สถานการณ์ในทะเลจีนใต้เริ่มตึงเครียดขึ้นตั้งแต่ปี 2009 โดยเฉพาะหลังปี 2012 ภายใต้สถานการณ์ที่สันติภาพและการพัฒนาเป็นกระแสหลักของโลก และความร่วมมือในภูมิภาคเอเชียตะวันออกมีความคึกคัก
เหตุใดที่ทำให้ปัญหาทะเลจีนใต้ทวีความรุนแรงขึ้น หากจะตอบคำถามนี้อย่างชัดเจน ต้องย้อนกลับไปทบทวนกระบวนการปัญหาทะเลจีนใต้
ทะเลจีนใต้มีเนื้อที่ 3.5 ล้านตารางกิโลเมตร เชื่อมมหาสมุทรแปซิฟิก และมหาสมุทรอินเดีย อุดมไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติหลายอย่าง เช่น ปลา สัตว์น้ำชนิดต่างๆ น้ำมันปิโตรเลียม และแก๊สธรรมชาติ จึงมีความสำคัญมากกับการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศริมฝั่งทะเลจีนใต้
จีนเป็นเจ้าของหมู่เกาะซีซา หมู่เกาะหนานซา หมู่เกาะจงซา และหมู่เกาะตงซาตั้งแต่สมัยโบราณ ในจำนวนนี้ หมู่เกาะหนานซาอยู่ทางทิศใต้ มีเนื้อที่กว้างที่สุด มีเกาะแก่ง หินโสโครก แนวปะการังกว่า 230 แห่ง จีนเป็นประเทศแรกที่สำรวจพบ ตั้งชื่อ พัฒนา และดูแลบริหารหมู่เกาะหนานซา ก่อนทศวรรษที่ 1930 ไม่มีประเทศใดทักท้วงเรื่องจีนมีอธิปไตยเหนือหมู่เกาะหนานซา แผนที่ และสารานุกรมของหลายๆ ประเทศล้วนระบุชัดว่า จีนเป็นเจ้าของหมู่เกาะหนานซา
เมื่อต้นศตวรรษที่ 20 พร้อมๆ กับกลุ่มประเทศตะวันตกที่ยึดถือลัทธิล่าอาณานิคม และลัทธิจักรวรรดินิยมรุกรานจีนและประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศอังกฤษ เยอรมัน ฝรั่งเศส และญี่ปุ่นเริ่มวางแผนยึดครองหมู่เกาะหนานซา แต่ถูกรัฐบาลช่วงปลายของราชวงศ์ชิง รัฐบาลสาธารณรัฐจีน และประชาชนจีนคัดค้านอย่างเด็ดขาด แผนยึดครองหมู่เกาะหนานซาของประเทศเหล่านี้จึงไม่สำเร็จ หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ปะทุขึ้น ญี่ปุ่นดำเนินยุทธศาสตร์ "ลงใต้" เพื่อควบคุมประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และออสเตรเลีย รวมทั้งยึดครองเกาะแก่งบางส่วนของหมู่เกาะหนานซาของจีน
เดือนพฤศจิกายนปี 1943 ประมุขจีน สหรัฐฯ และอังกฤษร่วมประกาศแถลงการณ์ไคโรโดยมีเนื้อหาระบุว่า จีน สหรัฐฯ และอังกฤษมีเจตนารมณ์ที่จะยึดคืนเกาะทั้งหมดในมหาสมุทรแปซิฟิกที่ถูกญี่ปุ่นยึดครองหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ปะทุขึ้นเมื่อปี 1914 ให้ญี่ปุ่นคืนดินแดนที่ได้จากการรุกรานให้กับสาธารณรัฐจีน เช่น 3 มณฑลทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คือมณฑลเฮยหลงเจียง มณฑลจี๋หลิน และมณฑลเหลียวหนิง รวมทั้งไต้หวัน และหมู่เกาะเผิงหู ส่วนแถลงการณ์พอตสดัม (Potsdam)ที่ประกาศเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคมปี 1945 มีเนื้อหาระบุว่า ต้องเคารพและปฏิบัติตามสิ่งที่ระบุไว้ในแถลงการณ์ไคโร อีกทั้งยังกำหนดชัดว่า อำนาจอธิอปไตของญี่ปุ่นถูกจำกัดอยู่ในบริเวณพื้นที่ 4 เกาะหลัก ได้แก่ เกาะฮอนชู (Honshu) เกาะฮอกไกโด (Hokkaido) เกาะคิวชู (Kyushu) เกาะชิโคขุ (SHIKOKU) และเกาะบริวาร หลังญี่ปุ่นแพ้สงคราม รัฐบาลสาธารณรัฐจีนส่งเรือลาดตระเวนและรับคืนเกาะแก่งทั้งหมดในหมู่เกาะหนานซา จากนั้น ได้ส่งกองทัพประจำการที่เกาะไท่ผิง ซึ่งเป็นเกาะใหญ่ในหมู่เกาะหนานซา ต่อมาในปี 1947 รัฐบาลสาธาณรัฐจีนตั้งชื่อใหม่ให้กับเกาะแก่ง 159 แห่งในหมู่เกาะหนานซา และแจ้งรายชื่อใหม่ของเกาะแก่งเหล่านี้ให้ประชาคมโลกรับทราบ พร้อมกันนี้ ยังมีการประกาศแผนที่อาณาจักรในทะเลจีนใต้ของจีน โดยมีการลากเส้นประ 11 เส้น จีนมีอำนาจอธิปไตยเหนือหมู่เกาะในทะเลจีนใต้ที่อยู่ภายในเส้นประ 11 เส้นดังกล่าว นับจากนั้นมาเป็นเวลายาวนาน ทางการสหรัฐฯไม่เคยทักท้วง
เนื่องจากหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สหรัฐฯมีบทบาทมากในเอเชีย และเป็นพันธมิตรกับรัฐบาลสาธารณรัฐจีน ทางการไต้หวันมาโดยตลอด จึงสรุปได้ว่า สหรัฐฯต้องรับทราบและเห็นด้วยกับแผนที่ทะเลจีนใต้ของจีน
ถัดมาสหรัฐฯพิจารณาจากสถานการณ์โลกในขณะนั้น คือ โลกตกอยู่ในภาวะสงครามเย็น ประเทศ ค่ายสังคมนิยม และประเทศค่อยทุนนิยมเป็นปรปักษ์ สองฝั่งช่องแคบไต้หวันแตกแยก เพื่อรับมือกับสถานการณ์เช่นนี้ สหรัฐฯเริ่มใช้นโยบายหลายอย่าง หนึ่งในนั้นก็คือ ทำสนธิสัญญาสันติภาพซานฟรานซิสโก (San Francisco Peace Treaty) กับญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 8 กันยายนปี 1951 และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 28 เมษายนปี 1952 การทำสนธิสัญญาฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะกำหนดขอบเขตอาณาจักรและฐานะของญี่ปุ่นในประชาคมโลก
โดยมีเนื้อหาระบุว่า ญี่ปุ่นรับรองความเป็นเอกราชของแหลมเกาหลี ไม่มีอำนาจอธิปไตยเหนือดินแดนที่ได้มาจากการรุกรานประเทศอื่น ได้แก่ ไต้หวัน หมู่เกาะเผิงหู หมู่เกาะคูริล (Kuril ) เกาะซาคาลิน (Sakhalin) หมู่เกาะหนานซา และหมู่เกาะซีซา แต่สนธิสัญญาฉบับนี้ไม่ได้ระบุชัดว่า หมู่เกาะหนานซาเป็นดินแดนของใคร
จีนเป็นประเทศที่ได้รับความเสียหายมากที่สุดจากการก่ออาชญากรรมสงครามของญี่ปุ่น และเป็นหนึ่งใน 4 ประเทศ ผู้ชนะสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่สหรัฐฯกลับไม่ได้เชิญผู้แทนรัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีนเข้าร่วมการประชุมซานฟรานซิสโก และสหรัฐฯกับญี่ปุ่นทำสนธิสัญญาสันติภาพซานฟรานซิสโกระหว่างการประชุมครั้งนี้ ต่อการนี้ นายโจว เอินหลาย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนได้รับมอบหมายออกแถลงการณ์ว่าด้วยร่างสนธิสัญญาระหว่างสหรัฐฯ อังกฤษกับญี่ปุ่น และการประชุมซานฟรานซิสโก เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม ปี1951 โดยระบุว่า หมู่เกาะในทะเลจีนใต้ รวมทั้งหมู่เกาะหนานซาเป็นดินแดนของจีนตั้งแต่โบราณกาล ถึงแม้ว่า สนธิสัญญาสันติภาพซานฟรานซิสโกระบุว่า ญี่ปุ่นไม่มีอำนาจอธิปไตยเหนือดินแดนที่ได้มาจากการรุกราน รวมทั้งหมู่เกาะในทะเลจีนใต้ แต่ไม่ได้ระบุชัดว่า ได้มอบคืนอำนาจอธิปไตยของเกาะแก่งเหล่านี้ให้กับจีน จีนจึงขอคัดค้านอย่างถึงที่สุด แถลงการณ์ยังย้ำ หลังญี่ปุ่นยอมแพ้สงคราม รัฐบาลจีนในเวลานั้นได้รับคืนเกาะแก่งที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ด้วยเหตุนี้ สาธารณรัฐประชาชนจีนจึงมีอำนาจอธิปไตยเหนือเกาะแก่งในทะเลจีนใต้ที่เคยถูกญี่ปุ่นยึดครอง (IN/cai)