ระหว่างบรรทัด ความสัมพันธ์ระหว่างไทย – จีน ในโครงการ นักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์
  2014-05-23 18:40:27  cri

จีนได้พัฒนาความรู้และเทคโนโลยีด้านรถไฟความเร็วสูง จนกลายเป็นหนึ่งในประเทศชั้นนำของโลกที่สามารถส่งออกทั้งสินค้าเกี่ยวกับรถไฟและเทคโนโลยีระบบรางไปสู่นานาชาติสร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำ ขณะเดียวกัน ยุทธศาสตร์ "รถไฟความเร็วสูง" ได้กลายเป็นกลไกสำคัญที่จีนใช้เพื่อขยายบทบาทไปสู่ภูมิภาคต่างๆ โดยเฉพาะเป้าหมายสำคัญคือ กลุ่มประเทศอาเซียน

สำหรับความร่วมมือระหว่างไทย- จีน ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีความริเริ่มหลายโครงการ ล่าสุดกระทรวงวิทยาศาสตร์ของทั้งสองประเทศได้ร่วมกันจัดทำโครงการนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ ภายใต้การกำกับของคณะกรรมการร่วมไทย-จีน ปี 2014 มี 4 โครงการหลัก ได้แก่

1. โครงการจัดตั้งศูนย์วิจัยร่วมไทย-จีน ด้านรถไฟความเร็วสูงและระบบราง

2. โครงการศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยี ไทย-จีน

3. โครงการสำรวจข้อมูลระยะไกล

4. โครงการแลกเปลี่ยนนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์

โดยในปีนี้เป็นปีแรกที่ หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องของไทยได้ส่งนักวิชาการและ

นักวิทยาศาสตร์ นักวิจัยมาร่วมโครงการแลกเปลี่ยนนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ เพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับระบบรางของจีน

ดิฉันได้มีโอกาสสนทนากับ ดร. ชยากร ปิยะบัณฑิตกุล นักวิชาการจาะโครงการจัดตั้งสถาบันพัฒนาเทคโนโลยีระบบขนส่งทางรางแห่งชาติ ภายใต้ สวทช. กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และ คุณภณสินธุ์ ไพทีกุล นักวิชาการจากสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งเป็นนักวิชาการ 2 ใน 8 คนที่มาร่วมโครงการนี้

ทั้งสองคน เล่าให้ฟังเกี่ยวกับการมาเรียนรู้เทคโนโลยีระบบรางของจีน

1 2
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
ตอบคำถามออนไลน์
ทบทวนรายการน่าสนใจ
ภาพยอดฮิต
เว็บไซต์ึเพื่อนซีอาร์ไอ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Play Stop
© China Radio International.CRI. All Rights Reserved.
16A Shijingshan Road, Beijing, China. 100040