วิกฤตสังคมคนชรา (1)
  2012-05-23 16:07:23  cri

ขณะนี้ โครงสร้างประชากรของสหรัฐดีกว่าจีน โดยมีอัตราการเกิด 2.1 หรือเฉลี่ยแล้วผู้หญิง 1 คนมีลูก 2.1 คน ส่วนประเทศจีนระหว่างปี 1996-2010 อัตราการเกิดเป็น 1.4 และกรุงปักกิ่งกับนครเซี่ยงไฮ้มีเพียง 0.7 เท่านั้น ปัญหาการดูแลคนชราจึงหนักหนาสาหัสมาก

การสำรวจของหนังสือพิมพ์ซินจิงเป้าแสดงว่้า 87.2% ไม่พอใจกับสภาพการดูแลคนชราในปัจจุบัน 81.4% เห็นว่ารัฐจัดสรรงบประมาณไม่เพียงพอ

ปี 2010 สัดส่วนระหว่างชาวจีนที่มีอายุ 15-64 ปีกับผู้มีอายุเกิน 65 ปี คือ 8.4 ต่อ 1 ขณะนี้ ผู้สูงอายุในเมืองกว่า 40 ล้านคนอยู่ในระบบประกันสังคม ซึ่งต้องอาศัยแรงงานทั่วประเทศกว่า 800 ล้านคนเพื่อค้ำจุนระบบประกันชราภาพ แต่รายงานการพัฒนาระบบประกันชราภาพของจีนประจำปี 2011 ระบุว่า กองทุนประกันชราภาพของ 14 มณฑลมีรายจ่ายมากกว่ารายรับ

กรุงปักกิ่งกับนครเซี่ยงเป็นเมืองที่เผชิญกับวิกฤตชราภาพก่อนเมืองอื่น แม้ว่าค่าครองชีพแพงกว่าเมืองทั่วๆ ไป แต่เงินบำเหน็จชราภาพของเซี่ยงไฮ้กลับต่ำกว่าระดับถัวเฉลี่ยของประเทศ การขาดแคลนเงินบำเหน็จผู้สูงอายุกลายเป็นภาระอันหนักอึ้งของการคลังเซี่ยงไฮ้ ซึ่งเมืองอื่นๆ คงจะเผชิญกับปัญหาเช่นเดียวกัน เพราะถึงปี 2035 สัดส่วนระหว่างจำนวนแรงงานกับผู้สูงอายุจะลดเหลือ 3 ต่อ 1 หรือแรงงานทุกๆ 3 คนค้องเลี้ยงคนชรา 1 คน เงินประกันชราภาพจะเป็นปัญหาหนักที่รัฐบาลชุดต่อๆ ไปหลีกเลี้ยงไม่พ้น และไม่ว่ารัฐจะทุ่มเทกำลังทรัพย์อย่างไร ก็ไม่สามารถตอบสนองความต้องการของสังคมได้

ธนาคารโลกเผยรายงานฉบับหนึ่งโดยคาดการณ์ว่า หากคิดตามระบบและรูปแบบในปัจจุบัน ระหว่างปี 2001-2075 รายรับกับรายจ่ายของเงินประกันชราภาพของจีนจะขาดดุลถึง 9.15 ล้านล้านหยวน

ยามบั้นปลายชีวิตจะทำอย่างไรดี เมื่อชาวจีนส่วนใหญ่อาจไม่ลูกดูแลตอนแก่ คงต้องหันมาพึ่งรัฐกำหนดนโยบายประกันชราภาพที่สามารถทำให้ประชาชนร่วมกันแบ่งปันผลสำเร็จจากการพัฒนาเศรษฐกิจ และสร้างความสมดุลและความเสมอภาคระหว่างชนบทกับเมือง เพื่อให้ประชาชนได้รับประโยชน์จากระบบประสังคมกันถ้วนหน้า

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
ตอบคำถามออนไลน์
ทบทวนรายการน่าสนใจ
ภาพยอดฮิต
เว็บไซต์ึเพื่อนซีอาร์ไอ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Play Stop
© China Radio International.CRI. All Rights Reserved.
16A Shijingshan Road, Beijing, China. 100040