เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายนที่ผ่านมา การประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 18 และการประชุมรัฐภาคีพิธีสารเกียวโตสมัยที่ 8 จัดขึ้นที่กรุงโดฮาของกาตาร์ ปีนี้เป็นวาระสำคัญของการสิ้นสุดระยะแรกของการปฏิบัติตามพิธีสารเกียวโต และต้องพิจารณาเกี่ยวกับการเริ่มใช้เวทีเดอร์บันเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศหลังปี 2020 ดังนั้น การประชุมกรุงโดฮาถือว่ามีบทบาทในการสรุปผลสำเร็จที่ประสบไว้ในระยะที่ผ่านมา และเป็นจุดเริ่มต้นขั้นตอนต่อไปในกระบวนการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประชาคมโลก จึงได้รับความสนใจอย่างกว้างขวาง
ประเด็นหลักของการประชุมว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศกรุงโดฮาคือ พยายามสิ้นสุดการเจรจาว่าด้วยระยะที่ 2 ของพิธีสารเกียวโต ตลอดจนปฏิบัติตามข้อตกลงแคนคูน และผลสำเร็จจากการประชุมเดอร์บันต่อไป
ศาสตราจารย์จาง ไห่ปิน จากศูนย์วิจัยภูมิอากาศโลกของสถาบันความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของมหาวิทยาลัยปักกิ่งเห็นว่า แผนการเกี่ยวกับระยะที่ 2 ในการปฏิบัติตามพิธีสารเกียวโต และการลดความแตกต่าง 3 ประการนั้น เป็นประเด็นสำคัญอย่างยิ่งของการประชุมครั้งนี้ ซึ่งประการแรกคือ ลดความแตกต่างด้านการปฏิบัติตามพิธีสารเกียวโต ซึ่งประเทศพัฒนาต่างปฏิบัติได้ไม่ดี จึงจะกระทบถึงการบรรลุเป้าหมายควบคุมอุณหภูมิของโลก ประการที่ 2 ความแตกต่างในเป้าหมายด้านการคลัง ซึ่งมีความหมายว่า ในระหว่างการเจรจาว่าด้วยความร่วมมือระยะยาว ทุนสนับสนุนที่ประเทศพัฒนาสัญญาที่จะเสนอนั้น มีมูลค่าน้อยเกินไป ซึ่งมีความแตกต่างอย่างมากกับความต้องการของประเทศกำลังพัฒนา ประการที่ 3 เป้าหมายการลดปริมาณการปล่อยแก๊สเสีย ซึ่งในการเจรจาเกี่ยวกับเวทีเดอร์บันปัจจุบันนั้น ประเทศต่างๆ สัญญาทำการลดน้อยเกินไป จึงยากที่จะบรรลุเป้าหมายควบคุมอุณหภูมิของโลก
การเจรจาเกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศที่ดำเนินการมาเป็นหลายปีนั้น เป็นกระบวนการแก้ไขข้องขัดแย้งและความคิดเห็นต่างๆ กัน ซึ่งจีนมั่นคงในจุดยืนที่ว่า "ต้องให้ประเทศพัฒนากับประเทศกำลังพัฒนาแบ่งกันรับผิดชอบ" มาโดยตลอด นายจาง ไห่ปิน ยังเห็นว่า การประชุมว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศกรุงโดฮามีภาระหน้าที่หนักหน่วง ควรมีความอดทนอย่างเพียงพอ ในขั้นตอนต่อไป ประเทศเศรษฐกิจพัฒนา และประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ควรทำหน้าที่การเจรจาอย่างเต็มที่ เพื่อเพิ่มการลดการระบายของประเทศตน และเป็นแบบอย่างของประเทศอื่นๆ
Ton/Ldan