การที่ท่านนายกรัฐมนตรีเวิน เจียเป่า กล่าวว่า ต่อไปจะใช้งบประมาณร้อยละ 4 ของจีดีพีเป็นงบประมาณการศึกษานั้น ตรงนี้ยิ่งมองเห็นชัดว่า นี่คือวิถีทางจะทำเป็นรูปธรรม เพราะว่าการศึกษาก็ต้องเป็นการลงทุนเหมือนกัน ยิ่งประเทศจีนที่มีคนจำนวนมากมาย ถ้าไม่มีเงินพอนั้น แม้นโยบายดีก็จะไม่สำเร็จ ถ้ามีทั้งนโยบายและมีหลักการว่า จะใช้งบประมาณอย่างไร ก็จะนำไปสู่ความสำเร็จได้
ที่ว่าจะพัฒนาการศึกษาตามหลักวิทยาศาสตร์ หมายความว่าพัฒนาการศึกษาตามหลักเหตุและผล เหตุมีตรงไหน ปัญหามีตรงไหน ก็แก้ปัญหาตรงนั้น ทำตรงนั้นให้ดีขึ้น การพัฒนาการศึกษาให้มีความหลากหลาย อันนี้ยิ่งเห็นชัดว่า ที่จะนำไปสู่ความเป็นรูปธรรม
เกี่ยวกับเรื่องความเสมอภาคทางการศึกษาระหว่างเมืองกับชนบท ดิฉันมองอย่างนี้ คนเราในสังคมหนึ่ง มันก็มีอะไรที่ไม่เท่ากัน ผู้ที่จบชั้นประถมปลายหรือมัธยมต้น และเขาสามารถได้รับการศึกษาที่จะพัฒนาไปเป็นช่างฝีมือดีกว่าเป็นแรงงาน การศึกษาต้องสอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่น ความต้องการของสังคม และความต้องการของประเทศ
เดี๋ยวนี้ โลกอยู่ในยุคโลกาภิวัตน์ อาจจะส่งกำลังพวกนี้ออกไปทำงานต่างประเทศ ซึ่งจีนก็ทำเป็นประจำ ถ้าเขามีการศึกษาดีและหลากหลาย เขาก็มีงานทำได้มาก และจะนำชื่อเสียง นำรายได้เข้าประเทศได้อีกด้วย
สำหรับการจัดการศึกษาให้ยุติธรรม ตรงนี้ก็ยิ่งดี ทุกคนก็จะบอกว่า คนเมืองใหญ่จะมีโอกาสมากกว่าคนในเมืองเล็ก คนในเมืองมีโอกาสมากกว่าคนชนบท ซึ่งดูเผิน ๆ ก็เป็นอย่างนั้น แต่ดิฉันคิดว่า รัฐบาลเร่งได้และทำเป็นรูปธรรมได้
คำว่าพัฒนาการศึกษาให้เกิดความยุติธรรม ก็มุ่งเสริมพัฒนาการศึกษาท้องถิ่นและการศึกษาชนบทให้ดีขึ้น เมื่อมีการศึกษา ความยุติธรรมก็มีมากยิ่งขึ้น ในความคิดของดิฉันก็คือ ทุกคนได้รับการศึกษา แน่ใจได้เลยว่า ประชาชนจะมีคุณภาพสูงขึ้นทั้งคุณภาพการศึกษา และทั้งคุณภาพชีวิตที่จะมีต่อไป อีกทั้งจะส่งผลที่ประเทศด้วย
คุณนรินรัตน์:ในมุมมองของ อ.เฉิน ลี่ การประชุม "สองสภา" ของปีนี้มีประเด็นอะไรบ้างที่น่าสนใจในด้านของการศึกษา
อาจารย์เฉินลี่:การประชุมสองสภาของปีนี้มีประเด็นที่น่าสนใจหลายประการ สำหรับด้านการศึกษา ที่สำคัญที่สุดคือ รัฐบาลจะจัดสรรงบประมาณร้อยละ 4ของจีดีพีเป็นงบประมาณการศึกษา ซึ่งเพิ่มจากร้อยละ 3.5 ของปีที่แล้ว ซึ่งแสดงให้เห็นว่ารัฐบาลจีนให้ความสำคัญด้านการศึกษามากขึ้นเรื่อย ๆ นอกจากนี้ ยังมีหลายประเด็นที่น่าสนใจ เช่น ยกระดับคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน โดยจะขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ ถือเป็นข่าวดีสำหรับประชาชนโดยทั่วไป
คุณนรินรัตน์:เค้าโครงแผนปฏิรูปและพัฒนาการศึกษาระยะกลางและระยะยาวแห่งชาติระหว่างปี 2010-2020 ได้กำหนดเป้าหมายการปฏิรูปและพัฒนาด้านการศึกษาของจีนในปี 2020 อีกทั้งกำหนดทิศทางและแนวคิดการพัฒนาด้านการศึกษาของจีนในอีก 10 ปีข้างหน้า อาจารย์เฉิน ลี่ คิดว่า เค้าโครงฉบับนี้จะนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงอย่างไรต่อสถาบันอุดมศึกษาของจีน
อาจารย์เฉินลี่:แผนฉบับนี้จะเน้นปฏิรูปการศึกษาของจีน และจะทำให้สถาบันอุดมศึกษาจีนเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างแน่นอน ที่เห็นได้ชัดคือ เน้นคุณภาพการเรียนการสอน จะปรับปรุงหลักสูตรระดับปริญญาตรี อย่างเช่น ปัจจุบัน ต้องเรียน 4 ปีถึงจะจบปริญญาตรีได้ ในวันข้างหน้า อาจจะไม่กำหนดเวลาอย่างตายตัวว่าต้องเรียน 4 ปี อาจจะไม่ถึง 4 ปีก็ได้ ถ้าเรียนให้ครบหน่วยกิตแล้ว ก็จบได้แล้ว จบเร็ว ทำงานเร็ว
คุณนรินรัตน์:อาจารย์เกื้อพันธุ์มีความเข้าใจอย่างไรต่อความเสมอภาคทางการศึกษา ทำอย่างไรในการลดช่องว่างทางการศึกษาเพื่อพัฒนาการศึกษาระหว่างเมืองกับชนบทให้สมดุลกัน
อาจารย์เกื้อพันธุ์:ปัญหาอย่างนี้น่าจะเป็นปัญหาของทุกประเทศ เรามองว่า ในเมืองแบบหนึ่ง ในชนบทแบบหนึ่ง จริง ๆ แล้ว ถ้าจะให้สองที่เหมือนกัน ก็เป็นไปไม่ได้ ดิฉันเข้าใจว่า ความเสมอภาคด้านการศึกษาก็หมายความว่า ในชนบทเร่งพัฒนาการศึกษาให้ขยายตัวขึ้น ให้ก้าวหน้าขึ้น ให้ทันสมัยขึ้น โรงเรียนในชนบทน่าจะมีเครื่องมือ อุปกรณ์ สื่อการเรียนการสอนต่าง ๆ ได้อย่างที่โรงเรียนในเมืองมี รัฐบาลท้องถิ่น รัฐบาลกลางจะเพ่งเล็ง เอาใจใส่พัฒนาคุณภาพครู ถ้าครูดี โรงเรียนดี แน่นอน เด็กดี
จริง ๆ เรื่องนี้เป็นปัญหาทั่วโลก แม้ประเทศที่พัฒนาแล้วอย่างสหรัฐอเมริกา ดิฉันเชื่อว่าปัญหาอย่างนี้ก็มี อย่างเช่นประเทศออสเตรเลีย ซึ่งเป็นประเทศที่ใหญ่มาก และคนก็อยู่อย่างกระจัดกระจาย แน่นอนคนที่อยู่ในชนบทไกล ๆ เขาไม่สามารถจะเรียนอยู่ในระบบได้ วิธีการที่ประเทศออสเตรเลียทำก็คือ ต้องให้การศึกษาทางไกล นั่นก็คือวิธีแก้ของออสเตรเลีย
ประเทศไทยเป็นเล็ก ไม่ร่ำรวยเหมือนประเทศจีน การศึกษาในชนบทกับในเมืองก็ต่างกัน งบประมาณก็ไม่ได้มากมายนัก ประเทศไทยก็ใช้วิธีการหลายอย่าง เช่น จัดโรงเรียนพี่โรงเรียนน้อง โรงเรียนขึ้นชื่อในเมืองใหญ่ เช่นโรงเรียนสวนกุหลาบไปมีโรงเรียนน้องอยู่ในต่างจังหวัด วิธีการเรียนการสอนก็ถ่ายทอดถึงกัน ซึ่งก็เป็นวิธีหนึ่งที่จะให้โรงเรียนในชนบทเพิ่มขึ้น ในประเทศไทย เรายอมรับว่า ชนบทกับเมืองมีสถานะต่างกัน แต่เราก็พยายามเพิ่มความเสมอภาคทางการศึกษา เด็กชนบทของเรามีครูตู้ อย่างที่โครงการโรงเรียนไกลกังวล พอท่านจัดรายการก็ส่งรายการออกไป นักเรียนที่อยู่ต่างจังหวัดก็จะดูโทรทัศน์ นักเรียนจะได้ความรู้และสามารถที่จะถาม และก็ส่งมาที่ศูนย์ แล้วก็จะตอบให้ เราใช้วิธีการอย่างนี้ก็เพื่อให้เกิดความเสมอภาค
ความจริงการเรียนการสอน ครูเป็นตัวหลัก ขอให้ครูตั้งใจจริง ทำงานจริง รักลูกศิษย์จริง เด็กในโรงเรียนชนบทหลายโรงเรียนไม่แพ้โรงเรียนในเมืองเลย ถ้ามีครูอย่างนี้
ระบบการศึกษาทางไกลของจีนทันสมัยมาก โดยใช้ระบบอินเตอร์เน็ต ดิฉันเชื่อว่า สิ่งเหล่านี้จะช่วยลดช่องว่างทางการศึกษาระหว่างชนบทกับตัวเมืองได้ นโยบายดังกล่าวนี้คงไม่เสร็จภายในหนึ่งปีสามปีหรือห้าปี แต่เมื่อรัฐบาลจีนลงมือทำ ในอีก 3 ปีข้างหน้าจะดีกว่านี้ ความเสมอภาคจะเกิดขึ้นเรื่อย ๆ