ไทย-จีนปรึกษาแผนการ
เผยแพร่การศึกษาภาษาจีน
การประชุมว่าด้วยการศึกษาภาษาจีนครั้งแรกของประเทศไทย
จัดขึ้นที่กรุงเทพฯ นายจาง ซินเซิ่ง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระ-
ทรวงศึกษาธิการของจีนได้เข้าร่วมการประชุมและกล่าวคำปราศรัย
ตัวแทนวงการศึกษา อธิการบดี อาจารย์ใหญ่ ครูใหญ่และ
อาจารย์มหาวิทยาลัย โรงเรียนของไทย 1,000 กว่าคนได้เข้า
ร่วมการประชุม เพื่อร่วมกันปรึกษาหารือแผนการเผยแพร่การ
ศึกษาภาษาจีนในประเทศไทย
นายจาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษา
ธิการของไทยได้พบกับนายจาง ซินเซิ่ง ทั้งสองฝ่ายได้บรรลุซึ่ง
ข้อตกลงเบ็ดเสร็จที่เกี่ยวข้องกับการแลกเปลี่ยนและความร่วม
มือในแขนงงานการศึกษาระหว่างไทย-จีน นายจาตุรนต์กล่าว
ว่า ปีหลัง ๆ นี้ประเทศไทยได้เตรียมแผนการเผยแพร่การ
ศึกษาภาษาจีนตลอดมา และมีแนวคิดขั้นต้นว่า จะจัดหลัก
สูตรภาษาจีนเข้าสู่ขอบข่ายการศึกษาภาคบังคับของไทยก่อน
ปี 2008
นายจาง ซินเซิ่งกล่าวว่า ฝ่ายจีนยินดีที่จะช่วยประเทศไทย
พัฒนาการศึกษาภาษาจีน โดยจะสนับสนุนให้ครูบาอาจารย์ของ
ไทยจำนวนหนึ่งไปรับการอบรมที่ประเทศจีนตามความต้องการ
ของฝ่ายไทย ให้ทุนการศึกษาแก่ประเทศไทยในการรับการ
อบรมอาจารย์ภาษาจีนที่ประเทศจีนภายในระยะเวลา 5 ปีข้าง
หน้านี้ ช่วยเหลือประเทศไทยวิจัย ร่างหลักสูตรการเรียนการ
สอนภาษาจีนที่เหมาะสำหรับโรงเรียนประถมและมัธยมของไทย
ช่วยฝ่ายไทยเปิดจุดสอบวัดระดับความรู้ภาษาจีน (HSK) ที่
ประเทศไทย สนับสนุนอย่างเต็มที่ให้ฝ่ายไทยจัดการประชุม
ว่าด้วยภาษาจีนแห่งประเทศไทยในช่วงเดือนมีนาคมถึงเมษายน
ปีนี้
นักธุรกิจไทยลงทุนพัฒนา นิคมอุตสาหกรรมสิบสองพันนา
เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2548 ที่ผ่านมา มีการลงนามใน
สัญญาการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมเชียงรุ่งแคว้นสิบสองพันนา
นับได้ว่าเป็นการร่วมมือในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมที่
เฉลิมฉลองส่งท้ายความสัมพันธ์ไทย-จีนในวาระครอบรอบ 30
ปี ซึ่งเป็นการร่วมมือระหว่างเทศบาลนครเชียงรุ่ง แคว้นสิบ
สองพันนากับบริษัท โกบอลไลเซซั่น อีโคโนมิค แอนด์โปรโมชั่น
เนทเวอร์คจำกัด จากประเทศไทย โดยมี ฯพณฯ องคมนตรี
พลเอกพิจิตร กุลละวณิชย์เป็นประธานฝ่ายไทย และเลขาธิการ
คณะ ก.ก. พรรคคอมมิวนิสต์แคว้นสิบสองพันนา มร.เจียง
ฝู่เซิง เป็นประธานฝ่ายจีน นอกจากนั้นยังมีพลโทจำนงค์ รอด
เจริญและหม่อมตาลคำ รอดเจริญ ซึ่งเป็นวงศานุวงศ์แห่ง
ราชวงศ์เชียงรุ่งและคุณโฆษิต ฉัตรไพบูรณ์ กงสุลใหญ่ไทย ณ
คุนหมิง ฯลฯ มาร่วมเป็นสักขีพยาน
พื้นที่ในการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมนี้จะอยู่ที่เขตกาดทุ่ง
บนเนื้อที่ 11.8 ตารางกิโลเมตรและห่างจากเมืองเชียงรุ่ง 3
กิโลเมตร การพัฒนานิคมอุตสาหกรรมนี้ จะมีส่วนช่วยส่งเสริม
และเพิ่มพูนความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจและการค้าของทั้ง
สองฝ่าย กับทั้งพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนเมืองเชียงรุ่ง
และเขตใกล้เคียงสร้างงานในท้องถิ่นและส่งเสริมอุตสาหกรรม
พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมให้เจริญรุ่งเรืองในลุ่มแม่น้ำโขง
แพนดาสวนสัตว์เชียงใหม่
มีหวังจะตั้งครรภ์
หมีแพนดาจีน 2 ตัวที่พำนักในสวนสัตว์เชียงใหม่ ได้ให้
ข่าวที่ทำให้ผู้เชี่ยวชาญสวนสัตว์ตื่นตาตื่นใจ เพราะ “เทวัญ” กับ
“เทวี” หรือ “ช่วงช่วง” กับ “หลินฮุ่ย” ซึ่งเป็นแพนดาจีนคู่หนึ่ง
ที่อพยพไปพำนักในเมืองไทยกว่า 2 ปีมานี้ ได้สำเร็จการสมสู่
ตามธรรมชาติเป็นครั้งแรก ซึ่งวินาทีอันสำคัญนี้ได้ถูกบันทึกลง
ใน “จดหมายเหตุหมีแพนดา” และ “จดหมายเหตุสวนสัตว์
เชียงใหม่” แล้ว
นายประเสริฐศักดิ์ บุญตระกูลพูนทวี ผอ.คณะ ก.ก. วาง
แผนการจัดแสดงและวิจัยหมีแพนดาสวนสัตว์เชียงใหม่กล่าวว่า
แพนดาตัวผู้อายุ5 ปีชื่อ “เทวัญ” หรือ “ช่วงช่วง” กับแพนดาตัว
เมียอายุ 4 ปีชื่อ “เทวี” หรือ “หลินฮุ่ย” ได้ประสบความสำเร็จ
ในการสมสู่ตามธรรมชาติที่ข้างเขามอหอแพนดาสวนสัตว์ ด้วย
เหตุนี้ ทางสวนสัตว์เชียงใหม่กล่าวว่า คณะผู้เชี่ยวชาญของ
สวนสัตว์ได้เตรียมพร้อมในการเฝ้าติดตามและวิเคราะห์ว่า
แพนดาคู่นี้จะสามารถตั้งครรค์ตามธรรมชาติหรือไม่
“ช่วงช่วง” กับ “หลินฮุ่ย” ได้จับคู่เดินทางจากมณฑลเสฉวน
ประเทศจีนเมื่อวันที่ 12 ตุลาคมปี 2003 มาตั้งถิ่นฐานที่เชียงใหม่
ในฐานะเป็นทูตมิตรภาพของประชาชนจีน-ไทยทั้งสองประเทศ
และได้มีชื่อภาษาไทยว่า “เทวัญ” กับ “เทวี” ต่อมาภายใต้การ
ประคบประหงมเลี้ยงดูของสวนสัตว์เชียงใหม่ แพนดาคู่นี้ได้
เติบโตเข้าสู่วัยหนุ่มสาวอย่างแข็งแรงสมบูรณ์ การท่องเที่ยว
แห่งประเทศไทยและสวนสัตว์เชียงใหม่ ยังได้จัดทำพิธีสมรส
ตามประเพณีล้านนาอย่างเอิกเกริกให้แก่ “เทวัญ” และ “เทวี”
นายประเสริฐศักดิ์กล่าวว่า ตั้งแต่ข่าวเกี่ยวกับแพนดาคู่
นี้เริ่มพลอดรักแพร่ออกไป มีผู้ชมชาวไทยหลายร้อยคนพากัน
แห่ห้อมไปที่สวนสัตว์เชียงใหม่เพื่อชมคู่สร้างคู่สมแพนดานี้
“หมู่บ้านมิตรภาพกาชาดจีน-ไทย” จัดตั้งที่ประเทศไทย่
หลังจากธรณีพิบัติสึนามิในมหาสมุทรอินเดียผ่านไปหนึ่ง
ปีเศษแล้ว รอยยิ้มและความหวังได้โผล่ขึ้นบนใบหน้าและสาย
ตาของผู้ประสบภัยสึนามิฝั่งทะเลอันดามันทางภาคใต้ของไทย
อีกครั้ง ชาวหมู่บ้านทุ่งรักอำเภอคุระบุรีจังหวัดพังงาทางภาคใต้
ของไทย ได้ต้อนรับแขกชาวจีนที่ให้การช่วยเหลือแก่พวกเขา
ด้วยความปิติยินดี
“หมู่บ้านมิตรภาพกาชาดจีน-ไทย” ที่สภากาชาดจีนกับ
สภากาชาดไทยร่วมกันสร้างขึ้น ได้นำรอยยิ้มและความหวังให้
แก่คนในหมู่บ้าน
พร้อม ๆ กับบ้านพักสองชั้น 40 หลังที่จีนช่วยสร้างได้
แล้วเสร็จ การสร้างบ้านพัก 170 หลังทั้งหมู่บ้านได้เสร็จสิ้น
ทั้งหมดโดยมีผู้ประสบภัยสึนามิได้ย้ายเข้าไปอยู่ใน130หลัง
ศูนย์พัฒนาเด็กในหมู่บ้านที่จีนช่วยสร้างก็ได้เปิดใช้พร้อมกัน
โดยจะรับเด็กวัยสองถึงหกขวบในท้องที่และบริเวณใกล้เคียง
ไปเข้าเรียน
เท่าที่ทราบ หมู่บ้านมิตรภาพที่เริ่มก่อสร้างเมื่อเดือนพฤษ-
ภาคม 2005 แห่งนี้ ห่างจากสนามบินภูเก็ตประมาณสองชั่วโมง
ครึ่ง เป็นที่พักสำหรับให้ผู้ประสบภัยสึนามิ 170 ครัวเรือนที่
เดิมอยู่บนเกาะพระทองอำเภอคุระบุรีจังหวัดพังงาไปอาศัยอยู่
บ้านพักหลังหนึ่งรวมทั้งบริเวณรอบ ๆ มีเนื้อที่ 400 ตารางเมตร
โดยมีเนื้อที่ใช้สอยในบ้าน 170 ตารางเมตร เป็นบ้านสองชั้น
ชั้นสองเป็นห้องนอนสองห้องและห้องโถงเล็กหนึ่งห้อง ชั้นล่าง
มีห้องน้ำห้องครัวและใต้ถุน
เจียง ยิม่าน อุปนายกสภากาชาดจีนได้กล่าวหลังจากเข้า
ไปเยี่ยมชมดูความคืบหน้าของโครงการก่อสร้างนี้ว่า “วันนี้พวก
เราได้เห็นสิ่งปลูกสร้างใหม่เอี่ยมเหล่านี้กับตาในเขตประสบภัย
รู้สึกภูมิใจและตื่นเต้น มันมิใช่สิ่งปลูกสร้างธรรมดา แต่มีนัย
เป็นความรักจากประชาชนจีนพร้อมทั้งความรักจากสภากาชาด
ของจีนและไทย และเงินส่วนกุศลของกองทุนพระบาทสมเด็จ
พระเจ้าอยู่หัวฯ โครงการร่วมมือนี้เป็นผลผลึกแห่งมิตรภาพ
ระหว่างประชาชนของจีน -ไทยและสภากาชาดของจีน-ไทย”
หลังจากเกิดธรณีพิบัติสึนามิ สภากาชาดจีนได้บริจาคเงิน
3 ล้าน 5 แสนดอลลาร์สหรัฐแก่สภากาชาดไทย ร่วมกับสภากา-
ชาดไทยในการดำเนินโครงการบูรณะฟื้นฟูในเขตประสบภัย-
สึนามิ นอกจาก “หมู่บ้านมิตรภาพกาชาดจีน-ไทย” และศูนย์
พัฒนาเด็กในหมู่บ้านแล้ว สภากาชาดจีนยังจะช่วยสร้างโรง
เรียนประถม 1 โรง โรงเรียนมัธยม 1 โรง โรงพยาบาล 1 โรง
และสถานีอนามัย 1 แห่งที่จังหวัดพังงาประเทศไทยด้วย
นายวินัย บัวประดิษฐ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดพังงากล่าวว่า
การที่จีนให้การสนับสนุนด้านการเงิน ทำให้โครงการบูรณะฟื้น-
ฟูเขตประสบภัยสึนามิสามารถดำเนินอย่างราบรื่น ซึ่งเป็นการ
สร้างความผาสุกให้แก่ประชาชนในท้องถิ่นและบริเวณรอบข้าง
|