วิธีการ 4 อย่างในการตรวจวินิจฉัยโรคตามแพทย์แผนจีน
  2012-09-24 15:07:33  cri

วิธีการตรวจวินิจฉัยโรคตามหลักการแพทย์จีนมี 4 อย่าง ได้แก่ การดู(ว่าง) การฟัง-การดม(เหวิน) การซักถาม(เวิ่น) และการจับแมะหรือจับชีพจร(เชี่ย)

วิธีการวินิจฉัย 4 อย่างดังกล่าวมีเอกลักษณ์และความพิเศษในตัวเองชนิดแทนกันไม่ได้ แต่จะต้องใช้ร่วมกันในการตรวจรักษาโรค จึงจะวินิจฉัยโรคได้อย่างมีระบบและถูกต้องแม่นยำ

1. การดู (ว่าง)

การดูเป็นวิธีการตรวจโรคตามทฤษฎีด้วยอวัยวะและเส้นลมปราณภายนอกร่างกายมนุษย์กับอวัยวะส่วนต่างๆ

ภายในร่างกายที่มีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด หากสมรรถนะของอวัยวะในร่างกายเกิดการเปลี่ยนแปลง ก็จะแสดงออกมา

ที่การเปลี่ยนแปลงของอารมณ์ หน้าตา รูปร่างและท่าทางเป็นต้น ดังนั้น การสังเกตุการเปลี่ยนแปลงของรูปร่างและอวัยวะที่ใบหน้า

ก็จะสามารถวินิจฉัยการเปลี่ยนแปลงของอวัยวะภายในได้

2. การฟัง-การดม (เหวิน)

การฟัง-การดมเป็นการวินิจฉัยโรคโดยใช้ประสาทการฟังและประสาทการดม อาศัยการฟังเสียงของผู้ป่วย และดมกลิ่นสิ่งขับถ่าย

จากร่างกายผู้ป่วยมาวินิจฉัยโรค การฟังเสียงไม่เพียงแต่สามารถตรวจวินิจฉัยอาการป่วยของอวัยวะที่สะท้อนมาทางการออกเสียงเท่านั้น หากยังสามารถตรวจวินิจฉัยการเปลี่ยนแปลงของอวัยวะภายในร่างกายตามการเปลี่ยนแปลงของเสียงอีกด้วย การฟังเสียงรวมทั้งเสียงพูด เสียงหายใจ เสียงไอ เสียงสะอึก และเสียงเรอเป็นต้น

3. การถาม (เวิ่น)

การถามคือแพทย์สอบถามอาการตั้งแต่เริ่มแรก การคลี่คลายอาการที่เป็นในปัจจุบัน และวิธีการรักษาโรคของผู้ป่วย ด้วยการพูดคุยกับตัวผู้ป่วยหรือผู้ที่รู้อาการของผู้ป่วย การถามก็เพื่อทราบอาการของโรค ซึ่งจะช่วยให้วินิจฉัยโรคได้ หรือเสนอเบาะแสในการตรวจโรคขั้นต่อไป

สำหรับโรคชนิดที่มีอาการไม่เด่นชัดและเข้าใจอาการทั้งหมดเกี่ยวกับโรคอย่องรอบด้าน ซึ่งรวมทั้งการใช้ชีวิตประจำวัน สิ่งแวดล้อมการทำงานอาหารการกิน และสภาพครอบครัว เป็นต้น

4. การแมะหรือการจับชีพจร

การแมะคือการที่แพทย์ใช้มือแตะสัมผัสและการบีบกดตัวผู้ป่วย ประกอบด้วยการจับชีพจรและการสัมผัส การจับชีพจร คือการสังเกตุการเปลี่ยนแปลงของชีพจรเพื่อเข้าใจอาการโรค

ส่วนการแตะสัมผัส คือใช้มือสัมผัสส่วนต่างๆ ของร่างกายผู้ป่วย เพื่อเข้าใจความไม่เป็นปกติในส่วนใดส่วนหนึ่งของผู้ป่วย เพื่อวินิจฉัยความหนักเบาของอาการ

เมื่อตรวจวินิจฉัยจนทราบสาเหตุแล้ว การรักษาก็จะใช้ดุลยพินิจวิเคราะห์ว่าจะรักษาด้วยยาสมุนไพร การฝังเข็ม การกดจุด (นวด)

หรือด้วยวิธีอื่นๆ ขึ้นอยู่กับชนิดและอาการของโรคเป็นสำคัญ ทั้งนี้ก็ต้องขึ้นอยู่กับความชำนาญในแต่ละด้านของแพทย์ผู้นั้นด้วย

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
ตอบคำถามออนไลน์
ทบทวนรายการน่าสนใจ
ภาพยอดฮิต
เว็บไซต์ึเพื่อนซีอาร์ไอ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Play Stop
© China Radio International.CRI. All Rights Reserved.
16A Shijingshan Road, Beijing, China. 100040