ดินกี่
อิฐที่ใช้ในการก่อสร้าง ไทลื้อเรียกว่าดินกี่ กี่หมายถึง
อะไร ? มีการเข้าใจว่ากี่เป็นการออกเสียงเพี้ยนมาจากจี่ ซึ่ง
หมายถึงย่างไฟ จึงมีคนคิดว่าดินกี่ก็คือดินเผา เพราะไทอีสาน
เรียกอิฐว่าดินจี่ ส่วนไทล้านนานอกจากเรียกอิฐว่าดินกี่แล้ว
ก็ยังเรียกว่าดินจี่ด้วย แต่ว่า จากการค้นคว้าของผู้เขียน ปรากฏ
ว่า คำว่ากี่มิใช่เป็นการออกเสียงที่เพี้ยนมาจากจี่ แต่ว่า จี่ในคำ
ดินจี่กลับเป็นการออกเสียงที่เพี้ยนมาจากกี่ในคำดินกี่ เพราะ
ดินกี่มาจากคำจีนโบราณซึ่งหมายถึงอิฐที่มิได้เผา อักษรจีนเขียน
ว่า ิ ภาษาจีนกลางปัจจุบันออกเสียงว่าจิ๊ แต่สำเนียงจีนโบราณ
ออกเสียงว่ากิ๊
ประวัติวิวัฒนาการการก่อสร้างของจีนบันทึกว่า ยุคแรก
ของประวัตศาสตร์จีนสมัยราชวงศ์โจว (ก่อนคริสต์ศักรช 11
ศตวรรษก่อนค.ศ. 256 ปี) ก่อนที่จะมีอิฐ ชาวจีนเคยใช้ดินกี่
(ิ กิ๊) มาก่อสร้างอาคารบ้านเรือน ต่อมาถึงช่วงราชวงศ์ฉิน
(ก่อนค.ศ. 221 ปี-206 ปี) และราชวงศ์ฮั่น (ก่อนค.ศ. 206 ปี-
ค.ศ.220) ภาคเหนือประเทศจีนเริ่มมีอิฐ แต่ยังไม่แพร่หลาย
ถึงสมัยสามก๊ก (ค.ศ. 220-280) และราชวงศ์จิ้น (ค.ศ. 265
-420) อิฐจึงจะใช้กันอย่างแพร่หลายในแถบลุ่มแม่น้ำแยงซีเกียง
และจีนตอนใต้ ส่วนในประเทศจีน ทรากปรับหักพังของสิ่ง
ก่อสร้างสมัยอาณาจักรล้านนาและอาณาจักรสุโขทัย เป็นหลัก
ฐานทางโบราณคดีแสดงว่า ล้านนาและสุโขทัยเคยใช้ดินกี่ที่มิ
ได้เผาเป็นวัสดุก่อสร้าง
กี่ทอผ้า
กี่ทอผ้้าหรือกี่กระตุกเป็นเครื่องทอผ้าที่มีมาแต่ช้านานของ
คนไท-ไทย กี่ในคำที่ทอผ้าก็มิใช่เป็นคำไทมาแต่เดิม หากเป็น
คำจีน ป๚ ภาษาจีนกลางปัจจุบันออกเสียงว่าจี แต่สำเนียงจีน
โบราณออกเสียงว่ากี ป๚ หรือกีของจีนหมายถึงเครื่องจักรหรือ
เครื่องจักรกล ในสมัยโบราณ กีหรือเครื่องจักรกลของจีนมีน้อย
มาก นอกจากกี่ทอผ้าแล้ว มีแค่หน้าไม้ เครื่องดักสัตว์ป่า
บันไดลอยฟ้าสำหรับปีนกำแพงยามรบ และประตูหรือหลุม
พลางช่อนกล ฯลฯ เท่านั้น ในบรรดาเครื่องจักรกลของจีนดัง
กล่าวกี่ทอผ้าเป็นสิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้ในการดำรงชีวิตของคน
และอาจจะเป็นเครื่องจักรกลที่คนไท-ไทยรับมาจากชาวจีนตั้ง
แต่สมัยโบราณกาลเป็นอันดับแรก