ผู้ลี้ภัยจำนวนมากหลั่งไหลเข้าประเทศเยอรมนี
  2015-09-07 13:32:51  cri

สถานีวิทยุซีอาร์ไอรายงานว่า ขณะนี้ ยุโรปกำลังเผชิญกับวิกฤติผู้ลี้ภัยที่น่าเป็นห่วง ผู้ลี้ภัยจำนวนมากที่เข้าไปยังยุโรปอาจทำให้ชาติสมาชิกยุโรปบางส่วน เกิดปัญหาสังคม เศรษฐกิจ และวิกฤติทางมนุษยธรรม ขณะนี้ หลายชาติสมาชิกยุโรปแถลงอย่างชัดเจนว่า ไม่สามารถรับผู้ลี้ภัยเหล่านี้ได้ นักวิเคราะห์เห็นว่า จากการแก้วิกฤติผู้ลี้ภัยครั้งนี้ จะทดสอบถึงความสามัคคี และความสามารถในการรับมือกับวิกฤติของสหภาพยุโรป หลายวันมานี้ ผู้ลี้ภัยที่หลั่งไหลเข้าไปยังเยอรมนีทำให้เยอรมนีต้องแบกรับภาระหนัก มาก จากข้อมูลล่าสุดของทางการเยอรมนี ช่วงสองวันที่ผ่านมา มีผู้ลี้ภัยจำนวนกว่า 10,000 คน เดินทางเข้าเยอรมนี และยังมีผู้ลี้ภัยอีกจำนวนมากกำลังเดินทางผ่านเซอร์เบีย และฮังการี เพื่อเข้าไปยังประเทศเยอรมนี ต่อสถานการณ์เช่นนี้ นาง อังเกลา แมร์เคิล นายกรัฐมนตรีเยอรมนีเรียกร้องสหภาพยุโรปต้องแสดงบทบาทที่พึงมี ช่วยประสานให้ชาติสมาชิกยุโรปช่วยกันรับผู้ลี้ภัยร่วมกัน

จากข้อมูลของทางการเยอรมนี เฉพาะเมื่อวันที่ 5 กันยายนนี้วันเดียว ก็มีผู้ลี้ภัย 8,000 คนเดินทางเข้าเยอรมนี ส่วนวันที่ 6 กันยายน มีผู้ลี้ภัยเข้าเยอรมนีเพิ่มอีกประมาณ 10,000 คน ขณะนี้ เทศบาลเมืองมิวนิค (Munich) ซึ่งเป็นเมืองที่รับจำนวนผู้ลี้ภัยเป็นจุดแรกต้องย้ายจุดจดทะเบียนผู้ลี้ภัย ไปยังชานเมือง เพื่อป้องกันไม่ให้ส่งผลกระทบต่อระบบขนส่งมวลชนของเมืองแห่งนี้

สื่อรายงานว่า รัฐบาลเยอรมนีได้ใช้มาตรการฉุกเฉินรับมือกับวิกฤติผู้ลี้ภัยครั้งนี้ โดยให้ผู้ลี้ภัยที่เข้าประเทศลงทะเบียนโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะเร็วได้ จากนั้นรีบใช้รถบรรทุกขนผู้ลี้ภัยไปยังที่พักชั่วคราว ซึ่งกระจายตามพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ ขณะนี้ ผู้ลี้ภัยที่เข้าเยอรมนีในช่วงสองวันที่ผ่านมาส่วนใหญ่ลงทะเบียน เรียบร้อยแล้ว และถูกส่งไปยังพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศเยอรมนี แต่เนื่องจากยังมีผู้ลี้ภัยอีกจำนวนมากที่จะเข้าไปยังเยอรมนี ทำให้เยอรมนีต้องรับแรงกดดันอย่างมาก ขณะนี้ ผู้ลี้ภัยที่เข้าไปยังเยอรมนีส่วนใหญ่พักอยู่ในที่พักอาศัยชั่วคราว เช่น สถานกีฬา สถานที่จัดงานแสดงสินค้า และโรงเรียน ขณะนี้ ยุโรปใกล้เข้าหน้าหนาว แต่ที่พักชั่วคราวเหล่านี้ส่วนใหญ่มีเครื่องอุปกรณ์กันหนาวไม่เพียงพอ และไม่มีมาตรการป้องกันโรคติดต่อด้วย รัฐบาลเยอรมนีจึงตัดสินจัดงบประมาณแก้ไขปัญหาบางส่วน และเรียกร้องประชาชนทุกพื้นที่ช่วยรัฐบาลรับมือกับปัญหาดังกล่าว

อย่างไรก็ตาม การแก้ไขวิกฤติผู้ลี้ภัยในยุโรปครั้งนี้ไม่ควรพึ่งเยอรมนีเพียงประเทศเดียว หลายวันมานี้ นาง อังเกลา แมร์เคิล นายกรัฐมนตรีเยอรมนีย้ำหลายครั้งว่า สหภาพยุโรปต้องแสดงบทบาทของตน ช่วยประสานให้ชาติสมาชิกสหภาพยุโรปแก้ไขปัญหาร่วมกัน แต่จนถึงขณะนี้ ยังมีผลคืบหน้าน้อยมาก นักวิเคราะห์เห็นว่า ชาติสมาชิกยุโรปต้องร่วมแรงร่วมใจกันในการแก้ไขปัญหานี้ และจัดที่พักอาศัยชั่วคราวที่เป็นมาตรฐานให้แก่เหล่าผู้ลี้ภัย

(YIM/cai)

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
ตอบคำถามออนไลน์
ทบทวนรายการน่าสนใจ
ภาพยอดฮิต
เว็บไซต์ึเพื่อนซีอาร์ไอ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Play Stop
© China Radio International.CRI. All Rights Reserved.
16A Shijingshan Road, Beijing, China. 100040