ทำไมเขาถึงสนใจหนังสือภาพครับ เพราะเข้าใจง่ายหรือยังไงครับ
เข้าใจง่ายกว่าเพราะตัวอักษรน้อย เพราะว่าภาษาไทย ไม่ใช่ภาษาอังกฤาที่คนจักรู้กันมากขนาดนั้น เพราะฉะนั้นภาพจึงค่อนข้างจะออกไปได้เร็วกว่า ขายได้ง่ายกว่า
คือ โดยประสบการณ์ซื้อขายลิขสิทธิ์ก็จะรู้ว่าต่างชาติสนใจหนังสือภาพมากกว่า
ใช่ค่ะ หนังสือภาพ
ไปร่วมงานประเทศอื่นเขาก็จะสนใจเหมือนกันแบบนี้ใช่ไหมครับ
ค่ะ หนังสือภาพจะออกง่ายกว่าค่ะ แต่บางเจ้า ถ้าเป็นนิยายที่เป็นตัวอักษรทั้งหมด แล้วมีแปลเป็นภาษาจีน หรือภาษาอังกฤษแล้ว ก็จะออกได้ง่ายกว่าที่เป็นภาษาไทยล้วน เพราะว่าถ้าเป็นภาษาไทยเขาก็ต้องไปจ้างนักแปลมาอ่านก่อน
แล้วเรื่องตัวเลขการซื้อขายลิขสิทธิ์ระหว่างไทยกับจีน อาจจะเป็นสำนักพิมพ์ไทยซื้อไปพิมพ์ในเมืองไทย และสำนักพิมพ์จีนซื้อของไทยมา พอจะทราบจำนวนคร่าวๆ ไหมครับว่ามีมากน้อยขนาดไหน
ก็ทราบเท่าที่ผ่านทางทัทเทิลอย่างเดียว แต่ว่าสำนักพิมพ์ไทยส่วนใหญ่บางเจ้าเขาจะขายตรง(ไม่ผ่านเอเจนซี ) แต่ที่ผ่านทัทเทิล ซึ่งรวมทั้งไต้หวันแล้วด้วยนั้น เพราะเราเริ่มจากที่นั่นก่อน และงานจากไต้หวันก็ค่อนข้างเยอะพอสมควร ปีนึงก็มีประมาณ 20-30 เรื่องได้ค่ะ แต่ปีนี้น้อยลงบ้าง ไม่เหมือนปีที่แล้ว แต่ถ้างานจากจีนแผ่นดินใหญ่ยังน้อยกว่าไต้หวัน เพราะทางบริษัททัทเทิลเพิ่งเข้ามาเปิดตลาดในจีนแผ่นดินใหญ่ อาจจะพอมีบ้าง แต่ก็ยังไม่ถึง 10 เรื่อง
ปีที่แล้วก็เข้ามาร่วมใช่ไหมครับ
ปีที่แล้วมาสังเกตการณ์เฉยๆ ค่ะ มาดูว่าเป็นอย่างไรบ้าง แล้วก็ติดต่อสำนักพิมพ์ไว้บ้าง
ปีนี้ก็เลยมาเข้าร่วมเต็มตัว
ค่ะ
หน้าที่ของทัทเทิลย่อมแตกต่างจากทางสำนักพิมพ์อยู่แล้ว อยากทราบว่าต้องทำอย่างไรบ้างในงานปักกิ่งบุ๊กแฟร์ครั้งนี้ครับ
ก็คือตอนนี้ทัทเทิล โมริ จะไม่ได้ประจำบูธ ก็จะเดินสำรวจไปเรื่อยๆ หรือว่ามีเจ้าหน้าที่ของสำนักพิมพ์ไทยที่เข้ามาร่วมงานสนใจหนังสือเด็ก หรือหนังสืออะไร ทัทเทิลก็จะไปพร้อมกับสำนักพิมพ์นั้นๆ เพราะเราสามารถใช้ภาษาจีนได้ แต่สำนักพิมพ์อาจจะพูดไม่ได้ เราก็จะเข้าไปช่วยประสานงานตรงนั้น และถ้าสำนักพิมพ์สนใจหนังสือเด็กเล่มนี้ ทางทัทเทิลก็จะจัดการต่อให้หมดเลย
คาดว่าระหว่าง 5 วันจัดงานนี้จะมีการซื้อขายลิขสิทธิ์กันเกิดขึ้นระหว่างสำนักพิมพ์ไทยและสำนักพิมพ์จีนบ้างไหมครับ
มีค่ะ ต้องมีแน่นอน เพราะสำนักพิมพ์ไทยส่วนใหญ่ที่มาเข้าร่วมงาน ก็มาเน้นซื้อ
ชื่องานนี้ก็บอกอยู่แล้วว่าเป็นงานมหกรรมหนังสือนานาชาติ ดังนั้นนอกจากสำนักพิมพ์ของจีนจากทั่วทั้งประเทศแล้ว ยังมีสำนักพิมพ์จากทั่วโลกมาจัดแสดงหนังสือด้วย ถือได้ว่าประจวบเหมาะและเป็นจังหวะที่ดีของผู้ที่มาเข้าร่วมงานในปีโดยเฉพาะ เพราะได้เปิดหูเปิดตาอย่างแท้จริง เนื่องจากประเทศแขกรับเชิญพิเศษ หรือ เกสต์ ออฟ ออร์เนอร์ของปีนี้คือ ประเทศเนเธอร์แลนด์ ซึ่งประเทศแห่งศิลปะและหนังสือนี้ก็ได้ขนเอาสุดยอดนักเขียน นักวาดภาพประกอบ ภาพยนตร์ หนังสือ และผู้ทรงความรู้ในแวดวงหนังสือมาจัดงานแลกเปลี่ยนอย่างเต็มพิกัด และจีนในฐานะประเทศเจ้าภาพก็ทุ่มพื้นที่จัดงานให้ถึง 1,500 ตารางเมตรเลยทีเดียว
เนเธอร์แลนด์นำนิทรรศการพิเศษมาด้วย คือ นิทรรศการกระต่ายมิฟฟี่ จากศิลปินและนักวาดภาพประกอบชื่อดัง ดิก บรูน่า มาเผยความน่ารักน่าชัง และยังสอดคล้องกับปีกระต่าย ซึ่งเป็นปีตามปฏิทินจันทรคติของจีนในปีนี้ และนิทรรศการต้นฉบับลายมือบันทึกส่วนตัวของแวนโก๊ะด้วย งานนี้ดึงดูดผู้ชมแวะเวียนมาเดินที่บูธของเนเธอร์แลนด์ไม่ขาดตลอดทั้งวันและทั้ง 5 วันของงานมหกรรมหนังสือนานาชาติปักกิ่ง 2011 ครั้งนี้
สำหรับประเด็นหลักของการจัดงานในปีนี้มีสโลแกนว่า "เปิดพื้นที่ เปิดหนังสือ" (Open Landscape, Open Book) และการแสดงหนังสือในภาพรวมแบ่งออกเป็น 4 ส่วน คือ สำนักพิมพ์ภายในประเทศ สำนักพิมพ์ต่างประเทศ สำนักพิมพ์ดิจิตอล และส่วนการจัดซื้อของห้องสมุด โดยเฉพาะมุมหนังสือดิจิตอลนั้นทางจีนให้ความสำคัญเป็นพิเศษ เพราะว่ามองเห็นจุดขายที่โดดเด่น และก้าวย่างการพัฒนาที่เดินไปรวดเร็วไม่หยุดยั้ง
นับได้ว่างานครั้งนี้ประสบความสำเร็จอย่างมากทีเดียว ใครที่พลาดปีนี้ ก็เตรียมตัวล่วงหน้าไว้ได้เลย ในช่วงปลายเดือนสิงหาคมต่อกันยายน งานมหกรรมหนังสือนานาชาติ ปักกิ่ง เปิดขึ้นที่นี่อีกครั้งแน่นอน โดยมีเกาหลีใต้เป็นประเทศแขกรับเชิญพิเศษ