วันที่ 7 มีนาคมที่ผ่านมา ทางการฟิลิปปินส์ประกาศจะจัดการซ้อมรบร่วมกับสหรัฐฯ ในรหัส "เคียงบ่าเคียงไหล่"ครั้งที่ 28 ที่น่านน้ำทะเลจีนใต้ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกของเกาะปาลาวันระหว่างวันที่ 16-27 เมษายนนี้ ในวันเดียวกัน ประชาชนฟิลิปปินส์จำนวนมากรวมตัวกันประท้วงที่หน้าสถานทูตสหรัฐฯ ประจำกรุงมะนิลา และเกิดการปะทะกับตำรวจ ผู้ประท้วงชูคำขวัญต่างๆ เช่น"กองทหารสหรัฐฯ จงออกไปทันที" คัดค้านการซ้อมรบร่วมระหว่างสหรัฐฯ กับฟิลิปปินส์ที่จะจัดขึ้น และการแทรกแซงทางการทหารของสหรัฐฯ ในเขตเอเชียแปซิฟิกที่เพิ่มมากยิ่งขึ้น
วันที่ 8 มีนาคมที่ผ่านมาว่า องค์การสตรีฟิลิปปินส์มาประท้วงหน้าสถานทูตสหรัฐฯ ประจำฟิลิปปินส์และประกาศแถลงการณ์ โดยระบุว่า "สหรัฐฯ กำลังเพิ่มกำลังทหารในเขตเอเชียแปซิฟิก โดยเฉพาะในฟิลิปปินส์ ขณะเดียวกัน รัฐบาลฟิลิปปินส์ก็ยอมรับการกระทำดังกล่าวนี้ของสหรัฐฯ" แถลงการณ์ฉบับนี้วิพากษ์วิจารณ์ว่า ปัญหาทะเลจีนใต้ได้เพิ่มความไม่มั่นคงที่แอบแฝงในเขตเอเชียแปซิฟิก และเห็นว่า"ข้อพิพาทเกี่ยวกับบูรณภาพเหนือดินแดนมีแต่แก้ไขภายใต้กลไกการเจรจาระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง" และ "การแทรกแซงจากภายนอกหรือใช้กำลังทางการทหารไม่สามารถแก้ไขปัญหา"
นับตั้งแต่ต้นปีนี้ ภายในประเทศฟิลิปปินส์เกิดการเคลื่อนไหวประท้วงรัฐบาลที่ส่งเสริมความร่วมมือทางการทหารกับสหรัฐฯ หลายครั้ง วันที่ 5 มีนาคมที่ผ่านมา แนวร่วมประชาธิปไตยชนชาติฟิลิปปินส์ประกาศแถลงการณ์เรียกร้องให้สหรัฐฯ ถอนทหารออกจากฟิลิปปินส์ โดยระบุว่า "หากสหรัฐฯ ยังเพิ่มกำลังทหารในฟิลิปปินส์ต่อไปจะนำมาซึ่งความเป็นไปได้ที่เกิดอันตรายและการปะทะ"
นอกจากนี้ การซ้อมรบร่วมระหว่างสหรัฐฯ กับฟิลิปปินส์ในรหัส"เคียงบ่าเคียงไหล่"ในปีนี้มีแตกต่างกันกับครั้งก่อนๆ ซึ่งยืนอยู่บนพื้นฐานของกลไกแบบพหุภาคี และมีหลายประเทศเข้าร่วมกัน แหล่งข่าวแจ้งว่า นอกจากกองทหารของสหรัฐฯ กับฟิลิปปินส์แล้ว ยังมีผู้แทน 20 คนจากประเทศอาเซียนและญี่ปุ่น ออสเตรเลีย เกาหลีใต้เข้าร่วม ซึ่งการซ้อมรบร่วมระหว่างสหรัฐฯ กับฟิลิปปินส์มีแนวโน้มที่จะพัฒนาขึ้นเป็นระดับภูมิภาคในอนาคต
(Ton/zheng)