คุณชุย:อาจารย์มีความคิดเห็นอย่างไรต่อการที่นักศึกษาสำเร็วการศึกษาแล้ว แต่ไม่มีงานทำ
อาจารย์เกื้อพันธุ์:ดิฉันเรียนให้ทราบว่า ความจริง ประเทศจีนกับประเทศไทยต่างกันมาก เมื่อตอบปัญหาคุณนลินรัตน์ที่ผ่านมา ดิฉันชี้ให้เห็นว่ากำลังเร่งขยายอุดมศึกษา เมื่อขยายมาก แน่นอน ตัวป้อนมากกว่าตัวรับ เพราะฉะนั้น นักศึกษาไทยดูผืนๆ เตรียมตัวตกงานตั้งแต่สอบเข้า พูดกันตรงๆ นะคะ ยกเว้นสาขาที่เป็นสาขาต้องการสูง แล้วความต้องการสูงมันมีไม่เกิน 10 ปี เพราะฉะนั้น ถ้าจะมองว่านักศึกษาหรือบัญฑิตไทยทำอย่างไร ตรงนี้รัฐบาลเองต้องเตรียมตัว เมื่อ 20 ปีที่แล้ว รัฐบาลก็ประกาศนโยบายว่า จริงๆ นักศึกษามหาวิทยาลัยน่าจะหันเข้าสู่อาชีพอิสระ คือไม่คอยแต่งาน ถ้าว่าไปแล้วมันก็ได้ผล เพราะอยู่ในพื้นฐานที่ว่าจะตกงาน คุณทำยังไง ถ้ามองจากอย่างในมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่ เจารู้ว่าจบแล้วจะได้งานหรือเปล่าก็ไม่รู้ ฉะนั้น ระหว่างที่เรียน เขาจะคอยดูว่า ที่ไหน จะรับอะไร รับมีคุณสมบัติยังไง เช่น เรียนภาษาไทย แต่ต้องเป็นคอมพิวเตอร์ด้วย พวกนี้ก็จะเลือกวิชาคอมพิวเตอร์ เรียนข้างในไม่พอ ออกเรียนข้างนอก พูดง่ายๆ ว่านักศึกษาต้องการมีเตรียมตัว ตรงนี้ดิฉันมองว่า นักศึกษาจีนเตรียมตัวน้อย พูดอย่างนี้อาจจะมากไป เอาเป็นว่านักศึกษาจีนที่ดิฉันสอนอยู่ค่อนข้างจะเตรียมตัวน้อย ทุกคนก็จะตั้งใจเรียน แต่ไม่ได้ดูเลยว่า ถ้าเราไม่ได้ทำงานภาษาไทย คุณจะทำงานอย่างอื่นได้ไหม เพราะฉะนั้น ตรงนี้ก็จะพูดถึงว่า การไม่มีงานทำ ความจริงดิฉันก็เห็นด้วยที่นักศึกษาพอจบไปก็เป็นข้าราชการ สิ่งหนึ่งที่คุณต้องยอมรับว่าคุณยังไม่มีประสบการณ์พอ เรื่องนี้ในไทย เราจะมีครู 5 ปี หมายความว่า คุณจะเรียนอะไรก็ช่าง ต้องเรียนวิชาครูอีก 1 ปี เพื่อจะออกไปเป็นครู ความจริง ตัวดิฉันเองก็ทำอย่างนี้ จบอักษรศาสตร์แล้ว ไปเรียนครูศาสตร์อีก 2 ปี เพราะอยากเป็นครู เพราะฉะนั้น เมื่อไปทำงานก็ทำได้ ตรงนี้นักศึกษาไทยได้ดูหรือเปล่า ปกตินักศึกษาจีนที่ดิฉันสงสัยก็คือ ทำไมนึกว่าจบปริญญาตรีแล้ว เราเท่านั้นเลิศแล้วในโลก ซึ่งมันไม่ใช่ คุณจบแล้วคุณจะรู้ส่วนที่คุณรู้ แต่ส่วนที่คุณไม่รู้ยังมีอีกมากใช่ไหม ทำไมไม่ขยายความคิดอย่างนี้ ทำไมไม่เรียนรู้อย่างอื่น จริงละ นักศึกษาจีนทุกคนรู้ว่าเดี๋ยวนี้ต้องรู้ภาษาต่างประเทศ 2 ภาษา แล้วอย่างอื่นล่ะ สมมุดคุณอยากไปทำงานที่สถานีวิทยุซีอาร์ไอ ตัวคุณควรเตรียมตัวใช่ไหม คุณมาฝึกงานก่อน นี่ต่างหากที่เป็นข้อที่เขาเลือกคุณ งั้นนักศึกษาเสียกำลังใจเรียนมาตั้ง 4 ปีแล้วทำไมยังไม่ได้งาน ดิฉันก็รู้สึกว่านักศึกษาค่อนข้างมองแคบเกินไป ควรจะทำอะไรที่กว้างกว่านั้น และคำว่าได้งานไม่ได้หมายความว่าต้องเป็นงานรัฐบาลเท่านั้น หรือต้องงานบริษัทเท่านั้น มองงานอื่นด้วยไหม นักศึกษาในไทยหลายคนจบปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ แต่ว่าคุณแม่เขาทำไก่ทอดอยู่ที่ตลาด ทอดหมู ทอดอะไรต่ออะไร ลงท้ายคนนี้ที่ออกไปทำงานบริษัทได้สตางค์ตั้งเยอะลาออก และมาทำงานกับแม่ ถามจริงๆ ว่า ลูก คุณได้รายได้เท่าไหร่ ก็นึกถึงคุณทำงานบริษัท นึกออกไหม เขาบอกว่ามากกว่าทำงานบริษัท 3 เท่า แล้วก็ถามว่าที่เรียนมาเสียเปล่าใช่ไหม ไม่ใช่เลย หนุ่มคนนี้เขาใช้ความรู้เทคโนโลยีการอาหารที่เขาเรียนรู้มา เขามาปรับ มาพัฒนา มันน่าจะเป็นอย่างนี้ต่างหาก เพราะฉะนั้น นักศึกษาที่เรียนมหาวิทยาลัยไม่ควรคิดว่าตัวเองฉันยอดแล้ว แต่ควรจะเตรียมการเพื่อที่จะทำงาน อย่าเอาแต่ใจเสียอย่างเดียว ชีวิตมันยังต้องสู้ ความจริงมันก็เป็รอย่างนั้น
คุณนรินรัตน์: อาจารย์มีความคิดเห็นอย่างไรต่อการขยายความร่วมมือและการแลกเปลี่ยนในระดับอุดมศึกษาระหว่างจีน-ไทยให้มากขึ้น
อาจารย์เกื้อพันธุ์:ในฐานะที่จีน และไทยเป็นมิตรประเทศ ดิฉันก็เห็นด้วยอย่างยิ่ง การตั้งสถาบันขงจื๊อ ซึ่งได้ทราบว่าในประเทศไทยมีจำนวนมากกว่าทุกประเทศในโลก ตรงนี้นับว่าสถาบันขงจื๊อนั้นมีส่วนในการที่ทำให้การศึกษาภาษาจีนแพร่หลายสู่ประชาชนทั่วประเทศ เพราะว่าหลักของเขาคือ เขาจะสอนภาษาจีน สอนวัฒนธรรมจีน โดยไม่คำนึงถึงกำไร คล้ายๆ ว่าเลี้ยงตัวได้ก็ได้ จุดตรงนี้ก็เลยเป็นเหตุให้คนที่เข้าไปประจำอยู่สามารถที่จะสอน หรือสามารถที่จะร่วมมือกับโรงเรียนไหนที่ไม่มีครู แล้วอยากเปิดสอนภาษาจีน มันก็ได้ขึ้นมา อันนี้เป็นข้อดีมาก แต่ทีนี้ถ้ามองออกไป ดิฉันก็มองว่า ในระดับพื้นฐาน สถาบันขงจื๊อในประเทศไทยดิฉันไม่ได้ดูที่อื่น เขาก็ทำได้ แต่ว่าถ้าได้สามารถลงลึกกว่านี้ นั่นก็คือเน้นการสอนถึงระดับอุดมศึกษา หรือระดับมหาบัญฑิต สถาบันขงจื๊อก็มีประโยชน์มากยิ่งขึ้น เพราะว่าแต่ละสถาบันในแต่ละที่ดูกิจกรรมที่เขาทำกันก็คล้ายๆ กัน เพราะฉะนั้น ถ้ามีกิจกรรมอะไรที่เด่นขึ้นมา แล้วก็จะช่วยทำให้เกิดประโยชน์ในด้านการเรียนการสอนภาษาจีนที่ลึกมากขึ้น อันนี้น่าจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง อยากเสนอแนะตรงนี้นะคะ
คุณนรินรัตน์: ขอให้อาจารย์ช่วยกล่าวถึงความหวัง และความปรารถนาที่จะเห็นการศึกษาของจีนเป็นเช่นดั่งเศรษฐกิจของจีนที่จะพัฒนากลายเป็นระดับหนึ่งของโลก
อาจารย์เกื้อพันธุ์:เพราะว่าเป็นชาวต่างชาติที่อยู่ในจีนนานแล้ว แล้วก็ที่มาอยู่ติดต่อกันปีนี้ก็เป็นปีที่ 6 ดิฉันมองว่าประเทศจีนก้าวหน้ารวดเร็วมาก เรื่องที่เรายอมรับทั่วโลกก็คือ ก้าวหน้าในทางเศรษฐกิจ แต่ว่าในเรื่องการศึกษา ดิฉันจำได้ว่า เมื่อประมาณปี 2506 2507 ซึ่งเป็นระยะเตรียมการที่จะมีกิฬาโอลิมปิก ตอนนั้นก็พบว่า ทางสถาบันศึกษาก็ดี ทางรัฐบาลก็ดีก็เร่งให้นักศึกษารู้ภาษาต่างประเทศ อย่างน้อยรู้อยู่แล้ว เช่นนักศึกษาที่เรียนมหาวิทยาลัยภาษาต่างประเทศปักกิ่ง ตรงนี้ก็มีการรณรงค์หลายอย่างเพื่อจะให้เกิดความรู้ภาษาอังกฤษ ซึ่งน่าจะนับว่าเป็นภาษากลาง อบรมโชเฟอร์แท็กซี่ อบรมคนขายของ ดิฉันก็มองว่า การทำงานตรงนี้ทำได้อย่างเป็นรูปธรรม เพราะฉะนั้นก็เรียกว่า การศึกษานี้ขยับขึ้นมา คือทำให้คนจีนสามารถติดต่อกับชาวต่างชาติ เอื้ออำนวยประโยชน์ทั่งต่อตัวเอง และต่ออีกฝ่ายหนึ่งได้ เพราะเดี๋ยวนี้ในโลกยุคปัจจุบันนั้น คงจะต้องเอื้ออำนวยประโยชน์ต่อกัน ถ้าถามถึงความหวังที่จะเห็นการศึกษาของจีนก้าวหน้าไปนั้น บอกตรงๆ นี่เป็นความหวังจริงๆ ในฐานะครูคนหนึ่ง เราก็หวัง เพราะว่าในส่วนที่เราจะไป ดิฉันบอกตรงๆ เลยว่า ถ้าออกไปภาษาจีนก็ไม่รู้ แล้วก็ออกไปต่างมณฑลมากๆ ภาษาอังกฤษก็ลำบาก เพราะฉะนั้นดิฉันก็มีความหวังว่า ใน 10 ปี หรือในอีก 20 ปีข้างหน้า การศึกษาในประเทศจีนนั้นก็จะก้าวหน้า มันอาจจะไม่เร็วเหมือนเศรษฐกิจ เพราะเศรษฐกิจเป็นเรื่องเงินเรื่องค้าขาย มันทำได้เร็ว แต่การศึกษาเป็นเรื่องค่อนข้างช้า มันไม่สามารถจะเอา1+1 เป็น 2 ได้ แต่เชื่อว่า ด้วยความพยายามของรัฐบาล ทั้งรัฐบาลกลาง อย่างเช่น การประชุมสองสภา และความพยายามของรัฐบาลท้องถิ่น ดิฉันก็มีความหวังว่า การศึกษาของประเทศจีนจะก้าวขึ้นไป เรียกว่าอยู่ในฐานะอันดับ 1 ของเอเชียในเวลาไม่ไกล และก็จะก้าวขึ้นสู่ระดับแนวหน้าของโลกในอนาคตข้างหน้า ดิฉันหวังอย่างนั้น
คุณนรินรัตน์: คุณผู้ฟัง ผู้ชมคะ รายการสำหรับวันนี้ก็ดำเนินมาเป็นเวลาพอสมควรแล้ว เรารู้สึกเป็นเกียรติ และยินดีอย่างยิ่ง ในโอกาสนี้ขอขอบพระคุณอาจารย์ทั้งสองท่านที่ได้สระเวลา และให้เกียรติมาแสดงมุมมองในด้านการศึกษาในวาระของการประชุมสองสภาของจีนในวันนี้ค่ะ สวัสดีค่ะ
(Zhou/CiCi/Cui)