ขณะนั่งรถไฟความเร็วสูงผ่านเขตชนบท ได้เห็นพื้นที่ทำการเกษตรที่ใช้เครื่องจักรทันสมัยขนาดใหญ่โดยทั่วไป นอกจากนั้น ยังมีการก่อสร้างอพาร์ตเมนต์สูงที่ติดกันเป็นแถว เพื่อใช้เป็นที่พักอาศัยสำหรับชาวนาที่ใช้ชีวิตยากลำบากในสมัยก่อน ซึ่งแตกต่างกับสภาพการใช้ชีวิตของชาวนาจีนเมื่อทศวรรษปี 1980 อย่างฟ้ากับดิน เวลานั้น ดิฉันยังทำงานให้กับ นิตยสาร Business Week มีหน้าที่รายงานเศรษฐกิจจีน แต่คราวนี้มาจีน ดิฉันเกือบไม่ได้เห็นหมวกฟางสักใบหรือวัวสักตัวเลย
ดอลลี่ โจนส์ ยางกล่าวว่า สิ่งที่น่าเสียดายคือ ชาวอเมริกันรู้จักจีนอย่างล้าสมัยมาก ปัจจุบัน ผลิตภัฑณ์มวลรวมภายในประเทศหรือจีดีพี 81% ของจีนเกิดจากความต้องการในการอุปโภคบริโภคภายในประเทศ ไม่ได้อาศัยของเล่นหรือเครื่องใช้อุปกรณ์กีฬาเมดอินใชน่าที่จำหน่ายในซุปเปอร์มาร์เก็ตวอลล์มาร์ท (Wal Mart) ของสหรัฐฯ ซึ่งตัวเลขนี้ใน 10 ปีก่อนคือ 81% ปัจจุบัน ระดับเงินเดือนของจีนสูงขึ้น โรงงานที่จ้างแรงงานราคาถูกส่วนหนึ่งจึงต้องย้ายไปตั้งที่เม็กซิโกหรือเวียดนาม
สามีของนางดอลลี่ โจนส์เป็นชาวจีน เมื่อ 30 ปีก่อน ญาติพี่อน้องของสามีส่วนใหญ่ยังใช้ชีวิตอย่างยากจน แต่ปัจจุบันล้วนมีรถเก๋งส่วนตัว และบ้านหลายแห่ง มีคนหนึ่งเพิ่งซื้อบ้านบนเกาะไหหลำ ทางภาคใต้ของจีน เพื่อใช้เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจในวันหยุด
แต่นางดอลลี่ โจนส์กล่าวว่า สิ่งที่ทำให้เรารู้สึกประทับใจคือ ชาวจีนทั่วไปรวยขึ้น หลายสิบปีก่อน หลานของสามีมาจากชนบทที่ไม่มีน้ำประปา แต่ปัจจุบันเป็นเจ้าของบริษัทจำหน่ายห้องเก็บเสียงที่ใช้ในการตรวจการได้ยิน ลูกของเพือนคนหนึ่ง เมื่อก่อนไม่สามารถสอบเข้ามหาวิทยาลัย แต่ปัจจุบันเป็นเจ้าของบริษัทจำหน่ายเครื่องสำอางที่เป็นยี่ห้อของตนเอง ได้จ้างพนักงงานกว่า 200 คน ลูกเขยหลานสาวสามีลาออกจากตำแหน่งบรรณาการหนังสือพิมพ์ไปทำโรงกลั่นเหล้าองุ่นเอง เขาเชิญญาติจากสหรัฐฯ ที่ชอบเหล้าองุ่นไปลองลิ้มชิมรสและให้การประเมิน ปรากฏว่าคุณภาพถึงมาตรฐานสากล เหล้าองุ่นเหล่านี้ล้วนจำหน่ายในจีน เพราะความต้องการเหล้าองุ่นในจีนเติบโตขึ้น 6.7% ต่อปี และเป็นตลาดที่มีประชากรกว่า 1,300 ล้านคน ใครยังต้องการตลาดต่างประเทศอีก ลูกเขยในซานฟรานซสิโกของเรารู้สึกอิจฉามากที่นักธุรกิจจีนมีโอกาสพัฒนาที่เห็นชัดมาก