บรรดาคนไทเดิม อาทิ       ไทลื้อ ไทใหญ่ ไทดำ ไทขาว ฯลฯ
ต่างเรียกตะเกียบว่า “ถู” โดยไม่เรียกว่าตะเกียบเหมือนคนไทย
ประเด็นนี้เป็นเรื่องที่น่าสนใจอย่างยิ่ง
      ตะเกียบเป็นเครื่องมือในการรับประทานอาหารของคนจีน
คำว่าตะเกียบก็มาจากจีนเพราะ    “เกียบ”มาจากคำจีน“ฤพผะ”
ซึ่งสำเนียงแมนดารินภาษาจีนกลางออกเสียงว่า    “เจี๊ยะ” แต่
สำเนียงจีนโบราณออกเสียงว่า     “เกียบ” โดยมีนิยามว่า “คีบ”
หรือ “หนีบ”       ปัจจุบันภาษาจีนทั่วไปเรียกตะเกียบว่า “คว่าย”
(ฟ๊) ซึ่งเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวาง     แต่คำว่า “คว่าย” นี้เป็น
คำเกิดขึ้นทีหลัง     เดิมทีจีนสมัยโบราณเรียกตะเกียบว่า “๓็”
สำเนียงแมนดารินจีนกลางออกเสียงว่า “จู้” สำเนียงจีนโบราณ
ออกเสียงว่า “จื้อ”   ปทานุกรมอักษรจีนเล่มแรกชื่อ “ซัวเหวิน”
(อธิบายอักษร)     ที่เรียบเรียงเมื่อค.ศ.100 มีแต่คำ “๓็” (จื้อ)
ไม่มีคำ “ฟ๊” (คว่าย) ซึ่งเป็นหลักฐานพิศูจน์ว่า เดิมทีจีนโบราณ
มิได้เรียกตะเกียบว่า “คว่าย” หากเรียกว่า “จื้อ” ผู้เขียนสันนิษ-
ฐานว่า คำว่า “ถู” ที่บรรดาชาวไทเดิมใช้มาเรียกตะเกียบนั้น
ที่แท้มาจากคำ “๓็” หรือ “จื้อ” ที่เป็นชื่อดั้งเดิมของตะเกียบ
นั่งเอง
              แล้วเหตุไฉนชื่อตะเกียบจึงถูกเปลี่ยนเป็น “คว่าย” (ฟ๊)
เล่า ?     ชื่อตะเกียบเปลี่ยนจาก “จื้อ” (๓็) เป็น “คว่าย” นับเวลา
นานมาแล้ว จนชาวจีนทั่วไปไม่ทราบว่าในอดีตตะเกียบเคยเรียก
ว่า “จื้อ” (๓็)     มีตำนานเล่าว่า ประเพณีถือโชคลางในลุ่มแม่น้ำ
แยงซีเกียงตอนล่างเป็นสาเหตุที่บันดาลให้ตะเกียบเปลี่ยนชื่อ
บัณฑิตจีนช่วงคริสต์ศตวรรษที่     15 สมัยราชวงศ์หมิง ได้เขียน
ในหนังสือ “ปกิณกะสวนถั่ว”       ว่า เนื่องจากชื่อตะเกียบ “จื้อ”

ปกิณกะการค้นคว้าเรื่องไทยไทตอนที่ 23
ความเป็นมาที่คนไทเดิมเรียกตะเกียบว่า “ถู”

หรือ “จู้” มีเสียงพ้องกับคำจีน     “หยุดยั้ง” (ืก) ชาวเรือลุ่มแยง-
ซีเกียงถือว่าเป็นสิ่งไม่เป็นศิริมงคล   เลยเปลี่ยนชื่อตะเกียบเป็น
“คว่าย” (ฟ์)         ซึ่งมีนิยามว่าเร็ว โดยมีคติว่า ไม่เพียงแต่ไม่
“หยุดยั้ง”   หากยัง   “เร็ว” (คว่าย) อีกด้วย ต่อมา เนื่องจากตะ-
เกียบทำด้วยไม้ไผ่ บัณฑิตจีนจึงเติมสัญลักษณ์ไม้ไผ่บนอักษร
“ฟ์” กลายเป็น “ฟ๊”       ซึ่งมีนิยามว่าตะเกียบโดยเฉพาะและ
อ่านว่า “คว่าย” เช่นเดิม
         นอกจากนี้ การณ์ที่เผ่าจ้วง เผ่าปู้ยีที่พูดภาษาตระกูลไทก็
เรียกตะเกียบว่า “ตื่อ”       ภาษาจีนแต้จิ๋วเรียกตะเกียบว่า “ตื่อ”
ภาษากวางตุ้งแถบหัวเมืองไซยับเรียกตะเกียบว่า     “ทู” ก็ล้วน
แล้วมาจาก “๓็” (จู้) เช่นกัน

               “ธรรมใบลาน” เป็นพระคัมภีร์พระพุทธศาสนานิกายเถรวาทอักษรธรรมหรือไทลื้อที่จารบนใบลาน
                   พระคัมภีร์อักษรธรรมใบลานในประเทศจีนประกอบด้วย 3 ส่วน   คือ พระคัมภีร์พระพุทธศาสนานิกายเถรวาทฉบับ
ดั้งเดิม งานเขียนหรือบทเทศนาของพระเถระในอดีต   กับทั้งวรรณกรรมฝ่ายโลกที่ขยายความหรือดัดแปลงมาจากพระธรรมคำ
สอนในพระคัมภีร์   พระคัมภีร์อักษรธรรมใบลานในประเทศจีนเป็นขุมทรัพย์มรดกทางวัฒนธรรมที่ล้ำค่าอย่างยิ่งของประชาชาติ
จีนพระคัมภีร์ธรรมใบลานมีอยู่อย่างแพร่หลายในวัดวาอารามสิบสองพันนา
        การจัดทำ“ชุมนุมพระคัมภีร์อักษรธรรมใบลาน”เป็นการรวบรวมชำระพระคัมภีร์พระพุทธศาสนานิกายเถรวาทในประเทศจีน
เป็นครั้งแรกและเป็นครั้งที่ครบถ้วนที่สุด     ชุมนุมพระคัมภีร์ชุดนี้มีคุณค่าที่ไม่มีสิ่งอื่นใดจะทดแทนได้ในด้านการศึกษาค้นคว้า
ประเด็นการเผยแพร่และวิวัฒนาการของพระพุทธศาสนานิกายเถรวาทในประเทศจีนและการศึกษาค้นคว้าด้านสังคม วัฒนธรรม
          “ชุมนุมพระคัมภีร์อักษรธรรมใบลาน” พิมพ์ด้วยวิธีสแกนต้นฉบับจาก “ธรรมใบลาน” แล้วเทียบด้วยอักษรไทลื้อเก่า ไท
ลื้อใหม่ สัทอักษรสากล แปลทับคำเป็นภาษาจีน แปลความหมายเป็นภาษาจีน รวม 6 ภาค ซึ่งสามารถใช้ในการเทศนา การอ่าน
และการศึกษาเปรียบ-เทียบของนักวิชาการทั้งในประเทศและต่างประเทศ เหมาะสำหรับวัดวาอารามและห้องสมุดทั่วไป
              “ชุมนุมพระคัมภีร์อักษรธรรมใบลาน” แบ่งเป็น 100 ฉบับ เริ่มพิมพ์เป็นงวด ๆ ตั้งแต่เดือนมกราคม ค.ศ.2006 และจะ
แล้วเสร็จในเดือนธันวาคม ค.ศ.2008 หนังสือชุดนี้รวบรวม ชำระโดยรัฐบาลประชาชนแห่งแคว้นปกครองตนเองชนชาติไทสิบ-
สองพันนา จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ประชาชน ลงทุนพิมพ์โดยบริษัทเศรษฐกิจการค้าฮั่นฮุ่ยคุนหมิง จำกัด

ผู้ที่สนใจจะสั่งซื้อ กรุณากรอกข้อความเป็นภาษาจีนในใบสั่งซื้อภาษาจีน
หนังสือทั้งชุด 100 ฉบับ (เล่ม)     ราคา 5 หมื่นหยวนจีน
ถ้าซื้อบางฉบับ (เล่ม) ฉบับละ 5         ร้อยหยวนจีน ก็ต้องระบุว่าซื้อฉบับ
(เล่ม) ที่เท่าไร ชื่อหมวดอะไร

ชื่อบริษัทจัดพิมพ์ : บริษัทเศรษฐกิจการค้าฮั่นฮุ่ยคุนหมิง จำกัด
ธนาคารที่เปิดบัญชี : ธนาคาร CHINA สาขาต้ากวานนครคุนหมิง
หมายเลขบัญชี : 19423858091001
ที่อยู่ของบริษัท : 8 Yin jin shi chang,Hou xin jie Rd.
kunming,YunnanProvince
ระหัสไปรษณีย์ : 650011
โทรศัพท์ : 86-871-3112286
โทรสาร : 86-871-3112199