มหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงกับวิชาเอกยอดนิยม อันไหนสำคัญกว่า (1)
  2012-07-11 17:24:37  cri

เมื่อเร็วๆ นี้ในสังคมจีนมีประเด็นหนึ่งเป็นที่สนใจอย่างใกล้ชิดจากกว่า 9 ล้านครอบครัวชาวจีน จนทำให้ประเด็นนี้ร้อนไม่แพ้อากาศที่ปักกิ่งในกรกฎาคมนี้ นั่นก็คือ บรรดานักเรียนที่เพิ่งทราบคะแนนจากการสอบเข้ามหาวิทยาลัยว่า ควรตัดสินใจอย่างไรระหว่างมหาวิทยาลัยกับวิชาเอก

ประเทศจีนจัดการสอบเข้ามหาวิทยาลัยในวันที่ 7 8 และ 9 เดือนมิถุนายนของทุกปี นักเรียนทั่วประเทศจะทำการสอบวิชาภาษาจีน วิชาคณิตศาสตร์ วิชาสายศิลป์รวมหรือวิชาสายวิทย์รวม และวิชาภาษาอังกฤษ วิชาสายศิลป์รวมก็คือข้อสอบจะครอบคลุมวิชาความรู้ทางการเมือง ประวัติศาสตร์และภูมิศาสตร์ และสำหรับวิชาสายวิทย์ต้องทำข้อสอบเกี่ยวกับวิชาความรู้ฟิสิกส์ เคมีและชีววิทยา คะแนนเต็มของวิชาภาษาจีน คณิศาสตร์และอังกฤษ คือ 150 คะแนน ส่วนคะแนนเต็มของวิชาสายศิลป์รวมหรือวิชาสายวิทย์รวมคือ 300 คะแนน ดังนั้น คะแนนเต็มรวมทั้ง 4 วิชาของการสอบเข้ามหาวิทยาลัยคือ 750 คะแนน

กล่าวโดยทั่วไป เกณฑ์คะแนนสอบที่รัฐบาลกำหนดไว้สำหรับนักเรียนสายศิลป์คือ 450 คะแนน สำหรับนักเรียนสายวิทย์คือ 400 คะแนน นักเรียนที่มีคะแนนสอบสูงกว่าเกณฑ์ดังกล่าว ก็หมายความว่าสามารถเข้าเรียนระดับปริญญาตรีในสถาบันอุดมศึกษาได้แล้ว ส่วนนักเรียนที่ได้คะแนนสอบไม่ถึงเกณฑ์ ให้สมัครเข้าเรียนสถาบันอาชีวศึกษาที่ตั้งเป้าพัฒนาทักษะการทำงานในอนาคต นอกจากนี้ ยังมีนักเรียนจีนกลุ่มพิเศษจำนวนหนึ่งมีสิทธิ์เข้าเรียนมหาวิทยาลัยด้วยคะแนนสอบที่ไม่ต้องถึงเกณฑ์ นั่นก็คือนักเรียนที่มีพรสวรรค์พิเศษและความถนัดด้านศิลปะการแสดงหรือการเล่นกีฬา หากพวกเขาผ่านการสอบวัดระดับความสามารถด้านศิลปะการแสดงหรือการกีฬาตามมาตรฐานแห่งชาติ ก็จะมีสถาบันอุดมศึกษารับเข้าเรียน รวมทั้งมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงระดับประเทศด้วย

ขณะนี้เขตบริหารระดับมณฑลต่างๆ ของจีนมีการออกข้อสอบเองด้วย ดังนั้น เนื้อหาข้อสอบของแต่ละเขตบริหารจึงไม่เหมือนกัน หมายถึงข้อสอบของนักเรียนในกรุงปักกิ่ง จะแตกต่างกันกับข้อสอบของนักเรียนในมณฑลซานตง แต่ภายในกรุงปักกิ่งหรือมณฑลซานตง เนื้อหาข้อสอบจะเหมือนกันหมด แต่คณะกรรมการออกข้อสอบในแต่ละเขตจะรักษาระดับความยากง่ายของเข้าสอบตามมาตรฐานเดียวของกระทรวงศึกษาธิการ เพราะฉะนั้น ถึงแม้คะแนนของนักเรียนในท้องที่ต่างๆ ที่วัดจากข้อสอบไม่เหมือนกัน ก็สามารถสะท้อนถึงผลการเรียนที่แท้จริง ซึ่งเป็นตัววัดที่สำคัญของบรรดามหาวิทยาลัยในการรับสมัครนักศึกษาจากทั่วประเทศ

เป็นที่ทราบกันทั่วไปแล้วว่า นักเรียนได้คะแนนสอบสูงเท่าไร ความเป็นไปได้ที่จะเข้าเรียนมหาวิทยาลัยขึ้นชื่อก็สูงยิ่งขึ้น และโอกาสที่จะเลือกเรียนวิชาเอกที่หางานทำได้ง่ายก็ยิ่งมาก แต่คนส่วนใหญ่คงคาดไม่ถึงว่า แต่ละปีประเทศจีนมีนักเรียนจำนวนหนึ่ง ถึงแม้ได้คะแนะสอบสูงกว่าเกณฑ์รับสมัครของมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงมากหมายหลายแห่ง แต่ก็พลาดโอกาสเข้าเรียนในที่สุด กรณีแบบนี้เกิดขึ้นเพราะพวกเขาไม่ได้พิจารณาระดับความนิยมที่มหาวิทยาลัยชื่อดังเหล่านี้ หรือไม่ได้ประเมินถึงความเข้มงวดในการเรียนวิชาเอกยอดฮิต แล้วยื่นสมัครเรียนแต่เฉพาะวิชาเอกที่เป็นที่นิยมมากที่สุดในมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงระดับเท่ากัน และไม่ยอมกระจายโควต้าสมัครที่มีอยู่จำกัดให้กับมหาวิทยาลัยที่เกรดต่ำกว่าและมีคนสมัครเข้าน้อยกว่า ทำให้พลาดเรียนแล้วต้องพยายามเตรียมสอบใหม่ในปีถัดไป

น่าเสียดายจริงๆ แต่คนจีนมีสำนวนว่า "ทองแท้ย่อมไม่กลัวทองหลอม" ผมเห็นว่า นักเรียนที่เรียนเก่งก็ย่อมไม่กลัวการสอบก็ได้แต่หวังว่า ในปีถัดไปนั้น พวกเขาสอบได้ดีขึ้นและสามารถเข้าเรียนมหาวิทยาลัยที่ตนเองใฝ่ฝันได้ ตั้งแต่ปลายเดือนมิถุนายน รู้สึกว่าในช่วงเวลาทองที่สถานีโทรทัศน์ต่างๆ ใช้เปิดละครทีวีหรือรายการบันเทิงเพื่อดึงดูดผู้ชมนั้น ขณะนี้ได้แทรกมาออกอากาศรายการการศึกษาประเภทต่างๆ ที่ให้คำปรึกษาด้านการขอสมัครเข้ามหาวิทยาลัยตามคะแนนสอบ แนะนำวิชาเอกยอดนิยมที่จะนำอนาคตอันสดใสมาให้แก่นักศึกษา หรือประชาสัมพันธ์สถาบันอุดมศึกษาที่มีความพิเศษต่างๆ เป็นต้น รายการแบบนี้กำลังฮิตมากเลย

กล่าวสำหรับนักเรียนส่วนใหญ่ การขอสมัครเข้ามหาวิทยาลัยเป็นเรื่องที่เปลืองสมองนะครับ เพราะมหาวิทยาลัยแห่งเดียวจะกำหนดคะแนนรับสมัครที่ไม่เหมือนกันสำหรับวิชาเอกที่ต่างกัน มหาวิทยาลัยที่มีศักยภาพและชื่อเสียงสูงต่ำไม่เท่ากัน ก็จะตั้งเกณฑ์คะแนนที่สูงต่ำไม่เท่ากัน คะแนนสอบระดับหนึ่ง ถ้าไปสมัครเข้ามหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียง อาจจะไม่สูงพอสำหรับเลือกเรียนวิชาเอกที่เป็นที่นิยมกันในมหาวิทยาลัยแห่งนี้ แต่ถ้าตัดสินใจเรียนวิชาเอกที่ตนเองชอบ ก็คงต้องไปเรียนที่มหาวิทยาลัยกลางๆ ทำให้นักเรียนและพ่อแม่ของพวกเขารู้สึกตัดสินใจยากระหว่างวิชาเอกกับมหาวิทยาลัย

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
ตอบคำถามออนไลน์
ทบทวนรายการน่าสนใจ
ภาพยอดฮิต
เว็บไซต์ึเพื่อนซีอาร์ไอ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Play Stop
© China Radio International.CRI. All Rights Reserved.
16A Shijingshan Road, Beijing, China. 100040