จีนปริทรรศน์:ขยะจากเทศกาล
  2012-10-08 15:43:49  cri

"นิสัยแบบนี้คงปลี่ยนยากในระยะเวลาสั้นๆ และตอนนี้ก็ยังไม่มีวิธีการไหนที่จะทำให้เลิกได้ง่ายๆ" ศาสตราจารย์ไต้ ซิงยี่ จากภาควิชาวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยฟูตัน นครเซี่ยงไฮ้ กล่าวอย่างท้อแท้ เมื่อพูดถึงพฤติกรรมการทิ้งขยะกลาดเกลื่อนของชาวจีน

ทั้งที่มีป้ายรณรงค์ต่างๆ มากมายเพื่อเสริมทัศนคติที่ดีต่อเรื่องนี้ รวมทั้งมีการอ้างถึงกฎหมายสิ่งแวดล้อมด้วย แต่ดูเหมือนว่าจะไร้ประโยชน์ เพราะค่าปรับสำหรับการทิ้งขยะไม่เป็นที่เป็นทางนั้นถูกเพียง 1 หยวนเท่านั้น แถมเจ้าหน้าที่ยังประสาทเสียกับการต้องอดทนกับคนมักง่ายทั้งหลายที่พร้อมจะต่อล้อต่อเถียงทั้งวันแลกกับการไม่ยอมควักค่าปรับดังกล่าว เพราะคิดว่าสิ่งที่ตัวเองทำนั้นไม่ใช่เรื่องผิด

ระหว่างวันหยุด "สัปดาห์ทอง" 8 วันที่ผ่านมานั้นมีรายงานจากสำนักงานสิ่งแวดล้อมของกรุงปักกิ่งว่า ตลอดช่วงเวลานี้ สวนสาธารณะ 11 แห่งที่มีชื่อเสียงของเมืองหลวงแห่งนี้ จัดการเก็บขยะมูลฝอยไปทั้งสิ้น 630 ตัน ซึ่งเพิ่มมากขึ้นกว่าปีที่แล้ว โดยเกิดขึ้นจากนักท่องเที่ยวประมาณ 500,000 คน ซึ่งโดยเฉลี่ยแล้วตกวันละ 90 ตัน มากกว่าวันธรรมดาทั่วไปเป็นเท่าตัว

ซึ่งในเทศกาลวันหยุดยาวครั้งนี้มีการเตรียมรับมือไว้อย่างดี มีทั้งการเพิ่มจำนวนถังขยะและพนักงานทำความสะอาด

"นักท่องเที่ยวมักทิ้งพวกขวดพลาสติก เปลือกผลไม้ และถุงหิ้วทั้งตามทางเดินบนกำแพงและโยนลงไปข้างล่างด้วย ซึ่งเป็นการทำลายภาพลักษณ์ของกำแพงเมืองจีนและยังทำลายสิ่งแวดล้อมของท้องถิ่นด้วย" พนักงานเก็บขยะประจำกำแพงเมืองจีนช่วง "ปาต๋าหลิ่ง" ที่มีจำนวนนักท่องเที่ยวแน่นขนัดเล่าถึงพฤติกรรมของนักท่องเที่ยว ซึ่งพวกเขาไม่เพียงต้องเดินขึ้นทางลาดและชันไปเก็บขยะจากถังที่วางประจำไว้ตามจุดต่างๆ ตลอดวันเท่านั้น เพราะยังต้องบุกลุยพุ่มไม้และดงหญ้าลงไปเก็บตามพื้นขอบล่างที่รกเรื้อด้วย

พวกเขาบอกว่าในช่วงเทศกาลนี้มีการระดมพนักงานเก็บขยะมาทำงานกับทั้งสิ้น 130 คน มากกว่าเดิมถึง 40 คน

ขณะที่ชายแซ่อู่ พนักงานเก็บขยะของจตุรัสเทียนอันเหมินบอกว่าพวกเขาต้องทำงานถึงราว 1 ทุ่มทุกวันในช่วงนี้ โดยได้รับค่าแรงทำงานเกินเวลา 2 ชั่วโมง แต่ก็ยังดีหน่อยที่ไม่เหนื่อยมาก เพราะทางการเขตซีเฉิง ได้มอบรถจักรยานสามล้อไฟฟ้าให้ใช้งาน ทำให้ทุ่นแรงได้มากขึ้น

ส่วนทางด้านมหานครทางการเงินโลกนั้นก็ไม่ต่างกัน เพราะเป็นเมืองใหญ่ที่เป็นจุดหมายท่องเที่ยวสำคัญทั้งของชาวจีนเองและต่างชาติ ในช่วงวันหยุดยาวเทศกาลไหว้พระจันทร์และวันชาติครั้งนี้ก็รองรับนักท่องเที่ยวจำนวนมหาศาลจากทั่วสารทิศ

พนักงานเก็บขยะของบริษัทซ่างไห่ ซินยี่ สิ่งแวดล้อมและสุขอนามัย ซึ่งรับเหมาดูแลทำความสะอาด "เดอะบันด์" หรอื "ไว่ทาน" จุดชมวิวริมแม่น้ำผู่เจียงที่ชื่อเสียงของเซี่ยงไฮ้ให้ข้อมูลว่าในช่วงนี้มีจำนวนขยะเพิ่มมากขึ้นกว่าปกติถึง 4 เท่า ตกแล้วเฉลี่ยวันละ 5 ตัน

"พวกเราทำงานยากมาก เพราะผู้คนล้นหลามเต็มไปหมด แม้กระทั่งจะแทรกตัวเข้าไปเก็บกวาดก็ยังเป็นเรื่องที่ลำบาก" พนักงานคนนนี้เล่าขณะชี้ให้ผู้สื่อข่าวจากสถานีโทรทัศน์แห่งหนึ่งดูพฤติกรรมที่แก้ไม่ได้อย่างหนึ่ง ซึ่งพบเห็นได้ทั่วไป นั่นก็คือ แม่ลูกอ่อนคนหนึ่งกำลังอุ้มลูกขึ้นเหนือถังขยะ และหย่อยก้นน้อยๆ อันเปลือยเปล่าลงไปใกล้ๆ เพื่อให้หนูน้อยฉี่โดยไม่เปรอะเปื้อนตามทาง

"ขยะที่ถูกทิ้งมากที่สุดคือใบปลิวโฆษณาของบริษัทท่องเที่ยวต่างๆ รถเก็บขยะของเราเต็มไปด้วยเศษกระดาษพวกนี้ที่เก็บมาจากทุกหนทุกแห่งที่ถูกทิ้งโดยนักท่องเที่ยว" นี่เป็นข้อมูลลงรายละเอียดที่ได้จากผู้บริหารของบริษัทซ่างไห่ ซินยี่

เมื่อขยับลงไปทางใต้ที่เกาะไห่หนานนั้น ก็มีรายงานว่าเมืองซานย่าก็แน่นขนัดไปด้วยนักท่องเที่ยวไม่แพ้สถานที่ใดๆ ในประเทศจีน

ชายหาดยาว 3 กิโลเมตร ที่มีชื่อเสียงที่สุดและมีรีสอร์ทจำนวนมากมายนี้ผลิตขยะวันเดียวเฉพาะวันฉลองเทศกาลไหว้พระจันทร์มากถึง 50 ตัน แน่นอนว่าย่อมต้องสวงผลร้ายต่อสิ่งแวดล้อมและคุณภาพของน้ำทะเลอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

จากข้อมูลเหล่านี้จะเห็นได้ว่าทางการระดับต่างๆ ของจีนมีการเก็บข้อมูลขยะอย่างละเอียด จนถึงขนาดสามารถระบุได้ชัดเจนว่ามีกี่ตันๆ นั่นก็เพราะว่า ส่วนสำคัญที่สุดเกิดจากพนักงานระดับล่างทั้งสิ้น ที่ต้องทำงานหนัก เหนื่อย และเสี่ยงกับเชื้อโรคอยู่ตลอดเวลา แล้วค่อยส่งต่อเรื่อยมา ตั้งแต่บุ้งกี๋เล็กๆ ข้างถนน สู่ถังขญะ สามล้อขนขยะ รถบรรทุก จนถึงโรงงานแยะประเภทขยะ

ขยะจำนวนมหาศาลนี้ หากวิเคราะห์ให้ดีจะเห็นว่าเกิดจากพฤติกรรมการบริโภคทั้งสิ้น สิ่งหนึ่งคือชาวจีนยังมีค่านิยมเรื่อง "มากแปลว่ามี" คือเมื่อสั่งอาหารอะไรก็ต้องให้มีจำนวนมากไว้ก่อน เพราะเชื่อว่า "เหลือดีกว่าขาด" และยังเกี่ยวพันกับโชคลางด้วยว่า "กินเหลือเฟือเท่ากับร่ำรวย" บนโต๊ะอาหารในช่วงเทศกาลสำคัญๆ ทุกครั้งจึงล้นเหลือจนต้องทิ้งกลายเป็นขยะจำนวนมาก

นอกจากนั้นยังมี "พฤติกรรมใช้แล้วทิ้ง" จากอุปกรณ์การรับประทานอาหารประเภทต่างๆ อาทิ ตะเกียบไว้แบบใช้ครั้งเดียวที่ห่อซองพลาสติกมาเพื่อฉีกทิ้งอีกด้วย จานและชาวโฟมหรือพลาสติก รวมถึงแก้วน้ำพลาสติกเป็นทางเลือกของร้านอาหารต่างๆ จำนวนมาก แม้ไม่ใช่ช่วงเทศกาลก็ตามที และพฤติกรรมปกติของร้านค้าข้างถนนที่ลงทุนซื้อจานและถาดเพียงไม่กี่ใบ แล้วใช้ถุงพลาสสวมทับก่อนเสริฟอาหาร เมื่อใช้เสร็จแล้วก็ถอดออกไปทิ้ง พร้อมใส่ถุงใบใหม่เพื่อเสริฟต่อได้ทันที ประหยัดทั้งน้ำ เวลา และเงินลงทุนซื้ออุปกรณ์ เพราะถุงหิ้วแพ็กนึงถูกกว่าซื้อจานและถาดจำนวนมากเป็นไหน

ซึ่ง "พฤติกรรมใช้แล้วทิ้ง" นี้สร้างขยะจำนวนมากที่สุด และยังเป็นขยะที่ย่อยสลายยากทั้งนั้นด้วย

ขณะเดียวกันก็ยังมีขยะที่เกิดจากวัฒนธรรมด้วย เช่น เศษประทัดที่กลาดเกลื่อนทุกเทศกาล ไม้ไผ่ที่ใช้เสียบอาหารประเภทปิ้งย่างก็เช่นกันที่เพิ่มน้ำหนักให้กับรถบรรทุกขยะเสมอมา และที่สำคัญคือ "เรื่องปากท้อง" เพราะคนจีนชอบรับประทานเป็นชีวิตจิตใจ และในจำนวนมากเสียด้วย ซึ่งวิเคราะห์ได้จากคำทักทายเป็นประจำที่ว่า "ชือ ฟั่น เลอ มา" เพราะเจอหน้ากันทีไร ในเวลาไหนก็ตาม ก็มักจะทักกันว่า "กินข้าวหรือยัง" เสมอ

และก็ไม่แปลกถ้าจะเกิดขยะมากอย่างไรก็ตามในช่วงเทศกาล เพราะเป็นช่วงที่คนมีความสุข และขยะจำนวนมากนี้ก็ยังสะท้อนถึงการกระจายรายได้ และตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจภายในประเทศได้เป็นอย่างดี

มีเพียงแต่เรื่องการจัดการขยะเท่านั้นที่เป็นเรื่องต้องใส่ใจและพูดถึงกันให้มากขึ้น อย่างที่ศาสตราจารย์ไต้ ซิงยี่ จากภาควิชาวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยฟูตัน กล่าวไว้นั้นก็เป็นเรื่องที่ต้องใครครวญอย่างยิ่ง ว่าทำอย่างไรจึงจะทำให้พฤติกรรมเช่นนี้เปลี่ยนเร็วขึ้น แทนที่จะทำได้แค่เตรียมจำนวนถังขยะมากขึ้น และเพิ่มคนเก็บขยะมากขึ้น

อย่างที่เราเห็นว่าถนนหนทางต่างๆ สะอาดสะอ้านนั้นไม่ได้เกิดจากพฤติกรรมที่ดีและการร่วมแรงร่วมใจกันแต่ประการใด แต่เป็นเพราะพนักงานทำความสะอาดจำนวนมากที่เดินขวักไขว่คีบเก็บเศษซองพลาสติก ก้นบุหรี่ เปลือกผลไม้นานาไปทิ้งในถังใหญ่ตลอดทั้งวัน

และภาพของพนักงานทำความสะอาดกับคนทิ้งขยะเถียงกันหน้าดำคร่ำเครียดก็จะมีให้เห็นอยู่เป็นประจำทุกวัน

ดังนั้นจึงควรส่งเสริมการฉลองเทศกาลหรือการดื่มกินในชีวิตประจำวันอย่างเป็นที่เป็นทาง รวมถึงการสำนึกรักษ์ในสิ่งแวดล้อมให้มากขึ้นน่าจะเป็นเรื่องที่ควรอย่างยิ่ง

...แม้จะเป็นเรื่องยากและต้องใช้เวลาก็ตาม

พัลลภ สามสี

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
旅游
v จำนวนนักท่องเที่ยวจีนท่องเที่ยวในประเทศช่วงวันหยุดวันไหว้พระจันทร์ และวันชาติปี 2012 สร้างสถิติใหม่อีกครั้ง 2012-10-08 17:26:43
v ข้อดีและข้อเสียจากช่วงวันหยุดยาวที่สุดของชาวจีน 2012-10-08 17:09:01
v จีนปริทรรศน์:ขยะจากเทศกาล 2012-10-08 15:43:49
v ช่วงวันหยุดจงชิวและวันชาติปีนี้ เรือตรวจการของจีนลาดตระเวนที่น่านน้ำบริเวณเกาะเตี้ยวอวี๋ 2012-10-06 16:53:16
v จีนปริทรรศน์: ความฝันไม่มีวันหมดอายุ 2012-10-01 15:37:43
v จีนขนส่งผู้โดยสาร 85.6 ล้านคนในวันแรกที่ไม่เก็บค่าผ่านทางด่วน 2012-10-01 13:37:56
v การจราจรติดขัดมากบนทางด่วนช่วงหนึ่งของมณฑลกวางตุ้งในวันแรกที่ไม่เก็บค่าผ่านทาง 2012-10-01 13:36:59
v จีนปริทรรศน์: ชวนตี๋เซี่ย เสน่ห์แห่งเงาอดีตที่ไม่เคยซีดจาง 2012-09-26 16:40:05
v จีนปริทรรศน์: ชะตากรรมเดียวกันของวงการหนังสือประเทศโลกที่ 2 ในการก้าวสู่สากล 2012-09-19 16:43:55
v จีนปริทรรศน์:"กำแพงเมืองจีน" จุดหมายของทุกคน 2012-09-12 17:25:52
v จีนปริทรรศน์: สำราญกับเสน่ห์ความอร่อยที่ เลอ ปลาแดก 2012-09-05 16:00:30
泰国
v จีนปริทรรศน์: ความฝันไม่มีวันหมดอายุ 2012-10-01 15:37:43
v จีนปริทรรศน์: ชวนตี๋เซี่ย เสน่ห์แห่งเงาอดีตที่ไม่เคยซีดจาง 2012-09-26 16:40:05
v จีนปริทรรศน์: ชะตากรรมเดียวกันของวงการหนังสือประเทศโลกที่ 2 ในการก้าวสู่สากล 2012-09-19 16:43:55
v จีนปริทรรศน์:"กำแพงเมืองจีน" จุดหมายของทุกคน 2012-09-12 17:25:52
v จีนปริทรรศน์: สำราญกับเสน่ห์ความอร่อยที่ เลอ ปลาแดก 2012-09-05 16:00:30
v จีนปริทรรศน์: เข้าโรงภาพยนตร์จีนครั้งแรก 2012-08-29 17:28:38
v จีนปริทรรศน์: ของขวัญจากโอลิมปิก 2012-08-22 16:36:22
v จีนปริทรรศน์: 10 บาร์เด็ดดนตรีสดในปักกิ่ง (4) 2012-08-15 17:12:16
ตอบคำถามออนไลน์
ทบทวนรายการน่าสนใจ
ภาพยอดฮิต
เว็บไซต์ึเพื่อนซีอาร์ไอ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Play Stop
© China Radio International.CRI. All Rights Reserved.
16A Shijingshan Road, Beijing, China. 100040