่การรวมเป็นประชาคมอาเซียนเร็วขึ้นและมีขนาดขยายกว้างขึ้นใน 10 ปีข้างหน้า
ปัจจุบัน มีเงินทุนต่างประเทศ 8% ของทั่วโลกหลั่งไหลเข้าสู่อาเซียนโดยตรง ซึ่งรองลงมาจากจีนที่มีอัตรา 9% นักวิเคราะห์เห็นว่า การที่เศรษฐกิจของประเทศอาเซียนสามารถพัฒนาถึงระดับเดียวกันกับจีนทางด้านการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ ก็เพราะมีสาเหตุบางส่วนมาจากความต่างทางประชากร
Ying/Chu