ภายหลังจากงานโอลิมปิค ณ กรุงปักกิ่งปี 2008 เป็นต้นมา ทำให้กิจกรรมงานอาสาสมัครเริ่มเป็นที่รู้จักและแพร่หลายมากขึ้นในสังคมระดับต่างๆ ของจีน จากสถิติของสหพันธ์เยาวชนจีนรายงานว่า ชาวจีนจำนวนกว่า 30.47 ล้านคนได้ลงทะเบียนเป็นอาสาสมัครกับองค์กรเพื่อช่วยกิจกรรมอาสาสมัครในวาระต่างๆ ได้มีอาสาสมัครร่วมกิจกรรมกว่า 400 กิจกรรม คิดเป็น 8.3 ล้านล้านชั่วโมงของการให้บริการอาสาสมัครทั้งหมดตั้งแต่ปี 1993 ซึ่งเป็นปีที่รัฐบาลกลางเริ่มประชาสัมพันธ์รณรงค์เรื่องการเป็นอาสาสมัคร
" สำหรับวัยรุ่นอายุ 18 ปีความคิดเรื่องงานอาสานั้นอาจเป็นสิ่งใหม่ของสังคมจีนเมื่อเปรียบเทียบกับต่างประเทศ แต่มันเป็นสิ่งที่พิสูจน์ได้จริง จะเห็นได้จากงานโอลิมปิคในปี 2008 ที่กรุงปักกิ่ง เหตุการณ์แผ่นดินไหวที่เสฉวนและโครงการระดมทุนต่างๆ เช่น ช่วยเหลือผู้ติดเชื้อ HIV กลุ่มอาสาสมัครมีอยู่ทุกที่ทุกภาคส่วน และค่อยๆ มีแนวโน้มที่พัฒนาขึ้นทีละเล็กน้อยในทุกๆ ปี " เลขาธิการของสมาพันธ์อาสาสมัครเยาวชนจีนกล่าว
ปัจจุบันมีการจัดตั้งกลุ่มเกี่ยวกับอาสาสมัครเยาวชนตามเมืองต่างๆ กว่า 90% และอีกเกือบ 2,000 แห่งในมหาวิทยาลัยของจีน อีกทั้งในปักกิ่ง เซียงไฮ้ กวางโจ่ว หางโจวและอีก 15 เมืองได้จัดกิจกรรมต่อเนื่องเป็นประจำอย่างเป็นทางการและถูกต้องตามกฏหมาย อาทิเช่น มีการดูแลคุ้มครองอาสาสมัครที่ได้รับบาดเจ็บขณะปฏิบัติงานอาสาสมัคร พวกเขาจะได้รับค่าชดเชย เป็นต้น
รูปที่ 1
นักสังคมวิทยาได้แนะนำว่า ประเทศควรจะร่างกฏหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองปกป้องอาสาสมัครโดยเฉพาะกลุ่มเยาวชน เพราะพวกเขามีสามัญสำนึกรับผิดชอบและเสียสละต่อส่วนรวม ที่สำคัญควรเผยแพร่สามัญสำนึกเหล่านี้ไปยังกลุ่มนักเรียนนักศึกษาเพราะว่า พวกเขาคือกลุ่มคนที่มีคุณค่าและประโยชน์กับสังคมในอนาคต และส่งเสริมค่านิยมการให้บริการแก่สังคมโดยไม่นึกถึงค่าตอบแทนเป็นสิ่งที่ถูกต้องให้กับพวกเขาด้วย"
เจ้าหน้าที่ดูแลอาสาสมัครเห็นด้วยกับความคิดเรื่องการร่างกฏหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองปกป้องอาสาสมัครและเขาเคยเสนอให้สิทธิพิเศษแก่เยาวชนอาสาสมัคร เช่น ยกเว้นค่าโดยสารรถประจำทางระหว่างที่ไปปฏิบัติงานอาสาสมัครหรือได้รับหน่วยกิจการเรียนเพิ่มเป็นพิเศษ เป็นต้น
ซัน เว่ยเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยชั้นปีที่สองของมหาวิทยาลัยเจียวตง เซียงไฮ้ ได้แบ่งปันประสบการณ์จากการเคยเป็นมัคคุเทศน์อาสาสมัครของงานเวิลด์เอ๊กซ์โปเมื่อปีที่แล้ว(2010)ว่า "มันสร้างแรงบันดาลใจและเป็นประสบการณ์ที่ล้ำค่ามากซึ่งหาไม่ได้จากห้องเรียนอย่างแน่นอน" เขาและเพื่อนเป็นนักศึกษาวิชาเอกการจัดการพลังงานและวิศวกรรมได้เข้าร่วมเป็นอาสาสมัครของงานนี้กว่าสามเดือน โดยสวมใส่ชุดเครื่องแบบสะท้อนแสงที่ติดคำว่า "อาสาสมัคร" เห็นเด่นชัดจากระยะไกล คอยให้ความช่วยเหลือและบริการข้อมูลแก่นักท่องเที่ยวในงานเอ๊กซ์โปจนงานปิดทุกคืน
"จริงๆ แล้วไม่ได้มีอะไรแปลกใหม่ แต่เป็นครั้งแรกที่พวกเราได้นำเอาความรู้จากห้องเรียนมาประยุกต์ใช้กับความต้องการที่แท้จริงของผู้ค หลังจากเสร็จสิ้นงานอาสาสมัครพวกเราได้รับแรงบันดาลใจและความสำเร็จที่สัมผัสได้ว่า คุณจะหาความรู้สึกแบบนี้ไม่ได้ในห้องเรียนอย่างแน่นอน" ซันเน้นย้ำอีกครั้ง
รูปที่ 2
จากการพูดคุยกับหัวหน้าฝ่ายบุคลากรคัดเลือกบุคคลเข้าทำงานให้กับบริษัทต่างๆ ได้กล่าวว่า งานเวิลด์เอ๊กซ์โปมีระยะเวลาจัดงานถึง 6 เดือน และยังเป็นกำไรชีวิตให้กับอาสาสมัครที่ร่วมงานนี้ด้วย เพราะพวกเขาเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานไม่ว่าจะพึ่งจบการศึกษาหรือเริ่มต้นในอาชีพการงานแล้วก็ตาม เนื่องจากงานนี้เป็นงานระดับโลกมีนักท่องเที่ยวมาร่วมงานกว่า 70 ล้านคนและมีเจ้าหน้าที่ต่างชาติมากมายทั่วโลก งานอาสาสมัครตลอดหกเดือนนี้ถือว่าได้ผ่านงานที่มีชั่วโมงบินสูง ทำให้ได้รับการยอมรับจากบริษัทต่างๆ โดยทางบริษัทจะเลือกผู้สมัครหางานที่ผ่านงานอาสาสมัครจากงานนี้ก่อนเป็นอันดับแรก ทางบริษัทเชื่อว่า พวกเขาสามารถทำงานภายใต้แรงกดดันสูง การแก้ปัญหาเฉพาะหน้าต่างๆ และยังเอาใจใส่กับงานอย่างสูงอีกด้วย
ผู้คนที่เคยผ่านการเป็นอาสาสมัครช่วยเหลืองานบริการภาคสังคมต่างแสดงความคิดเห็นไปในทางเดียวกันว่า การช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ด้วยกันนั้นถือว่าเป็นความสุขทางใจอย่างแท้จริง มันมีความหมายกว่าการบริจาคเงิน มีค่ามากกว่าเงินทอง ทุกครั้งหลังจากเสร็จสิ้นงานอาสาสมัครแล้ว พวกเขาค้นพบว่า แท้จริงแล้ว พวกเขาเป็นผู้รับมากกว่าเป็นผู้ให้ ...
แหล่งภาพจาก www.chinadaily.com.cn