รักลูกอย่างพอเหมาะและวิธีลงโทษลูกของคุณแม่ชาวตะวันตก (2)
  2016-05-02 15:46:03  cri

อย่าเลี้ยงลูก"รักลูกมากเกินไป"ซึ่งจะทำร้ายลูกหลานโดยไม่รู้ตัว วิธีลงโทษลูกของคุณแม่ชาวตะวันตก

เมื่อลูกทำกระทำผิด มีคุณพ่อคุณแม่มากมายกังวลว่าใช้วิธีการอะไรมาลงโทษลูกดี แม้จะรู้อยู่เต็มอกว่า อดทนต่อการกระทำผิดของลูกไม่ได้ และจะหาข้ออ้างแก้ต่างแทนลูกก็ไม่ได้เช่นกัน แต่เมื่อต้องเอ่ยถึงการลงโทษลูกแล้ว ดูเหมือนจะมีแต่ตีหรือดุลูกเท่านั้น อันที่จริง ในสายตาของคุณแม่ชาวตะวันตก การลงโทษลูกเป็นศิลปะอย่างหนึ่ง ตั้งแต่เป็นทารกจนถึงเรียนหนังสือ เมื่อลูกทำผิดมักใช้วิธีการลงโทษ 5 ข้อ เพื่อแก้ไขพฤติกรรมที่ไม่ดีของลูกดังต่อไปนี้

ข้อแรก ใช้ท่าทีที่สงบเพื่อสยบความเอาแต่ใจของลูก

ในประเทศยุโรป การตีลูกเป็นการกระทำผิดกฎหมาย ดังนั้น มีผู้ปกครองชาวฝรั่งจำนวนน้อยมากที่จะลงไม้ลงมือกับลูก คุณแม่ชาวตะวันตกเหล่านี้ นิยมใช้ท่าทีที่สงบเยือกเย็นมาแก้ปัญหา เพราะบางครั้งเด็กมักตั้งใจที่จะทำผิด เพื่อดึงดูดความสนใจจากพ่อแม่ หรือหวังว่าการเอาแต่ใจของตนครั้งนี้จะทำให้บรรลุเป้าหมายที่ตนเองต้องการได้ ดังนั้น ผู้ปกครองต้องไม่ตกไปในกับดักของเด็ก เด็กก็จะไม่ทำผิดแบบเดียวกันนี้อีกต่อไป

ยกอย่างเช่น เมื่อไหร่ก็ตามที่ลูกร้องไห้งอแงส่งเสียงดังแบบไม่มีเหตุผลในสถานที่สาธารณะ ถ้าไม่ส่งผลกระทบต่อคนอื่น คุณแม่ชาวตะวันตกมักจะทำเหมือนไม่เห็นสภาพนี้ ให้ลูกพูดหรือร้องไห้ต่อไป แต่ถ้าจะส่งผลกระทบกับคนอื่น คุณแม่ก็จะอุ้มเด็กออกไปทันที และวางลูกลงในสถานที่ค่อนข้างกว้างขวางและเงียบ ไม่รบกวนคนอื่น แล้วปล่อยให้ลูกร้องงอแงต่อไป จนกว่าลูกจะหยุดการกระทำที่ไม่ถูกต้องนี้

การใช้ท่าทีสงบเยือกเย็นนี้ ก็เพื่อให้ลูกได้เรียนรู้ที่จะรับผิดชอบถึงผลพวงจากการผิดของตนเอง เข้าใจว่าพ่อแม่ไม่ให้การสนับสนุนการกระทำนี้ของตน แล้วเด็กก็จะได้หลีกเลี่ยงกระทำผิดนี้ต่อไป

วิธีการลงโทษลูกแบบที่ 2 คือ ก่อนลงโทษลูกต้องเตือนให้รู้ล่วงหน้าก่อน

ขณะที่พ่อแม่อยากลงโทษลูก ควรเพิ่มความใจเย็น ระงับความโกรธไว้ก่อนแล้วใช้วิธีเตือนให้ลูกรู้ล่วงหน้าว่าทำอย่างนี้จะต้องถูกลงโทษ บอกลูกให้รับรู้อย่างชัดเจนก่อนว่า ถ้าทำผิดซ้ำอีกจะถูกตีมือ 5 ครั้ง หรือว่ายึดของเล่น หรือลงโทษให้เขียนหนังสือสารภาพผิด เป็นต้น ซึ่งวิธีการเหล่านี้จะสามารถทำให้ลูกเข้าใจความคิดเห็นของพ่อแม่ได้อย่างรวดเร็ว

ยกตัวอย่างเช่น มีเด็กอายุ 4 ขวบ มีอยู่ครั้งหนึ่งคุณแม่พาเด็กคนนี้ไปรับประทานอาหารในร้านอาหาร เด็กซนมาก เจตนาทิ้งมีดและส้อมลงบนพื้นรอคุณแม่หยิบมันขึ้นมา หลังคุณแม่ช่วยหยิบขึ้นมา เด็กก็ทิ้งอีกครั้ง ขณะนั้น คุณแม่ก็กล่าวเตือนว่า ถ้าแม่หยิบมีดและส้อม แล้วลูกทิ้งอีกครั้ง แม่ก็ไม่อนุญาตให้ลูกกินข้าวแล้ว หิวข้าวแล้วก็ไม่ให้กิน เด็กฟังแล้วก็รีบนั่งดีๆ

แต่ผู้ปกครองต้องระวังว่า ถ้าพูดแล้วต้องทำจริง คือ ถ้าลูกยังเจตนาทำอีก และอยากจะท้าทายอำนาจของพ่อแม่ การลงโทษของพ่อแม่ต้องดำเนินไป อย่าให้ลูกมีโอกาสที่รอดจากการทำโทษ เพราะถ้าพ่อแม่ไม่ลงโทษ ก็ยากที่จะสั่งสอนลูกได้ในอนาคต เพราะการลงโทษของคุณเสียประสิทธิภาพ

วิธีการลงโทษลูกแบบที่ 3 คือ ใช้สายตาที่เข้มงวดหยุดการกระทำผิดของลูก

พ่อแม่จะใช้สายตาที่เข้มงวดหยุดการกระทำผิดของลูก เพื่อให้ลูกตระหนักว่าความผิดพลาดของตัวเองจะเป็นปัญหาต่อตัวเองและคนอื่นๆ จำเป็นต้องหยุดทันที ขณะที่คุณใช้สายตาที่เข้มงวดสั่งสอนลูก อาจจะย่อตัวลงและมองตาเด็ก บอกว่าตรงไหนที่ทำผิด เด็กจึงจะแก้ไขข้อบกพร่องได้ถูกจุด

ยกตัวอย่างเช่น มีเด็กเพิ่งเข้าเรียนระดับประถม คุณแม่พบว่าลูกเรียนพูดคำหยาบจากเด็กคนอื่น คุณแม่โกรธมาก แต่เธอไม่ดีและใช้วิธีในขณะที่ลูกพูดคำหยาบ ใช้สายตามองลูกอย่างเข้มงวดแทน ซึ่งแสดงให้เห็นว่า การกระทำที่พูดคำหยาบของลูกทำให้แม่ไม่ดีใจ หลังจากลูกเห็นสายตานี้ของคุณแม่ก็หยุดพูด คุณแม่ท่านี้ยังสั่งสอนลูกด้วยความอดทนว่า การพูดคำหยาบเป็นการกระทำที่ไม่ดีเหมือนขาดการอบรมลงสอน เราไม่ควรพูดคำหยาบไปแกล้งคนอื่น เพราะเป็นการกระทำที่ทำให้คนรู้สึกความอับอาย ผลคือลูกของเธอฟังแล้วก็ไม่พูดคำหยาบต่อไป

วิธีการลงโทษลูกแบบที่ 4 คือ ช่วยเหลือลูกให้ทำแก้ไขความผิดพลาดด้วยตนเอง

สำหรับความผิดเล็กๆ น้อยๆ ที่ไม่ใช่เรื่องสำคัญ ผู้ปกครองอย่ารีบลงโทษทันที เพราะเด็ดอาจจะไม่ได้เจตนาทำ ท่าทีของผู้ปกครองชาวฝรั่งคือ สำหรับความผิดพลาดที่ลูกไม่ได้เจตนาทำ ผู้ปกครองจะอยู่ด้วยกับลูกและช่วยกันคิดหาวิธีการแก้ไข เนื่องจากลูกได้รับการสนับสนุนจากพ่อแม่ จึงรู้จักที่จะมีความรับผิดชอบ และทราบผลจากการกระทำผิด

ยกตัวอย่างเช่น มีเด็กคนหนึ่ง คุณแม่มอบของขวัญวันเกิดวัยอายุ 10 ขวบ ให้เป็นหุ่นยนต์ทรานส์ฟอร์เมอร์ ลูกอยากจะทราบว่าโครงสร้างของของเล่นนี้ จึงรื้อถอดชิ้นส่วนของเล่นนี้ ออกหมด คุณแม่เห็นแล้วก็ไม่ได้ดุว่าลูกทำลายของเล่น และบอกลูกว่า ไม่เป็นไร ลูกน่าจะลองประกอบของเล่นนี้ด้วยตนเองสักครั้ง ถ้าต้องการให้คุณแม่ช่วยก็บอก หลังจากลูกฟังคำพูดของคุณแม่ ก็ซ่อมของเล่นนี้ด้วยตนเอง แม้ว่าสุดท้ายซ่อมไม่สำเร็จ แต่ก็รู้สึกว่ามันเป็นของขวัญวันเกิดที่ดีที่สุดของเค้า เพราะว่าเค้าใช้ความพยายามแล้ว

วิธีการลงโทษลูกแบบที่ 5 คือ หลังจากลงโทษลูกแล้ว ไม่พูดอีกต่อไป

หลังจากลูกได้รับบทลงโทษแล้ว จะไม่ชอบให้พ่อแม่พูดเรื่องนี้อีกครั้ง เพราะเป็นการทำร้ายความภาคภูมิใจของลูก คุณแม่ฝรั่งกล่าวว่า อย่าให้บ้านเต็มไปด้วยอารมณ์ที่โกรธแค้นตลอดทั้งวัน ขณะที่จบการลงโทษ ต้องให้ลูกรู้ว่า พ่อแม่ยังรักเค้าเหมือนเดิม ข้อผิดพลาดของเขาผ่านไปแล้ว

ยกตัวอย่างเช่น มีลูกคนหนึ่งวัย 13 ขวบขโมยเงิน 100 ดอลลาร์จากคุณแม่ เพื่อเลี้ยงเพื่อนไปเที่ยวสวนสนุก การลงโทษลูกของคุณแม่คือ บอกลูกว่า ถ้าต้องการเงินในวันหลังให้พูดกับแม่โดยตรง การเอาเงินครั้งนี้ของลูกไม่ได้รับการอนุญาตจากแม่ ดังนั้น แม่ต้องปรับเงิน 100 เหรียญ เมื่อพูดจบแล้ว คุณแม่ก็ทำเหมือนไม่มีเรื่องนี้เกิดขึ้น เตรียมอาหารมื้อเย็นให้ลูก และพูดคุยกับลูกเหมือนธรรมดา ไม่ให้ความกดดันกับลูก หลังจากนั้น ลูกก็ไม่ขโมยเงินจากคุณแม่อีก และคิดถึงเรื่องที่ต้องคืน 100 เหรียญกับคุณแม่

เด็กทุกคนมักจะเคยทำความผิด และถูกลงโทษจากพ่อแม่ แต่สิ่งสำคัญคือควรให้ลูกรู้จักแก้ไข้ความผิดพลาดของตัวเองจากการลงโทษ ไม่ใช่ให้ลูกโกรธแค้นการปกครองของพ่อแม่ และยิ่งไม่เชื่อฟังอีก อย่าลืมว่า การลงโทษที่เหมาะสมเป็นวิธีการหนึ่งของการแสดงความรัก วิธีการลงโทษลูกของคุณแม่ฝรั่งเหล่านี้ถือเป้นตัวอย่างที่ใครจะนำไปลองดูบ้างก็ได้ไม่หวงห้ามกัน

Yim/kt

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
ตอบคำถามออนไลน์
ทบทวนรายการน่าสนใจ
ภาพยอดฮิต
เว็บไซต์ึเพื่อนซีอาร์ไอ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Play Stop
© China Radio International.CRI. All Rights Reserved.
16A Shijingshan Road, Beijing, China. 100040