นางฮิลลารี่ คลินตันในฐานะตัวแทนรัฐบาลสหรัฐฯที่รับผิดชอบการต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา กล่าวคำพูดดังกล่าวในระหว่างพบปะกับนายฟูมิโอะ คิชิดะ (Fumio Kishida) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่นที่กรุงวอชิงตันนับเป็นการกระทำที่ไม่ถูกต้องโดยมีสาเหตุดังต่อไปนี้
1 คำพูดของนางฮิลลารี คลินตันมองข้ามข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์และกฎหมายสากล มองจากผิดเป็นถูก กลับดำเป็นขาว เกาะเตี้ยวอวี๋และเกาะบริเวณรอบเป็นดินแดนของจีนตั้งแต่โบราณกาล แต่ในทศวรรษที่ 1950 สหรัฐอเมริกาจัดให้เกาะเตี้ยวอวี๋เป็นการดูแลของสหรัฐอเมริกาโดยพลการ จนถึงเมื่อทศวรรษที่ 1970 จึงทำการ "คืน" และ "สิทธิ์บริหาร" ให้กับญี่ปุ่น
2 คำพูดของนางฮิลลารี่ คลินตันสะท้อนให้เห็นถึงการเข้าแทรกแซงของนโยบายทางการต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา ส่งเสริมและให้ใ้ายอิทธิพลฝ่ายขาวของญี่ปุ่น ยิ่งทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างจีนและญี่ปุ่นทวีความตึงเครียด ผลกระทบโดยตรงของคำพูดเหล่านี้ก็คือ การให้กำลังใจกับอิทธิพลฝ่ายขวาของญีปุ่นนั้นทำได้แต่ไม่ใช่ยิ่งยั่วยุให้ก่อข้อพิพาทมากขึ้น ยิ่งเพิ่มความสลับซับซ้อนและความยากลำบากสำหรับการแก้ไขปัญหาเกาะเตี้ยวอวี๋ให้มากยิ่งขึ้น
3 ความเป็นจริงแล้ว คำพูดของนางฮิลลารี่ คลินตันก็จะส่งผลกระทบถึงผลประโยชน์ของสหรัฐอเมริกาเอง ในช่วงสองปีที่ผ่านมา สหรัฐอเมริกาเร่งการกลับมาขยายอิทธิพลสู่ทางตะวันออกให้เร็วยิ่งขึ้น ปฏิบัติตามนโยบาย "กลับคืนสู่เอเชียแปซิฟิค" ซึ่งชาวโลกต้องสังเกตว่า หลังจากสหรัฐอเมริกา "กลับคืนสู่เอเชียแปซิฟิค" เสร็จแล้ว จะทำอะไรบ้าง จะส่งเสริมความมั่นคงและความเจริญก้าวหน้าของภูมิภาคนี้อย่างไร รวมถึงจะร่วมกันพัฒนาเพื่อได้รับผลประโยชน์ ไม่ใช่จะมาพิจารณาว่าใครถูกหรือผิด หรือยุยงส่งเสริมเพื่อการบ่อนทำลายอย่างเดียว
ในความเป็นจริงแล้ว คำพูดที่ไม่รับผิดชอบเกี่ยวกับเกาะเตี้ยวอวี๋ของสหรัฐอเมริกา จะทวีความตึงเดรียดต่อสถานการณ์มากขึ้นไม่ใช่ช่วยคลี่คลาย หากเอเชียแปซิฟิคมีความเสี่ยงที่จะเกิดการปะทะกันมากขึ้น โดยเฉพาะลัทธิทหารของญี่ปุ่นฟื้นตัวอีกครั้ง จะไม่เป็นประโยชน์ต่อความมั่นคง การฟื้นฟูเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาอย่างมากเช่นกัน
Ying/Dan