สำนักข่าวแห่งประเทศจีนรายงานว่า เมื่อเร็วๆ นี้ งานสัมมนานานาชาติเกี่ยวกับปัญหาทะเลจีนใต้ที่จัดขึ้นโดยสมาคมเอเชียและสถาบันนโยบายสาธารณะลี กวน ยูของมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ได้จัดขึ้นที่นครนิวยอร์คเป็นเวลา 2 วัน ผู้เชี่ยวชาญและนักวิชาการที่มีชื่อเสียงด้านการวิจัยปัญหาทะเลจีนใต้จากจีน สหรัฐฯ และประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น สิงคโปร์ และเวียดนาม เรียกร้องให้ฝ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องส่งเสริมการติดต่อและการเจรจา เพื่อหลีกเลี่ยงการทวีสถานการณ์ให้รุนแรงยิ่งขึ้น
พลตรีจู เฉิงหู่ ศาสตราจารย์จากมหาวิทยาลัยป้องกันประเทศของจีนเน้นว่า ปัจจุบันการแสวงหา "จุดเปลี่ยนของสภาวะปัจจุบัน" เกี่ยวกับปัญหาทะเลจีนใต้และเกาะเตี้ยวอี๋ว์ล้วนไม่ใช่จีน จีนไม่หวังที่จะเห็นว่าปัญหาทะเลจีนใต้กลายเป็นจุดร้อนแรงที่ก่อให้เกิดการปะทะ สำหรับปัญหาที่สหรัฐฯ เสนอให้มี "สิทธิเดินเรืออย่างเสรี" จีนระบุว่าไม่เคยมีการคุกคามต่อสิทธิประโยชน์การเดินเรือที่ชอบด้วยกฎหมายของเรือสหรัฐฯ
ด้านนายคริสโตเฟอร์ ฮิลล์ อดีตผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ระบุในงานสัมมนาว่า สหรัฐฯ ไม่ได้เปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาทะเลจีนใต้ ยังคงยึดหลักการ "ไม่มีจุดยืนเกี่ยวกับปัญหาอธิปไตยเหนือดินแดน ไม่ก้าวก่ายข้อพิพาทเกี่ยวกับอธิปไตยเหนือดินแดนระหว่างประเทศ" ปัญหาทะเลจีนใต้สลับซับซ้อนและไวต่อความรู้สึก หวังว่าฝ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องจะมีความยืดหยุ่น ค่อยๆ แก้ไขโดยผ่านการเจรจาอย่างมีสันติภาพ เขาเห็นว่าจีนกับฝ่ายที่เกี่ยวข้องต่างๆ สามารถ "ได้รับผลประโยชน์ร่วมกัน" เกี่ยวกับปัญหาทะเลจีนใต้
ขณะที่นายหวง จิง ศาสตราจารย์จากมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์เห็นว่า ความคิดเห็นที่ว่า "อธิปไตยเป็นของข้าพเจ้า วางข้อขัดแย้งไว้ก่อน และร่วมกันพัฒนา " ของนายเติ้ง เสี่ยวผิงเป็นนโยบายรับมือกับข้อขัดแย้งเกี่ยวกับดินแดนที่มีสติปัญญาทางการเมือง วงการภายนอกจึงควรมีการวิเคราะห์ต่อเรื่องนี้อย่างจริงจัง
(Ton/zheng)