เมื่อวันที่ 26 ตุลาคมที่ผ่านมาตามเวลาท้องถิ่น นายโจโก วิโดโดประธานาธิบดีอินโดนีเซียพบกับนายบารัค โอบามา ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ที่ทำเนียบขาว ระหว่างการพบปะ นายวิโจโก วิโดโดประกาศว่า อินโดนีเซียสนใจที่จะร่วมความตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก (TPP) แต่ไม่ได้เปิดเผยกำหนดเวลาในการเข้าร่วม TPP
เมื่อวันที่ 5 ตุลาคมที่ผ่านมา หลังปรึกษาหารือกันเป็นเวลา 5 ปี12 ประเทศ เช่น สหรัฐฯ ญี่ปุ่น แคนาดา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และสิงคโปร์ได้บรรลุความตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก (TPP) ข้อตกลงดังกล่าวนี้มียอดเศรษฐกิจคิดเป็น40%ของโลก ครอบคลุม30ด้านเช่น การลงทุน การบริการ การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ การจัดซื้อของรัฐบาล สิทธิทรัพย์สินทางปัญญา รัฐวิสาหกิจ แรงงาน สิ่งแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ ฝ่ายต่าง ๆ เห็นด้วยที่จะลดการกีดกันทางการลงทุนและการค้าในระดับสูง ตลอดจนกำหนดหลักเกณฑ์การค้ารูปแบบใหม่ด้วยหวังว่าการรวมกลุ่มเพื่อการค้าในเอเชีย-แปซิฟิกตลอดจนทั่วโลกจะยึดหลักเกณฑ์นี้เป็นแบบอย่าง
ก่อนหน้านี้ อินโดนีเซียมีท่าทีที่ระมัดระวังมากต่อการเข้าร่วม TPP พลโทซูซีโล บัมบัง ยูโดโยโน อดีตประธานาธิบดีอินโดนีเซียก็เคยกล่าวว่า อินโดนีเซียยังไม่เร่งที่จะเข้าร่วม TPP ขณะเดียวกัน นายโจโก วิโดโดก็เคยประกาศว่า อินโดนีเซียจะไม่รีบเข้าร่วมTPP นอกจาก TPP จะนำมาซึ่งผลประโยชน์ที่แท้จริงให้กับอินโดนีเซีย
แต่ตั้งแต่เดือนสิงหาคมปีนี้เป็นต้นมา ทางการอินโดนีเซียกลับประกาศว่าสนใจเข้าร่วม TPP ในช่วงนั้น นายซอฟยัน ดจาลิล รัฐมนตรีกระทรวงเศรษฐกิจและการประสานงานอินโดนีเซียได้ประกาศว่า ท่าทีของอินโดนีเซียต่อ TPP กลายเป็นการเปิดรับ หลังจากนั้น ข่าวที่ว่าอินโดนีเซียสนใจเข้าร่วม TPP ก็เริ่มแพร่หลาย จนถึงสองสามวันนี้ นายโจโก วิโดโดประธานาธิบดีอินโดนีเซียเยือนสหรัฐ ได้พิสูจน์ข่าวนี้อีกครั้ง
สาเหตุหลักของการเปลี่ยนท่าทีของนายโจโก วิโดโดคือ ตั้งแต่เดือนตุลาคมปีที่แล้วเป็นต้นมา การส่งออกอินโดนีเซียลดลงทุกเดือน จนถึงเดือนมิถุนายนปี 2015 ยอดการนำเข้าและการส่งออกอินโดนีเซียต่างลดลง 12.8% และ 17.4% ทำให้การเติบโตของเศรษฐกิจไตรมาสที่สองลดลง 4.67% ลดต่ำสุดในช่วง 6 ปีมานี้ นายโจโก วิโดโดย่อมจะได้พิจรณาถึงผลประโยชน์ทั้งภายในและนอกประเทศตลอดจนกลุ่มผลประโยชน์ต่าง ๆ ในประเทศอย่างครบถ้วนแล้ว ถึงประกาศสนใจเข้าร่วมความตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก (TPP)
( In/Zi)