สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า เมื่อวันที่ 21 มิถุนายนที่ผ่านมานี้ นายอู๋ ซื่อฉุน ผู้อำนวยการของสถาบันวิจัยศึกษาทะเลจีนใต้กล่าวว่า จุดยืนของจีนที่ "ไม่รับรอง" "ไม่เข้าร่วม" การอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศซึ่งฟิลิปปินส์ยื่นข้อพิพาทด้านทะเลจีนใต้ระหว่างจีนกับฟิลิปปินส์ให้นั้นเป็นการกระทำตามสิทธิทางกฎหมายระหว่างประเทศอย่างเต็มที่ ขณะเดียวกัน เนื่องจากศาลอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศไม่มีกลไกบังคับปฏิบัติงาน ดังนั้นไม่ว่าจะมีการอนุญาโตตุลาการอย่างไร จีนล้วนไม่ต้องให้ความสนใจ
นายอู๋ ซื่อฉุนกล่าวขณะให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวระหว่างงานสัมมนาสันติภาพโลกครั้งที่ 3 ที่จัดขึ้นที่กรุงปักกิ่งเมื่อวันเดียวกันว่า ตามอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเลโลก ข้อพิพาทด้านสิทธิทางทะเลที่เกี่ยวพันกับทางชายแดนนั้นล้วนถูกจัดนอกระเบียบการแก้ไขข้อพิพาทโดยบังคับ ดังนั้น ข้อพิพาทระหว่างจีนกับฟิลิปปินส์นั้นเป็นข้อพิพาทด้านสิทธิอำนาจทางชายแดน จะใช้กติกาตามอนุสัญญาดังกล่าวไม่ได้
นอกจากนั้น ตามกติกาอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล เงื่อนไขที่ดำเนินการอนุญาโตตุลาการโดยลำพังฝ่ายเดียวได้คือสองฝ่ายที่มีข้อพิพาทต่างไม่ปฎิเสธการอนุญาโตตุลาการจากฝ่ายที่สาม แต่ว่า จีนกับฟิลิปปินส์ได้มีข้อตกลงแบบทวิภาคี ดังนั้นจึงไม่ต้องอาศัยกลไกของฝ่ายที่สาม นายอู๋ ซื่อฉุนกล่าวว่า เมื่อปี 2002 จีนกับประเทศอาเซียนรวมทั้งฟิลิปปินส์ได้ประกาศแถลงการณ์ว่าด้วยปฏิบัติการของฝ่ายต่างๆในทะเลจีนใต้ ซึ่งมาตราที่ 4 กำหนดชัดแจ้งว่า ข้อพิพาทในทะเลจีนใต้ควรให้ประเทศอธิปไตยที่เกี่ยวข้องดำเนินการหารือกันและแก้ไขกันอย่างสันติ
ประการที่ 3 จีนได้ลงนามในอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเลโลกเมื่อปี 2006 ซึ่งมาตราที่ 298 ระบุอย่างชัดแจ้งว่า เกี่ยวกับปัญหาทางชายแดนเหนือเกาะ การแบ่งขอบเขตทางชายแดน สิทธิอำนาจทางประวัติศาสตร์ ปฏิบัติการทางทหารหรือการปฏิบัติการที่สหประชาชาติได้มีการตกลงนั้นล้วนถูกจัดอยู่นอกระเบียบการของอนุญาโตตุลาการ
นายอู๋ ซื่อฉุนเห็นว่า กล่าวโดยทั่วไปแล้ว แม้ว่าสถานการณ์ในทะเลจีนใต้ยังควบคุมได้อยู่ก็ตาม แต่ว่าข้อพิพาทด้านชายแดนและการบุกเบิกพัฒนาทรัพยากรนั้นทวีความร้ายแรงยิ่งขึ้นทำให้การดำเนินความร่วมมือในช่วงใกล้นี้ไม่สดใสนัก
ปัจจุบัน ปัญหาทะเลจีนใต้มีลักษณะทางตุลาการขึ้นเรื่อยๆได้กลายเป็นแนวโน้มใหม่ แต่ปัญหาทะเลจีนใต้มีมาช้านานแล้ว และสลับซับซ้อนมาก ไม่ใช่เรื่องที่จะแก้ไขได้ง่ายๆโดยผ่านกลไกของอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเลโลกเพียงอย่างเดียวก็ยุติได้ บางประเทศได้ยื่นข้อพิพาทกับจีนให้ฝ่ายที่สามมีแต่จะทำให้กระบวนการสลับซับซ้อนยิ่งขึ้น จนอาจนำไปสู่การเป็นปรปักษ์กันซึ่งไม่มีส่วนช่วยต่อการแก้ไขข้อพิพาทในที่สุด
Yim/LJ