อาจารย์ทั้งจีนและไทยแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับคำรายงานผลการดำเนินงานของรัฐบาลจีนประจำปี 2011
  2011-03-11 10:26:53  cri

คุณนรินรัตน์:อยากจะเรียนถามอาจารย์เฉินลี่นะคะว่า ภาคภาษาไทยของมหาวิทยาลัยภาษาต่างประเทศปักกิ่งมีวิธีการอย่างไรที่จะเพิ่มคุณภาพในการเรียนการสอนเพื่อที่จะผลิตบุคคากรระดับคุณภาพ

อาจารย์เฉินลี่:สำหรับภาควิชาภาษาไทย ข้อหนึ่ง เราก็จะปรับปรุงหลักสูตรการเรียนการสอนทุก 3 ถึง 4 ปีค่ะ หลักสูตรการเรียนการสอนที่ใช้ในปัจจุบันตั้งขึ้นในปีค.ศ. 2007 ค่ะ ตั้งแต่ปีที่แล้วจนถึงปีนี้ก็กำลังรวมข้อเสนอแนะจากอาจารย์และนักศึกษา กำลังปรับปรุงอยู่ อย่างเช่นวิชาใดที่ไม่ได้ผลเท่าที่ควร ก็อาจจะลดชั่วโมงเรียนในรุ่นหน้า วิชาใดที่ได้รับความนิยมจากนักศึกษา ก็อาจจะเพิ่มชี่วโมงเรียน ข้อสองก็คือ ตอนนี้จะพัฒนานักศึกษาให้เป็นบุคลากรแบบมีความรู้รอบด้าน ก็คือจะสนับสนุนพวกเขาไปเรียนเพิ่มเติมวิชาอื่น ๆ ไม่เพียงแต่ภาษาต่างประเทศเท่านั้น จะให้พวกเขาไปเลือกวิชาที่ตนเองชอบ สนใจ หรือว่าที่เกี่ยวข้องกับวิชาที่วิชาเอกของตัวเองไปเรียนที่มหาวิทยาลัยปักกิ่ง ชิงหวา เหรินต้าก็ได้ค่ะ ข้อสามก็คือเราก็จะพยายามดำเนินโครงการแลกเปลี่ยนกับมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่อยู่ค่ะ นอกจากมีการแลกเปลี่ยนทางด้านอาจารย์แล้ว ก็ยังมีโครงการแลกเปลี่ยนทางด้านนักศึกษาด้วยค่ะ ตรงนี้ เราก็อยากจะให้นักศึกษาวิชาเอกภาษาไทยของมหาวิทยาลัยภาษาต่างประเทศปักกิ่งเรียนในรูปแบบ "3+1" ก็คือ 3 ปีเรียนที่มหาวิทยาลัยภาษาต่างประเทศปักกิ่ง แล้วก็อีกหนึ่งปี ไปเรียนที่ราชภัฎเชียงใหม่ ตอนนี้กำลังปรึกษากับราชภัฎเชียงใหม่อยู่ จะโอนหน่วยกิตอย่างไร จะเปิดสอนวิชาอะไรค่ะ

คุณนรินรัตน์:ประเทศไทยมีประสบการณ์อย่างไรบ้างในการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา การเพิ่มคุณภาพการเรียนการสอน และการผลิตบุคลากรระดับสากล

เกื้อพันธุ์-ขอเรียนเพิ่มเติมของอาจารย์เฉินลี่นิดหนึ่ง จริงๆ แล้วที่บอกว่าส่วนหนึ่งที่ถามว่า มหาวิทยาลัยภาษาต่างประเทศปักกิ่งผลิตบุคลากรระดับสากลอย่างไร มีโครงการหนึ่งที่ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง เราเปิดสอนปริญญาโทสาขาการแปลจีน-ไทย ไทย-จีน ทางแม่ฟ้าหลวงจะสอนทางทฤษฎี ทางมหาวิทยาลัยภาษาต่างประเทศปักกิ่งโดยภาควิชาภาษาไทยก็จะสอนปฏิบัติ ด้วยวิธีนี้ เราผลิตบุคคลที่ออกมาถึง 2 รุ่น ถ้านับจำนวนอาจจะน้อยนิดหนึ่ง เพราะรุ่นแรกโครงการนำร้องมี 1 คน ซึ่งเมื่อจบออกไปแล้ว เขาเป็นข้าราชการกระทรวงการต่างประเทศของไทย เพราะฉะนั้น งานแรกที่มาทำในจีนก็คือเป็นล่ามให้ท่านนายกรัฐมนตรีไทยนะคะ อย่างนี้เห็นจะเรียกได้ว่า มหาวิทยาลัยภาษาต่างประเทศนั้นผลิตบุคลากรระดับสากล รุ่นที่ 2 ที่ทำนี่ก็เป็นอาจารย์ของมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ทั้งสองคนนั้นเป็นผู้แปล 5 สหัสวรรษแห่งอักษรจีน แล้วก็โดยพื้นฐานเขาก็เป็นนักแปล คนหนึ่งเป็นนักแปลอาชีพอยู่แล้ว อีกคนก็เป็นครูภาษาจีนที่เก่งมาก และขณะนี้กำลังเรียนปริญญาเอกอยู่ นี่คืองานที่มหาวิทยาลัยภาษาต่างประเทศปักกิ่งได้ร่วมกัน เมื่อกี่นี้ที่บอกว่า สถาบันอุดมศึกษาในไทยทำอะไรบ้าง ที่บอกว่าที่เป็นการพัฒนาสถาบัน ดิฉันอยากเรียนให้ทราบว่า ในขณะนี้ กระแสจีนแรงมากในไทย ในประเทศจีนเปิดมหาวิทยาลัยสอนภาษาไทย 8 แห่ง ใช่ไหมคะ แต่ในประเทศไทยเกือบทุกมหาวิทยาลัยก็เรียนภาษาจีน ดิฉันอยากยกตัวอย่างว่า เช่นมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ซึ่งเปิดสอนธุรกิจจีนศึกษา เขามีความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยชั้นนำในจีน 8 แห่งที่จะส่งนักศึกษาขณะที่เรียน 1 ปีเขาจะมาเรียนที่นี่ อันนี้ สงขลานครินทร์น่าจะทำอย่างกว้างขวางที่สุด แต่ว่าที่อื่นก็ทำ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่เองก็ทำ หลายมหาวิทยาลัยทำอย่างนี้ และการเรียนการสอนภาษาจีนในจุฬาฯ เขาก็มีกำหนดว่า 1 เทอมคุณจะต้องมาวิจัยในปักกิ่ง โดยที่มีศาสตราจารย์ของมหาวิทยาลัยปักกิ่งที่เป็นคู่สัญญาควบคุมดูแล เพราะฉะนั้นในไทยก็พยายามอย่างนี้ ตัวอย่างที่ยกมานี้เป็นเรื่องภาษาจีน แต่อย่างไรก็ตาม เราเรียกว่าทุกสถาบันอุดมศึกษาของไทยก็ทำเรื่องนี้ มหาวิทยาลัยบูรพาเขาก็มีคู่สัญญา เกือบทุกที่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่มีกับมหาวิทยาลัยชนชาติยูนนานอะไรทำนองนั้น ที่จะมีการแลกเปลี่ยนนักศึกษากัน ระบบ 3 -1 หรือ 2-2 นั้นได้ทำกันหลายที่ เพราะฉะนั้น ถ้าดูตรงนี้หมายความว่า เราเป็นบุคลากรที่จะก้าวออกไปนอกประเทศได้ ตรงนี้ดิฉันไม่สันทัดกับมหาวิทยาลัยที่เป็นเรื่องอื่นๆ เช่นที่เป็นเรื่องวิทยาศาสตร์ เรื่องการแพทย์ แต่ก็ทราบว่าในทางวิทยาศาสตร์เราก็มีการสนับสนุนอย่างนี้กัน ในไทยก็ทำอย่างนั้นค่ะ

คุณชุย:อาจารย์มีความพอใจต่อระบบสวัสดิการของอาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษาหรือไม่อย่างไร

อาจารย์เฉินลี่:เมื่อท่านอธิการบดีของมหาวิทยาลัยชิงหวามีข่าวนี้ออกมา ดิฉันคิดว่า ไม่ว่าใครก็จะรู้สึกตื่นเต้นมากเลย ดิฉันก็เช่นเดียวกัน แต่ว่าถ้าจะถามถึงมหาวิทยาลัยภาษาต่างประเทศปักกิ่งมีนโยบายนี้หรือเปล่า ดิฉันคิดว่า แต่ละมหาวิทยาลัยจะมีสภาพไม่เหมือนกัน ถ้ามหาวิทยาลัยภาษาต่างประเทศปักกิ่งจะมีนโยบายนี้เหมือนกัน จะรู้สึกยินดีมาก ถ้าไม่มีก็โอเค ไม่มีอะไร ถ้าพูดถึงรายได้หรือว่าสวัสดิการของอาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษาของจีนั้น ถือว่าปัจจุบันนี้อยู่ในระดับปานกลาง แต่ว่าในการประชุมสองสภาปีนี้ จะจัดสรรงบประมาณให้กับทางด้านการศึกษาเพิ่มเป็น 40% ดิฉันคิดว่ารายได้หรือว่าสวัสดิการอาจารย์ก็จะเพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ แน่นอน ยังไงก็จะมีแนวโน้มที่ดีสำหรับสวัสดิการของอาจารย์

1 2 3 4 5
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
时政
v จีนบรรลุเป้าหมายการสร้างระบบกฎหมายแห่งสังคมนิยมที่มีเอกลักษณ์ของจีน 2011-03-10 14:02:48
v กล้องใครจะใหญ่จะยาวกว่ากัน 2011-03-10 13:40:12
v การประชุมสภาผู้แทนประชาชนแห่งชาติจีนชุดที่ 11 ครั้งที่ 4 จัดการประชุมเต็มคณะครั้งที่ 2 2011-03-10 11:15:28
v กรรมการสภาปรึกษาการเมืองแห่งชาติเรียกร้องให้เพิ่มงบประมาณเพื่อสังคม 2011-03-09 16:54:14
v จีนเร่งร่างกฎหมายประกันให้ประชาชนมีบ้านอยู่ 2011-03-09 16:51:30
v นายหลี่ เค่อเฉียงร่วมประชุมกับคณะ 2011-03-09 15:42:59
v นายโจว หย่งคังร่วมประชุมกับคณะ 2011-03-09 15:41:49
v นายหลี่ ฉางชุนร่วมประชุมกับคณะผู้แทน 2011-03-09 15:40:41
v นายเจี่ย ชิ่นหลินร่วมประชุมกับกรรมการวัฒนธรรมและศิลปะ 2011-03-09 15:39:44
v พุทธศาสนามีส่วนส่งเสริมสังคมแห่งสมานฉันท์ 2011-03-09 15:38:05
v อุปนายกสมาคมพุทธศาสนาจีนให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวซีอาร์ไอ 2011-03-09 10:38:13
CRI
v อาจารย์ทั้งจีนและไทยแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับคำรายงานผลการดำเนินงานของรัฐบาลจีนประจำปี 2011 (3) 2011-03-15 14:44:17
v อาจารย์ทั้งจีนและไทยแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับคำรายงานผลการดำเนินงานของรัฐบาลจีนประจำปี 2011 (2) 2011-03-15 10:58:20
ตอบคำถามออนไลน์
ทบทวนรายการน่าสนใจ
ภาพยอดฮิต
เว็บไซต์ึเพื่อนซีอาร์ไอ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Play Stop
© China Radio International.CRI. All Rights Reserved.
16A Shijingshan Road, Beijing, China. 100040