ยกตัวอย่างเกี่ยวกับการส่งเสริมอุตสาหกรรมภาพยนตร์โทรทัศน์ให้ไปตีตลาดต่างชาติ ตั้งแต่หนังฮอลลีวูดที่เข้าตลาดจีนแต่เนิ่นๆ จนถึงละครทีวีทั้งของญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ เป็นแบบอย่างที่ประสบความสำเร็จสูงทั้งนั้น สำนวนที่ว่า "หน้าจอไร้เส้นกั้นพรมแดน(Screens Without Frontiers)" สิ่งที่น่าอัศจรรย์ของผลิตภัณฑ์ดังกล่าว มีความคล้ายคลึงกันตรงที่ ผลงานถ่ายทำยอดเยี่ยมเกือบทุกชิ้นมีวงจรชีวิตยืนยาวเป็นพิเศษ มักจะถูกนำไป "ปรับแต่งใหม่" แล้วยิงเข้าไปในสิ่งแวดล้อมใหม่ของตลาดต่างประเทศได้เสมอ
กล่าวคือ บริษัทยักษ์ใหญ่ในเครือฮอลลีวูดนิยมซื้อโรงถ่ายทำจำนวนมากตามที่ต่างๆ ทั่วโลก สั่งให้ใช้รูปแบบและวิธีการถ่ายทำของสหรัฐอเมริกาเอง แต่เลือกสรรนักแสดงจากประเทศที่ถ่ายทำ และให้ใช้ภาษาของประเทศเป้าหมายเป็นหลักในหนังหรือละครทีวี ผลิตงานที่มีโครงกระดูกเป็นอเมริกันแต่เนื้อหนังเป็นประเทศเป้าหมาย ส่งผลให้ผู้ชมของประเทศเป้าหมายยิ่งยอมรับวัฒนธรรมและค่านิยมของสหรัฐฯ ได้ง่ายขึ้น
ผลงานถ่ายทำเหล่านี้มีลักษณะเด่นข้อหนึ่งคือ "จับใจผู้ชมให้ได้ก่อน แล้วค่อยจำหน่ายสินค้า" โดยเฉพาะภาพยนตร์ฮอลลีวูดที่มีชื่อเสียง พวกผู้ผลิตมั่นใจเป็นเสียงเดียวกันว่า "ในทุกมุมโลก ถ้าขายฟิล์มภาพยนตร์ฮอลลีวูดได้หนึ่งฟุต ก็สามารถขายผลิตภัณฑ์จากอุตสาหกรรมสหรัฐฯ ที่มีมูลค่าอย่างน้อย 1 ดอลลาร์ได้ในเวลาเดียวกัน" แฟนภาพยนตร์อาวุโสย่อมทราบกันดีว่า ฉากต่างๆ ในหนังฮอลลีวูดเกือบทุกฉากสามารถแทบจะสอดแทรกการโฆษณาขายสินค้าไปด้วยได้ ภาพยนตร์ที่มีเสน่ห์จูงใจมักจะทำให้ผู้ชมหลงชอบสินค้าที่ปรากฏในฉากบางฉากโดยไม่รู้ตัว เช่น นาฬิกาบนข้อมือของ James Bond รถยนต์หลายรุ่นในหนัง "Transformers" เป็นต้น ดังนั้น เครือฮอลลีวูดชอบใช้คำว่า "3K" (look, hook, book) หมายถึง "ให้ผู้บริโภคชมก่อน พอเกี่ยวเบ็ด แล้วก็จะสั่งซื้อในที่สุด" มาอธิบายผลสำเร็จในการโฆษณาสินค้าที่เจตนาขายกัน
อีกด้านหนึ่งที่มีศักยภาพสูงมากคือ ผลักดันวัฒนธรรมอาหารการกินของจีนให้ก้าวออกไปนอกประเทศ นอกจากสถาบันขงจื่อแล้ว ยังมีความจำเป็นที่ควรจะเปิด "โรงอาหารขงจื่อ" ในต่างประเทศด้วย โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศตาม "หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง" ให้เปิดดำเนินภัตตาคารชั้นสูงที่มีเอกลักษณ์ของจีนเท่าที่จะทำได้ สามารถลอกเลียนรูปแบบการพัฒนาของภัตตาคารอาหารฝรั่งเศส ก่อตั้งและดำเนินกลไกรับรองคุณภาพและเกร็ดของภัตตาการอาหารจีนในต่างประเทศ สนับสนุนวัฒนธรรมอาหารการกินที่มีมาช้านานของจีนให้เผยแพร่ในต่างชาติอย่างใหญ่หลวง
วัฒนธรรมอาหารการกินดูเหมือน "เบา" มากก็จริง แต่อาหารเอร็ดอร่อยและสุราหอมรัญจวนของจีนเป็นที่นิยมชมชอบในขอบเขตทั่วโลกมาโดยตลอด การพัฒนาการทูตแบบ "วัฒนธรรมอาหารอร่อย" นั้น จะมีผลดีเข้าถึงเป้าหมายอย่างดี ได้รับความชื่นชอบจากประชาชนทุกประเทศ พร้อมขับเคลื่อนให้บังเกิดโอกาสการแลกเปลี่ยนทั้งด้านวัฒนธรรม การท่องเที่ยวและธุรกิจระหว่างประชาชนสองประเทศ
แน่นอนว่า การส่งเสริมภาพยนตร์โทรทัศน์และวัฒนธรรมอาหารการกินให้พัฒนาไปในต่างประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากต้องการให้วิสาหกิจค้นหายุทธศาสตร์การตลาดที่ดี และดำเนินความร่วมมือข้ามสาขาอุตสาหกรรมแล้ว ที่สำคัญกว่านี้คือ รัฐบาล วงการวิชาการ และสื่อมวลชนควรร่วมมือผลักดันกัน ก่อตั้ง "คลังปัญญาหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง" ควบรวมทรัพยากรทั้งของรัฐบาล ผู้เชี่ยวชาญ วิสาหกิจ และสื่อมวลชน และดึงดูดกองทุนสนับสนุนการประกอบธุรกิจจากทั้งจีนและต่างชาติให้มาลงทุนในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับภาพยนตร์โทรทัศน์และอาหาร ใช้ความพยายามอีกระดับหนึ่งเพื่อให้อุตสาหกรรม 2 สาขานี้พัฒนาอย่างเจริญคึกคักภายในประเทศให้ได้ ค่อยผลักดันให้เดินหนทางขยายตลาดไปทั่วโลก ให้แสดงบทบาทเป็นหัวรถจักรในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรม "เบา" สาขาอื่นๆ ของจีนให้ไปลุยตลาดโลก